รำวงมาตรฐาน
ประวัติความเป็นมา
รำวงมีกำเนิดมาจากรำโทน แต่เดิมรำโทนเป็นการละเล่นพื้นเมืองอย่างหนึ่ง ที่นิยมเล่นกันในฤดูเทศกาลของท้องถิ่นบางจังหวัด คำว่า “รำโทน” สันนิฐานว่า เรียกชื่อจากการเรียนเสียงตามเครื่องดนตรีประกอบจังหวะที่เป็นหลักคือ “โทน” ซึ่งตีเป็นลำนำเสียง “ป๊ะ โทน ป๊ะ โทน ป๊ะ โทน โทน”
เครื่องตรีที่ใช้ในการรำโทน ได้แก่ ฉิ่ง – กรับ และโทน ลักษณะการรำโทนนั้น เป็นการรำระหว่างชาย – หญิง ให้เข้ากับจังหวะโทน โดยไม่มีท่ารำกำหนดเป็นแบบแผนตายตัว
ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 รำโทนได้นิยมอย่างแพร่หลาย จึงมีผู้ประพันธ์ลำนำเพลงและบทร้องประกอบรำขึ้น นิยมนำไปเล่นกันอย่างแพร่หลาย ตามจังหวัดอื่นๆ บทร้องมีหลายลักษณะ เริ่มตั้งแต่ ชมโฉม บทเกี้ยวพาราสี บทสัพยอยอกเย้า และบทพรอดพร่ำร่ำลาจากกัน เป็นต้น
ต่อมา เมื่อ พ.ศ. 2487 กรมศิลปากร ได้แต่งร้องและทำนองเพลงขึ้นใหม่ 4 เพลง และต่อมาท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ได้แต่งเนื้อร้องให้ใหม่อีก 6 เพลง โดยให้กรมศิลปากร และกรมประชาสัมพันธ์แต่งทำนองให้ผู้แต่งบทร้อง เพลงงามแสงเดือน เพลงชาวไทย เพลงรำมาซิมารำ และเพลง คืนเดือนหงาย คือ นายเฉลิม เศวตนันท์ ผู้แต่งทำนองเพลง คือ อาจารย์มนตรี ตราโมท ผู้คิดประดิษฐ์ท่ารำ คือ หม่อนครูต่วน (ศุภลักษณ์) ภัทรนาวิก,อาจารย์ลมุล ยมะคุปต์ และคุณครูมัลลี คงประภัทร์
บทร้องรำวงมาตรฐาน
เพลงงามแสงเดือน
งามแสงเดือนมาเยือนส่องหล้า งามใบหน้ามาสู่วงรำ (2 เที่ยว)
เราเล่นกันเพื่อสนุก เปลื้องทุกข์วายระกำ
ขอให้เล่นฟ้อนรำ เพื่อสามัคคีเอย
เพลงชาวไทย
ชาวไทยเจ้าเอ๋ย ขออย่าละเลยในการทำหน้าที่
การที่เราได้เล่นสนุก เปลื้องทุกข์สบายอย่างนี้
เพราะชาติเราได้เสรี มีเอกราชสมบูรณ์
เราจึงควรช่วยชูชาติ ให้เก่งกาจเจิดจำรูญ
เพื่อความสุขเพิ่มพูน ขอชาวไทยเราเอย
เพลงรำมาซิมารำ
รำมาซิมารำ เริงระบำกันให้สนุก
ยามงานเราทำงานจริงๆ ไม่ละไม่ทิ้งจะเกิดเข็ญขุก
ถึงยามว่างเราจึงรำเล่น ตามเชิงเช่นเพื่อให้สร่างทุกข์
ตามเยี่ยงอย่างตามยุค เล่นสนุกอย่างวัฒนธรรม
เล่นอะไรให้มีระเบียบ ให้งามให้เรียบจึงจะคมขำ
มาซิมาเจ้าเอ๋ยมาฟ้อนรำ มาเล่นระบำของไทยเราเอย
เพลงช้า เพลงเร็ว
ประวัติความเป็นมา
เพลงช้าเพลงเร็วเป็นเพลงหน้าพาทย์ ที่ใช้เป็นหลักสูตรเบื้องต้นสำหรับนักเรียนศิลปินฝึกหัด นาฏศิลปไทย มีท่ารำที่ครูบาอาจารย์ตามนาฏศิลปของไทย บัญญัติขึ้นไว้เป็นแบบฉบับมาแต่โบราณ ท่ารำประจำเพลงช้า – เร็ว เหล่านี้ อย่างน้อยก็มีสืบทอดมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา กุลบุตร กุลธิดา ที่จะฝึกหัดนาฏศิลปไทย จะต้องหัดรำทำท่าตามเพลงช้า เพลงเร็วให้คล่องแคล่วแม่นยำเสียก่อน ซึ่งต้องใช้เวลาฝึกหัดกันแรมปี ท่ารำในเพลงช้าเพลงเร็ว ย่อมเสมอเป็นแม่ท่าหรือพื้นฐานภาษาของละครไทยทั่วไปมักนิยมกันว่าศิลปินที่ฝึกหัดท่ารำเพลงช้าเพลงเร็วมาดีแล้ว ย่อมเป็นผู้มีกิริยามารยาทแช่มช้อยงดงามในสังคมไทยอีกด้วย ท่ารำในแม่บทก็ดี ท่าที่ครูอาจารย์ทางนาฏศิลปเลือดคัดจัดทำให้รำ “ทำบท” ตามคำร้อง หรือทำท่าบทให้ตามท้องเรื่องของละครไทยก็ดีโดยมากก็เลือกคัดจัดท่ามาจาก ท่าที่ เป็นแบบฉบับในการรำ เพลงช้า เพลงเร็วเป็นหลักแม้บางคราวจะปรากฏว่าเคยมีผู้นำเอาแบบนาฏศิลปต่างชาติมาใช้ ในวงการนาฏศิลปไทยหลายอย่าง แต่ก็มักจะนำมาผสมกับท่ารำที่มีอยู่ในเพลงช้าเพลงเร็วเป็นส่วนมากเหมือนผู้เรียนรู้ภาษามาจากต่างประเทศ ซึ่งมักปรากฏว่าการแต่งตัวและการพูดจะติดสำนวนและภาษาเดิมของตน ด้วยเหตุนี้จึงมีความจริงอยู่ว่า ถ้านักเรียนศิลปินคนใด ฝึกหัดรำเพลงช้าเพลงเร็วได้ดีและสวยงามเป็นพื้นฐานมาแล้ว ก็ย่อมหมายความว่านักเรียนคนนั้นก็จะได้เป็นศิลปินทางการละครฟ้อนรำของไทยได้ดีในภายหน้าด้วย เพราะการรำเพลงช้าเพลงเร็วนี้ จัดได้ว่าเป็นพื้นฐานเบื้องต้นของการเรียนนาฏศิลปที่ถูกต้อง
เพลงช้าเป็นชื่อเพลงหน้าพาทย์ ที่บรรเลงประกอบกิริยาอย่างนวยนาจงดงามของละคร ส่วนเพลงเร็วประกอบกิริยาไปมาอย่างว่องไว โดยปกติเมื่อบรรเลงเพลงช้าแล้วต้องบรรเลงเพลงเร็วติดต่อกันไป แล้วบรรเลงเพลงลาในตอนจบ การบรรเลงเพลงช้าและเพลงเร็วปี่พาทย์จะเลือกการบรรเลงได้ตามพอใจเพราะมีเพลงประกอบประเภทเพลงช้าและเพลงเร็วอยู่มากมาย และเรียกชื่อไว้ต่าง ๆ กัน แต่ละเพลงอาจบรรเลงได้นาน ๆ เพลงจะมีลีลาของเพลงยาวโดยปกติและส่วนมากแล้ว เราจะใช้เพลงที่ใช้บรรเลงในการเริ่มฝึกเพลงช้า ประโยคของเพลงฟังง่ายกว่าเพลงช้าอื่น ๆ
เพลงปลุกใจ
ประวัติความเป็นมา
เพลงปลุกใจเราสู้คือเพลงที่มีทำนองหนักแน่น ก่อให้เกิดความสามัคคี ความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์เพลงปลุกใจเราสู้ เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสนมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดช (รัชกาลปัจจุบัน) ซึ่งทรงนิพนธ์ต่อจากเพลง “ความฝันอันสูงสุด” คำร้องของเพลงนี้คือพระราชดำรัสที่พระราชทานต่อสมาชิก สภานิติบัญญัติประกอบด้วยข้าราชการ พลเรือน ตำรวจ ทหาร ซึ่งได้เข้าไปถวายเงิน ณ พระตำหนักจิตรดา
ต่อมานายสมภพ จันประภาได้ข้อพระราชทานพระราชดำรัสนี้มาแต่งดนตรี ใช้วงดนตรีสากล ผู้ประดิษฐ์ท่ารำ คือ คุณครูละมุล ยมคุปต์ และ คุณครูเฉลย ศุขวนิช
บทร้องเพลงปลุกใจเราสู้ (สุดใจ ทศพร , 2521 : 36 )
(ทำนองเนื้อร้องบทพระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช)
บรรพบุรุษของไทยแต่โบราณ ปกบ้านป้องเมืองคุ้มเย้า
เสียเลือดเสียเนื้อมิใช่เบา หน้าที่เรารักษาสืบไป
ลูกหลานเหลนโหลนภายหน้า จะได้มีพระสุธาอาศัย
อนาคตจะต้องมีประเทศไทย มิยอมให้ผู้ใดมาทำลาย
ถึงถูกฆ่าล้างโคตรก็ไม่หวั่น จะสู้กันไม่หลบหนีหาย
สู้ตรงนี้สู้ที่นี่สู้จนตาย ถึงเป็นคนสุดท้ายก็ลองดู
บ้านเมืองเราเราต้องรักษา อย่าทำลายเชิญมาเราสู้
เกียรติศักดิ์ของเราเชิดชู เราสู้ไม่ถอยจนก้าวเดียว
ระบำนกเขาสามหมู่
ประวัติความเป็นมา
ระบำนกเขาสามหมู่ อยู่ในฉากหนึ่งของการแสดงละครประวัติศาสตร์ เรื่อง “อนุภาพแห่งความ เสียสละ” บทประพันธ์ของหลวงวิจิตวาทการ ซึ่งบทประพันธ์ขึ้นจากเหตุการณ์ที่เป็นจริงในประวัติศาสตร์เพื่อต้องการปลุกใจให้อนุชนรุ่นหลัง ได้ระลึกถึงความเสียสละของบรรพบุรุษที่ต่อสู้กับศัตรูและช่วยกันกอบกู้เอกราชของชาติไทยจนเป็นปึกแผ่นถึงทุกวันนี้ท่านจึงนำเอาชีวิตนก 3 ชนิด อันมี นกกระจาบ นิพิราบ และนกแขกเต้ามาเป็นแบบอย่าง คติสอนใจให้ประชาชนคนไทยได้รู้จักความรัก ความเสียสละ ความสามัคคี และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
สำหรับระบำนกเขาสามหมู่อยู่ในละคร “อนุภาพแห่งความเสียสละ” กล่าวถึงขุนฟ้านั่งคุยกับจามรี ชายป่านอกเมืองหิ จามรีได้ถามขุนฟ้าว่า กำลังฝันถึงอะไรอยู่ ขุนฟ้าตอบว่า “ฝันถึงความสุขที่รอเราอยู่เบื้องหน้า ฝันถึงเวลาที่เราได้ร่วมรักกัน เริ่มสร้างชีวิตของเราเหมือนนกที่สร้างรัง” ขุนฟ้าจึงฝันถึงนกกระจาบที่รู้จักสร้างรัง จามรีเอ่ย ถึง นกพิราบที่ไม่ลืมถิ่นกำเนิดของตนแล้วนำมาสอนใจคนให้รู้จักรักถิ่นฐานประเทศของตนเอาอย่าง ขุนฟ้ากล่าวว่า “อาจจะนึกฝันเอาเองได้ ภายใต้ความเงียบสงัดของป่าในเวลาเย็นค่ำแล้ว “ ขุนฟ้าและจามรีกำลังนั่งมโนภาพ นกทั้ง 3 ชนิด ก็ออกมาแสดงในตอนนี้
การแต่งกายของผู้แสดงแต่งกายเลียนแบบนกทั้งสามชนิด โดยใช้ผ้าต่วนสีตามลักษณะสีของนกเช่น นกกระจาบใช้ผ้าต่วนสีเหลือง นกพิราบใช้ผ้าต่วนสีเทา นกแขกเต้าใช้ผ้าต่วนสีสีเขียว เสื้อแขนสั้นหรือแขนยาวกางเกงยาวรัดใต้เข่าหรือวาดเป็นขนนกแทนก็ได้
บทร้องระบำนกสามหมู่
เจ้านกกระจาบ เห็นใบพงร่อนลงคาบ คาบแล้วค่อยเพียนชน
เอามาจัดเรียงทำรัง เป็นเครื่องกำบังแดดฝน ต้องจำไว้สอนใจคน
ให้สร้างตนสร้างชาติเอย
เจ้านกพิราบ เจ้าเป็นนกสันติภาพ รักถิ่นถวินหวัง
แม้ถูกพรากไปไกลถิ่น เจ้าก็มุ่งหน้าบินกลับรัง ไม่ลืมเรือนลืมรัง
เป็นนกตัวอย่างที่ดีเอย
เจ้านกแขกเต้า ขยันอยู่กับเหย้า เฝ้าเลี้ยงลูกปลูกฝัง
ทนุถนอมลูกน้อย เฝ้าแต่คอยระวัง ให้อุ่นเครื่องอุ่นรัง
เป็นมิ่งขวัญครอบครัวเอย
โอ้นกทั้งสาม เจ้ามีความดีงาม กว่าพวกนกชนิดอื่น
ถ้ามนุษย์เอาอย่างเจ้า โลกเราจะร่มรื่น ชีวิตจะชุ่มชื่น
ทุกทิวาราตรีเอย
ผู้แต่งทำนองเพลงคือ นายมนตรี ตราโมท โดยท่านได้คิดค้นจากทำนองเพลงไทยหลายเพลงมาดัดแปลง เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเนื้อร้องที่พลตรีหลวงวิจิตรวาทการได้ประพันธ์ขึ้น ท่านจึงนำเอาเครื่องดนตรีสากลที่มีความหนักแน่นกว่ามาบรรเลงประกอบเข้ากับทำนองเนื้อร้องแทนดนตรีที่มีความนุ่มนวล แต่ไม่เกิดความเร้าใจ และดึงดูดความสนใจของผู้ชมเท่ากับดนตรีสากล ดนตรีที่ใช้บรรเลงในขณะนั้นเป็นวงดุริยางค์สากลของกรมศิลปการ
ผู้คิดประดิษฐ์ท่ารำชุดระบำนกเขาสามหมู่ คือ คุณครูละมุล ยมะคุปต์ คุณครูวัลลี พงษ์ประพันธ์
ซึ่งท่านได้คิดค้นและศึกษาจากอุปนิสัยของนก กริยาท่าทางทั้ง 3 ชนิด จากนั้นจึงนำมาเลียนแบบคิดสร้างสรรค์ให้เกิดท่ารำที่งดงาม น่ารักเหมาะสมกับทำนองเพลง และเนื้อร้องใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด
เพลงเชิด – เพลงเสมอ
เชิด เป็นเพลงที่ใช้ประกอบกิริยาไป – มา ที่มีระยะทางไกล ตลอดทั้งอาการเคลื่อนไหวที่รีบร้อน เพลงเชิดจะแบ่งตามสภาพของการแสดง
เสมอ ใช้สำหรับไปมาตามปกติไม่รีบร้อน และรวมถึงการไปมาในระยะใกล้ๆ เช่น การเดินทางจากห้องหนึ่งมาอีกห้องหนึ่ง หรือการออกว่าราชการตามกปกติ
เพลงสร้อยเพลง - ฝรั่งรำเท้า
ใครมาเป็นเจ้าเข้าครอง คงจะต้องบังคับขับไสย
เคี่ยวเข็ญเย็นค่ำกำไป ตามวิสัยเชิงเช่น ผู้เป็นนาย
เขาก็เห็นแก่หน้าฆ่าชื่อ จะนับถือพงษ์พันธ์นั้นอย่าหมาย
ไหนจะต้องเหนื่อยยากลำบากกาย ไหนจะเอาเท่าทั้งโลก
เพราะฉะนั้นชวนกันสวามิภักดิ์ จงรักร่วมชาติศาสนา
ยอมตายไม่เสียดายชีวี เพื่อรักษาอิสระชนะชัย
สมานสามัคคีให้ดีอยู่ จะสู้ศึกศัตรูทั้งหลายได้
ควรคิดจำนงให้จงใจ เป็นไทยจนสิ้นดินฟ้า
สีนวล
ประวัติความเป็นมา
เพลงสีนวลเป็นเพลงเก่าที่มีมาตั้งแต่โบราณ แต่เดิมเป็นเพลงเรื่องใช้ในงานมงคลต่อมาปรามจารทางนาฏศิลป ได้นำเพลงเรื่องสีนวลบางเพลงมาใช้ประกอบการแสดงนาฏศิลปไทย สำหรับตัวนางที่มีกริยาขดช้อย ทำนองเพลง ดนตรีท่ารำ แสดงความหมายในทางรื่นเริงบันเทิงใจ สำหรับบทร้องที่ใช้ในการเรียนนี้ เป็นเพลงเก่าไม่ทราบผู้แต่งที่บรรยายถึงธรรมชาติเช้าทำให้ชายหนุ่มรำพึงถึงหญิงคนรัก
บทร้องเพลงสีนวล
สีนวลชวนชื่นเมื่อยามเช้า รักเจ้าสาวสีนวลเมื่อหวนคิดถึง
แม้ไม่แลเห็นเจ้าเฝ้าคณึง อยากให้ถึงวันที่รำสีนวล
ปี่พาทย์ทำเพลงต้น วรเชษฐ์ เพลง เร็ว - ลา
ระบำไก่
ประวัติความเป็นมา
ระบำไก่เป็นการแสดงตอนหนึ่งในละครพันทาง เรื่องพระลอ บทพระราชนิพนธ์ในกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ บทประพันธ์ในวรรณคดีชั้นเอกของไทยซึ่งทรงครูชั้นสูงแต่งไว้แต่โบราณการแสดงในชุดนี้ เรียกชื่อชุดว่า ชุดพระลอตามไก่ โดยมีเรื่องย่อดังนี้
ปู่เจ้าสมิงพราย เทพเจ้าประจำภูเขาผู้มีเวทมนต์ชลังที่รับช่วยพระเพื่อน พระแพร เจ้าหญิงงามสององค์แห่งเมืองสรองใช้เวทมนต์นำพระกษัตริย์แห่งเมืองแมนสรวงมาหาปู่เจ้าจึงใช้เวทมนต์เรียกไก่ป่ามาเพื่อเลือกกาตัวงามไปล่อพระลอ ปู่เจ้าสมิงพรายเลือกได้ไก่แก้วตัวหนึ่ง จึงเวทมนต์ลงแก่ไก่และให้ไก่แก้วไปล่อพระลอมา
ผู้ชมจะได้ชมความงามของระบำไก่หมู่ และทีท่าโลดลำพองของไก่แก้ว เมื่อมีปู่เจ้าสมิงพรายเข้าสิง ตามคำร้องในวรรณคดีเรื่องพระลอ ซึ่งตรงพระนราทิป ประพันธ์พงศ์ได้ทรงบรรจุทำนองเพลงขับร้องและเพลงดนตรีไว้อย่างไพเราะเหมาะสม เป็นที่นิยมของบรรดาผู้ใฝ่ใจในนาฏศิลปไทยตลอดมา
บทขับร้องของระบำไก่
- ปี่พาทย์ทำเพลงลาวจ้อย -
สร้อยแสงแดงพระพราย ขนเขียวลายระยับ
ปีกสลับเบญจรงค์ เลื่อมลายหงยงสมาท (ดนตรีรับ)
ขอบตาชาติพระพริ้ง สิงคลิ้งหงอนพรายพรรณ
ขานขันเสียงเอาใจ เดือยหงอนใสสีลำยอง (ดนตรีรับ)
สองเท้าเทียมนพมาศ ปานฉลุชาดทารง
ปู่ก็ใช้ให้ผีลง ผีก็ลงแก่ไก่ (ดนตรีรับ)
ไก่แก้วไซร้บ่มิกลัว บุกผกหัวองอาจ
ขานขันตีปีกป้อง ร้องเรื่อยเฉื่อยฉาดฉาน (ดนตรีรับ)
ระบำเริงอรุณ
ประวัติความเป็นมา
ระบำเริงอรุณ เป็นระบำฉากนำในการแสดงโขนเรื่องรามเกรียติ์ตอนศึกวิรุณจำบัง ซึ่งกรมศิลปกรนำออกแสดงให้ประชาชนชมเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2499 อาจารย์มนตรี ตราโมท เป็นผู้แต่งทำนองเพลง สำหรับบทร้อง อาจารย์มนตรี ตราโมทเป็นผู้แต่งร่วมกับ นายฉัตท์ ขำวิไล ซึ่งแต่งชื่อเพลงว่า “เริงอรุณ”
ความหมายของเพลงเริงอรุณ เป็นการพรรณาถึงความงามของธรรมชาติในยามเช้า มีสระน้ำเย็นใสดาษดาไปด้วยดอกบัวนานาชนิดซึ่งผลิบานชูช่อไสว บรรดาผึ้งภู่ภุมรินต่างโบยบินมาเคลียคลอลิ้มชิมรสเกสรดอกบัวซึ่งบางตระกาลสะพรั่งรับแสงอรุณ
บทร้องเพลงเริงอรุณ
กระแสสินธุ์เย็นใสระพายพริ้ว ดูละลิ้วกลอกกระฉอกกระฉ่อน
ดอกประทุมตูมตั้งอรชร ขยายกลีบกลิ่นเกสรขจรขจาย
ฝูงผีเสื้อต่างสีสลับสลอน กลางล่อนเรียงมาไม่ขาดสาย
เขาเชยชมมาลีที่คลี่คลาย และรำร่ายเริงรื่นชื่นมานเอย
กฤดาภินิหาร
ประวิติความเป็นมา
ประดิษฐ์ขึ้นเมื่อ ร. 8 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ใช้แสดงประกอบละครในเรื่องรามเกียรติ์ศักดิ์ไทย กรมศิลปกรจัดให้ชม ณ. โรงละครกรมศิลปกร เมื่อ พ.ศ. 2486 ต่อมาได้ปรับปรุงแบบการแสดงใหม่ บทร้องบทประพันธ์โดย นางสุดา บุษปฤกษ์ ผู้ประดิษฐ์ท่ารำ หม่อมครูต่วน (ศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก ) และอาจารย์ละมุล ยมะคุป ดนตรีที่ใช้ประกอบ ใช้ได้ทั้งวงปี่พาทย์และดนตรีสากล
บทร้องเพลงกฤดาภินิหาร
ปราโมทย์แสน องค์อัปสรอมรแม้นแดนสวรรค์
ยิ่งกฤดาภินิหารมหัศจรรย์ เกียรติไทยลั่นลือเรื่องเรื่องรูจี
ต่างเต็มตื้นชื่นชม โสมนัส โอษฐ์เอื้อนอรรถอวยพรสุนทรศรี
แล้วจำเรียงเสียงเพลงสดุดี ดนตรีเรื่อยประโคมโสมนัส
แล้วลีลาศเริงรำระบำร่าย กรกรีดกรายโปรยมาลีศรีประสาน
พรมน้ำทิพย์ปรุงปนสุคนธ์ธาร จักรวาลฉ่ำชื่นเรื่อนรมย์ครัน
แม่บทใหญ่
ประวัติความเป็นมา
การรำแม่บทคือ การฝึกหัดรำตามบทร้อง การรำแม่บทนี้เป็นการจัดฝึกหัดท่ารำพื้นฐานของนาฏศิลปไทยเบื้องต้น ซึ่งจะนำไปสู่การฝึกหัดนาฏศิลปไทยในชุดต่อไปซึ่งเท่ากับเป็นพื้นฐานของนาฏศิลปไทย ครูนาฏศิลปแต่โบราณได้ประดิษฐ์ท่ารำ เอาไว้เป็นท่าแรกเป็นท่านั่ง ต่อมา พ.ศ. 2487 คุณครูละมุล ยมคุปต์ และคุณครูมัลลี (หมัน) คงประภัทร์ ได้ขออนุญาต พระยานัฏภานุรักษ์ จัดทำเป็นหลักสูตรให้สอนในโรงเรียนนาฏศิลปจากเดิมที่เป็นท่านั่งได้ประดิษฐ์เป็นท่าเชื่อม “ลีลา” เป็นกระบวนรำขึ้นปัจจุบันยังคงเน้นหลักสูตรใช้สอนนาฏศิลปไทยไว้ในวิทยาลัยนาฏศิลปทั่วทุกแห่ง
ชุดแม่บทชุดใหญ่นี้ นิยมใช้รำเป็นแบบฝึกหัดเบื้องต้นไม่นิยมนำแสดงตามงาน เพราะมีบทร้องยาวมาก ถ้าจะให้อวดฝีมือกันมักใช้แม่บทเล็กเพราะเนื้อร้องน้อยกว่าเพลงแม่บทต่อท้ายด้วยเพลงวรเชษฐ์ แล้วเพลงเร็ว – ลา
ร้องเพลง ชมตลาด
เทพพนมปฐมพรหมสี่หน้า สอดสร้อยมาลาช้านางนอน
พาลาเพียงไหล่พิสมัยเรียงหมอน กังหันร่อนแขกเต้าเข้ารัง (รับ)
กระต่ายทรงจันทร์จันทร์ทรงกลด พระเสตโยนสารมารกลับหลัง
เยื้องกายฉุยฉายเข้าวัง มังกรเรียกแก้วมุจรินท์ (รับ)
กินนอนรำช้ำช้างประสานงา ท่าพระมาราโก่งศิลป์
ภมรเค้ามัจฉาชมวาริน หลงใหลได้สิ้นหงษ์ลินลา (รับ)
ท่าโตเล่นหางนางกล่อมตัว รำยั่วชักแป้งผัดหน้า
ลมพัดยอดตองบังพระสุระยา เหราเล่นน้ำบัวชูฝัก (รับ)
นาคาม้วนหางกวางเดินดง พระนารายณ์ฤทธิ์รงค์ขว้างจักร
ช้างหว่านหญ้าหนุมานผลาญยักษ์ พระลักษณ์แผลงอิทธิฤทธี (รับ)
กินนอนฟ้อนฝูงยุงฟ้อนหาง จัดจางนางท่านายสาถี
ตะเวนเวหาขี่ม้าตีคลี ตีโทนโยนทัพงูขว้างค้อน (รับ)
รำกระบี่สี่ท่าจีนสาวไส้ ทำชะนีร่ายไม้ทิ้งขอน
เมขลาล่อแก้วกลางอัมพร กินนอนเลียบถ้ำหนังหน้าไฟ (รับ)
ท่าเสือทำลายห้างช้างทำลายโรง โจงกระเบนตีเหล็กแทงวิไสย
กรดสุเมรุเครือวัลย์พันธ์ไม้ ประไลยวาทคิดประดิษฐ์ทำ (รับ)
ประวัติเกล้าขี่ม้าเลียบค่าย กระต่ายต้องแล้วแคล้วถ้ำ
ชักซอสามสายลำนำ เป็นแบบรำแต่ก่อนที่มีมา (รับ)
-เพลงเร็วลา-
ฟ้อนเงี้ยว
ประวัติความเป็นมา
ฟ้อนเงี้ยว เป็นการฟ้อนรำของชาวไทยใหญ่ ซึ่งเป็นคนไทยเผ่าหนึ่งในรัฐบาลประเทศพม่า เนื่องจากชาวไทยใหญ่ และชาวไทยภาคเหนือมีวัฒนธรรมและภาษาคล้ายคลึงกันจึงต่างเอาวัฒนธรรมของแต่ละฝ่ายมาผสมผสานกันโดยเฉพาะด้านนาฏศิลป นักฟ้อนชาวเชียงใหม่ได้ถ่ายทอดมาแสดงก่อนต่อมาคุณครูลมุล ยมะคุปต์ ได้ไปสอนนาฏศิลปในคุ้มเจ้าแก้ว นวรัตน์ที่เชียงใหม่ได้จัดทำและนำมาสอนในโรงเรียนนาฏศิลป เมื่อท่านได้นำมาสอนท่านได้แก้ไขปรับปรุงเปลี่ยนแปลงท่ารำให้เหมาะสมสวยงามรวมทั้งเปลี่ยนบทร้องบางคำที่เป็นภาษาคำเมืองมาเป็นภาษาภาคกลางล้วน ๆตามบทร้องจะมีทั้งภาษาคำเมือง และภาษาภาคกลางปนกัน เรียกว่า “เงี้ยวปนเมือง”
อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการรำ คือ กิ่งไม้โดยผู้แสดงถือกิ่งไม้ 2 กิ่ง ดั้งเดิมใช้กิ่งไม้ไผ่หรือกิ่งสน ซึ่งมีความหมายถึงความร่มเย็นมีอายุยืนยาวนาน
บทร้องฟ้อนเงี้ยว
ขออวยชัยพุทธิไกรช่วยค้ำ ทรงคุณเลิศล้ำไปทุกทั่วตัวตน
จงได้รับสรรพมิ่งมงคล นาท่านาขอเทวาช่วยรักษาเกิด
ขอให้อยู่สุขาโดยธรรมมานุภาพเจ้า เทพดาช่วยเฮาถือเป็นมิ่งมงคล
สังฆานุภาพเจ้าช่วยแนะนำผล สรรพมิ่งทั่วไปเทิน
มงคลเทพดาทุกแห่งหน ขอบันดาลช่วยค้ำจุน
ระบำนกเขา
ประวัติความเป็นมา
เป็นรำระบำชุดหนึ่งในละครเรื่อง “อิเหนา” ประสันตาต่อนก ออกแสดงให้ประชาชนชม ณ. โรงละครศิลปากร ในการปรับปรุงแก้ไขบทและการแสดงในคราวนั้นที่ประชุมมีความคิดเห็นว่าควรจะแทรกระบำนกเขาเข้าไปด้วย จึงมอบให้อาจารย์มนตรีตราโมทเป็นผู้แต่งบทร้อง และคิดหาทำนองเพลงขึ้นมาใหม่ด้วย อาจารย์มนตรี ตราโมท เห็นว่าเพื่อความเหมาะสมกับท้องเรื่องท่าจึงได้แต่งเพลงเป็นสำเนียงกบก กล่าวถึงหมู่นกเขามะราปี เพลงนี้แต่งเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2493 และได้นำออกเป็นการกระจายเสียงโฆษณา ณ. สถานีทดลอง )ณ. เป็นครั้งแรก ส่วนท่ารำนั้นคุณหญิงแพ้ว สนิทวงศ์เสนี เป็นผู้ประดิษฐ์ขึ้น และนำออกแสดงแทรกในละครเรื่องอิเหนาเพื่อให้ประชาชนชมในปีนั้น
ระบำชุดนี้ เป็นชุกที่สวยงามชุดหนึ่งโดยเฉพาะทำนองเพลงนั้นจัดได้ว่าเป็นเพลงที่มีความไพเราะอ่อนหวาน นิยมนำไปบรรเลงและร้องกันมากในวงดนตรีไทย ท้ายของเพลงมะราปีจะมีเพลงกบกเงาและท้ายเพลงฉิ่งตรังเพื่อให้หมู่นกนั้นจับระบำและขันดูเข้ากับทำนองเพลงอีกด้วย
การแต่งกาย แต่งเป็นนกเขา ศรีษะทำเป็นรูปนกเขานิยมให้เด็ก ๆ รำ
ร้องเพลงนกเขามะราปี
แสงอรุณแอร่มรางยามอุทัย รังสีไขประไพผ่องส่องเวหา
ผึ้งภมรว่อนเคล้าคลึงผกา หมู่ปักษาตื่นออกจากรังเรียง
ที่วุ้งเวิ้งเชิงผามะราปี สกุณีมี่ก้องร้องแซ่เสียง
บ้างขันคึกนึกกล้าท้าคารม ทั้งเรียกคู่ข่มคู่ต่อสู้
ฝีปากดีตีประชันต่างขันดู แล้วจับคู่ผู้เมียเข้าเคลียคลอ
ปี่พาทย์ทำเพลงแขกเงาะ
เพลงฉิ่งตรัง
กรุงศรีอยุธยา
ประวัติความเป็นมา
เพลงปลุกใจกรุงศรีอยุธยา เป็นเพลงประกอบการแสดงละครประวัตศาสตร์ เรื่องพระเจ้ากรุงธน ซึ่งเป็นบทประพันธ์ของพลตรีหลวงวิจิตร วาทการ กรมศิลปกรจัดให้ประชาชนชม ณ. โรงละครศิลปากรเมื่อ พ.ศ. 2480 ผู้ประดิษฐ์ท่ารำคือ คุณครูละมุล ยมะคุปต์ และคุณครูมัลลี คงประภัทร และต่อมา พ.ศ. 2526 ได้รับปรับปรุงแบบการแสดงเป็นการรำหมู่ ชาย – หญิง ผู้ปรับปรุงท่ารำคือ คุณครูเฉลย ศุภวณิต และคุณครูละมุล ยมะคุปต์ โอกาสที่แสดง ใช้ประกอบการแสดงละครเรื่องพระเจ้ากรุงธนและแสดงเป็นชุดวิพิทัศนา
บทร้องเพลงปลุกใจกรุงศรีอยุธยา
(สร้อย) กรุงศรีอยุธยาราชธานีไทย ถึงเคยแตกแหลกไปก็ไม่สิ้นคนดี
เราจะรบศัตรูต่อสู้ไพรรี เราจะกู้เกียรติศรีอยุธยาไว้เอย
อยุธยาธานีศรีสยาม เป็นเมืองงามธรรมชาติสนอง
บริบูรณ์ลุ่มน้ำและลำคลอง ท้าวอู่ทองทรงสร้างให้ชาวไทย
(สร้อย)
ครั้งโบราณแพ้พม่าเป็นข้าเขา พระนเรศวรเจ้าทรงกู้ได้
ไล่ศัตรูไปให้พ้นแผ่นดินไทย ศรีอยุธยาไม่สิ้นคนดี
(สร้อย)
ชาวศรีอยุธยามาด้วยกัน เลือดไทยใจมั่นไม่พรั่นหนี
ชีวิตเราขอน้อมและยอมพลี ไว้เกียรติศรีอยุธยาคู่ฟ้าดิน
(สร้อย)
เพลงเดิน
ประวัติความเป็นมา
เพลงเดินเป็นเพลงประกอบประวัติศาสตร์ เรื่องน่านเจ้า เป็นบทประพันธ์ของ พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ กรมศิลปากร จัดให้ประชาชนชม ณ. โรงละครกรมศิลปากรเมื่อ พ.ศ. 2482
บทร้องเพลงเดิน
เดิน เดิน เดิน ไม่ยอมแพ้ใครชาติไทยต้องเดิน
เดิน เดิน เดิน ถ้าหวังก้าวหน้า เราต้องพากันเดิน
เดิน เดิน เดิน ไม่ท้อทางไกลขอให้ไทยเจริญ
ไชโย ไชยะ ให้ไทยชนะตลอดปลอดภัยไชโย (ซ้ำ)
มาเพื่อนไทย มารวมน้ำใจสมานกับฉัน
ไปตายดาบหน้า เพื่อนไทยจงมาให้พร้อมเพรียงกัน
พบหนามเราจะฝ่า พบป่าเราจะฟัน
พบแม่น้ำขวางกั้น เราจะว่ายข้ามไป
(สร้อย)
ใครขวางทางเดิน พวกเราเชิญเขาหลีกทางไป พบเสือ เราจะสู้
พบศัตรู เราจะฆ่า
พบอะไรขวางหน้า เราจะฝ่าฟันไป
(สร้อย)
เพลงชุบ
ประวัติความเป็นมา
ใช้สำหรับสลับกริยาไป – มา ใช้สำหรับผู้ที่มีค่าต่ำศักดิ์ เช่น นางกำนัล หรือสาวใช้ เป็นต้น
ศึกบางระจัน
ประวัติความเป็นมา
เพลงศึกบางระจัน เป็นเพลงที่แต่งขึ้นมาในความหมายปลุกใจให้รักชาติ แต่เดิมเป็นเพลงร้องปลุกใจธรรมดา ต่อมารัฐบาลได้นำเอามาจัดทำเป็นชุดรวมเพลงปลุกใจประกอบท่ารำผู้แต่งคำร้องและทำนอง คือ นายสุรินทร์ ยะนันท์ ผู้คิดประดิษฐ์ท่ารำ คือ ครูละมุล ยมะคุปต์ ครูเฉลย ศุขะวิณิช และครูกรี วรศะริน
บทร้องเพลงศึกบางระจัน
ศึกบางระจันจำไว้ให้มั่นพี่น้องชาติไทย เกียรติประวัติสร้างไว้แด่ชนชาติไทยรุ่นหลัง
แม้ชีวิตยอมอุทิศคราชาติอับปาง เลือดไทยต้องมาไหลหลั่งทาทั่วพื้นแผ่นดินทอง
ไทยคงเป็นไทยมิใช่ชาติเป็นเชลย ไทยมิเคยถอยร่นชนชาติศัตรู
บางระจันแม้สิ้นอาวุธจะสู้ สองดาบฟาดฟันศัตรูสู้จนชีพตนมลาย
ตัวตายดีกว่าชาติตาย เพียงเลือดหยาดสุดท้ายขอให้ไทยได้คงอยู่
แดนทองของไทยมิใช่ศัตรู แม้ใครรุกรานเราสู้เพื่อกู้แหลมถิ่นไทยงาม
จีนรำพัด
ประวัติความเป็นมา
การแสดงชุดนี้เดิมทีเดียวเพลงที่บรรเลงเวลารำนั้นเป็นเพลงสำเนียงจีนชื่อว่า “จีนดาวดวงเดือน” แต่เนื่องจากได้นำเพลงมาใช้ประกอบการรำพัดจนฝังตัวจึงเรียกเพลงนี้ว่า “จีนรำพัด” และเมื่อรำพัดก็มักจะใช้บทที่ขึ้นต้นว่า “ชื่นใจ ที่เอาไม้ราบร่มมาพัดฉิว” ซึ่งตัดมาจากบทละครเรื่อง “เงาะป่า” ครั้นต่อมากรมศิลปากรจะนำออกแสดงให้ประชาชนชมและต้องการจะให้มีบทเฉพาะการแสดงรำพัด จึงมอบให้อาจารย์มนตรี ตราโมท เป็นผู้แต่งขึ้นใหม่แต่คงใช้เพลงจีนดาวดวงเดือนหรือจีนรำพัดอย่างเดิม และต่อท้ายด้วยเพลงจีนรัว ต่อมาในสมัยหลังเพื่อมิให้ชื่อซ้ำกับของเก่า จึงนำบทที่อาจารย์มนตรี ตราโมท มาขับร้องในเพลงพญาสี่เสา พร้อมทั้งตั้งชื่อการรำชุดนี้ใหม่ว่า “รำวิชนี” นับว่าเป็นชุดเกิดใหม่อีกชุดหนึ่ง ซึ่งนิยมแสดงในหมู่นักแสดงทั่วไป
สำหรับผู้คิดประดิษฐ์ท่ารำเพลง “จีนรำพัด” คือ คุณหญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลปไทยของกรมศิลปากร
การแต่งกาย แต่งเป็นหญิงชาวจีน ในมือถือพัดทั้งสองข้าง
เพลงจีนดาวดวงเดือน
ชื่นใจ ที่เอาไม้ราบร่มลมพัดฉิว
หอมกระถินกลิ่นไกลใจริ้วริ้ว หรือใครลิ่วลมแฉลบมาแนบมอง (รับ)
โลกนี้มีอะไรมิใช่คู่ ได้เห็นอยู่ทั่วถ้วนล้วนเป็นสอง
ดวงจันทร์ทั้งยังมีอาทิตย์ปอง เดินพบพ้องบางคราวเมื่อเช้าเย็น
- ดนตรีทำนองเพลงจีนรัว -
ระบำมยุราภิรมย์
ประวัติความเป็นมา
ระบำชุดนี้กรมศิลปากรได้รับมอบหมายให้อาจารย์มนตรี ตราโมท เป็นผู้แต่งทำนองเพลงเพื่อประกอบท่าร่ายรำหมู่นกยูงในละครเรื่อง “อิเหนา” ตอน “หย้าหรันได้นางเกนหลง” และตั้งชื่อเพลงนี้ว่า “เพลงมยุราภิรมย์” ได้จัดแสดงถวายพระบาทสมเด็จพระภูมิพลมหาราชและพระบาทสมเด็จพระบรมมราชินีนาถ ทอดพระเนตร เนื่องในโอกาสรับรองราชอาคันตุกะ ประธารนาธิปบดีซูการ์โน แห่งอินโดนิเซีย เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2504
หน้าพาทย์สีนวล
ประวัติความเป็นมา
เพลงหน้าพาทย์สีนวล เป็นเพลงที่ไม่มีเนื้อร้อง ใช้ตะโพนเป็นจังหวะหน้าทับ เป็นเพลงหน้าพาทย์ที่แสดงอารมณ์สนุกสนาน รื่นเริง ใช้กับตัวนาง ท่ารำมีมาแต่โบราณ เช่นเดียวกับหน้าพาทย์ชั้นสูงอื่นๆ
ฟ้อนเทียน
ประวัติความเป็นมา
ฟ้อนเทียนก็คือฟ้อนเล็บนั่นเอง แต่การฟ้อนเทียนนั้นมักฟ้อนในเวลากลางคืน และแทนที่จะใส่
เล็บก็เปลี่ยนเป็นถือเทียนแทน ทั้งนี้เพราะเวลากลางคืน ผู้ชมจะมองไม่เห็นช่างฟ้อนและลีลาการฟ้อน ความงดงามของการฟ้อนเทียนอยู่ที่เทียนทั้งหมดจะส่องแสงเรืองรอง ส่ายไปส่ายมาอย่างมีระเบียบและพร้อมเพรียงกัน แสงเทียนยังได้ส่องดวงหน้าของช่างฟ้อน ตลอดจนเครื่องแต่งกาย มองดูสง่างดงามมาก ส่วนการแต่งกายของช่างฟ้อน เครื่องดนตรีและท่ารำเหมือนกันกับฟ้อนเล็บทุกประการ การฟ้อนเทียนนี้จะฟ้อนในงานสมโภช ฟ้อนในงานรื่นเริง เช่น งานขันโตก งานปอย แห่ครัวทานตอนกลางคืน เป็นต้น
การฟ้อนเทียนครั้งสำคัญคือ การฟ้อนเทียนสมโภชช้างเผือก ซึ่งบริษัทป่าไม้บอเนียว น้อมเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว คราวเสด็จประภาสมณฑลฝ่ายเหนือ เมื่อ พ.ศ. 2469 ช้างเผือกนั้นได้รับพระราชทานนามว่า “พระเศวตคชเดชดิลก” พระราชทานชายาเจ้าดารารัชมี ทรงฝึกหัดการละเล่นหลายอย่าง เช่น ฟ้อนเทียน ฟ้อนเล็บ ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา ฟ้อนมอญหรือผีมด จากการสมโภชช้างเผือกนี้ ทำให้ศิลปะการฟ้อนรำทางภาคเหนือแพร่ไปสู่ภาคกลาง และกรมศิลปากรได้ฝึกหัดถ่ายทอดกันมาจนบัดนี้ เนื้อร้องฟ้อนเทียน
ปวงข้าเจ้า ยินดีที่เนาในถิ่นไทยสถาน
ระเริงระรื่นชุมชื่นใจบาน ทุกสิ่งศาลติสุขนานา
เบิ่งดอกไม้ ก็งามวิลัยลออพอตา
หลายสีเลอสันหลากพันผกา ชุ่มชื่นนาสาพาใจใฝ่ชม
ปวงประชา ยลพักตร์ลักขณาทรงงามคำคม
หน้าตาชื่นบานสำราญอารมณ์ จิตน้อมนิยมโอบอ้อมอารี
มั่นรักษา พุทธศาสนาแนบดวงฤดี
ส่งเสริมศิลปะมาละประเพณี ผูกมิตรไมตรีตรึงชาติชนปวง
ระบำเทพบันเทิง
ประวัติความเป็นมา
ระบำเทพบันเทิง เป็นชุดการแสดงของกรมศิลปากรปรับปรุงขึ้น ใช้เป็นระบำของเทพบุตรและนางฟ้ามาฟ้อนรำบำเรอองค์ปะตาระกาหรา ในละครเรื่อง อิเหนา ตอน ลมหอบ ซึ่งนำออกแสดงให้ประชาชนชม ณ โรงละครศิลปากร เมื่อ พ.ศ.2499
โดยมีนาย มนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีไทยของกรมศิลปากร เป็นผู้แต่งบทร้องและปรับปรุงทำนองเพลงแขกเชิญเล้ากับเพลงยะวาเร็วมารวมกันเป็นชุดเรียกชุดนี้ว่า “ระบำเทพบันเทิง” ส่วนท่ารำนั้นครู ลมุล ยมะคุปต์ร่มกันคิดท่ารำกับหม่อม ต่วน ภัทรนาวิก (นางศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก) การแสดงชุดนี้เป็นชุดหนึ่งที่มีท่ารำสวยงาม เพลงร้องและเพลงบรรเลงไพเราะประสานกลมกลืนกัน นิยมนำมาแสดงกันอย่างแพร่หลาย
ร้องเพลงแขกเชิญเจ้า
เหล่าข้าพระบาทขอวโรกาสเทวฤทธิอดิศร ขอฟ้อนกรายรำร่ายถวายกร
บำเรอปิ่นอมรปะตาระกาหรา ผู้ทรงพระคุณยิ่งบุญบารมี
เพื่อเทวบดีสุขสมรมยา เถลิงเทพพระสิมา พิมานสำราญฤทัย (สร้อย)สุรศักดิ์ประสิทธิ์ สุรฤทธิ์กำจาย ทรงสราญพระกาย ทรงสบายพระทัย ถวายอินทรีย์ ต่างมาลีบูชา ถวายดวงตา ต่างประทีปจำรัสไข
ถ้อยคำอำไพ ต่างรูปหอมจุณจันทร์ ถวายดวงจิต อัญชลิตวรคุณ
ที่ทรงการุณย์ ผองข้ามาแต่บรรพ์ ถวายชีวัน รองบาทจนบรรลัย (สร้อย)
ร้องเพลงยะวาเร็ว
ร่วมกันร้องทำนองลำนำ มาฟ้อนมารำให้รื่นเริงใจ (ซ้ำ)
ให้พร้อมให้เพรียงเรียงระดับ เปลี่ยนสับท่วงทีหนีไล่ เวียนไปได้จังหวะกัน
อัปสรฟ้อนส่าย กรีดกรายออกมา ฝ่ายฝูงเทวา ทำท่ากางกั้น (ซ้ำ)
เข้าทอดสนิท ไม่บิดไม่ผัน (ซ้ำ) ผูกพันธ์ผูกพันธ์สุดเกษม ปลื้มเปรม ปลื้มเปรม ปรีดา
- ดนตรีทำเพลงยะวาเร็วต่อ -
รำโคมญวน
ประวัติความเป็นมา
รำโคมญวนเป็นนาฏศิลปที่ดัดแปลงมาจากญวนรำกระถาง ซึ่งเป็นการละเล่นอย่างหนึ่งในงานพระราชพิธีของหลวงที่สืบต่อกันมาช้านาน ตามประวัติการรำโคมสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ได้กล่าวถึงรำโคมญวนไว้ว่า เมื่อปี พ.ศ. 2326 องเชียงสือหลานเจ้าเมืองเว้ ได้อพยพครอบครัวญวนหนีพวกกบฏไกเชินเข้ามาขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาบสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์องเชียงสือได้ฝึกหัดพวกญวนอพยพเล่นญวนรำกระถางและมังกรดาบแก้วถวายให้ทอดพระเนตรหน้าพลับพลาเวลากลางคืนเป็นการสนองพระเดชพระคุณ และได้เล่นในงานฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งสร้างแล้วเสร็จเมื่อปีมะโรง พ.ศ. 2327 นอกจากนี้ได้เล่นในงานพระราชพิธีหลวงต่าง ๆ เป็นประเพณีสืบต่อมาจนถึงรัชกาลหลัง ๆ
รูปแบบการแสดงแต่เดิมนั้นผู้เล่นรำโคมจะขับร้องพร้อมกับออกท่ารำ เต้นตามจังหวะเข้ากับเพลงล่อโก๊ะและแปรแถวเป็นรูปต่างๆ เช่น ต่อตัวเป็นรูปเรือสำเภา รูปป้อม รูปมังกร รูปซุ้ม ในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงใช้ปี่พาทย์บรรเลงประกอบแทนล่อโก๊ะ
การแต่งกาย แต่งแบบญวนโบราณนุ่งกางเกงแพรขายาวเสื้อคอตั้งสาบป้ายข้างแขนยาวปักไหมและดิ้นเป็นลวดลายตามขอบปลายขากางเกงปลายแขนเสื้อ ชายเสื้อและสาบ ตลอดถึงคอที่เอวมีแพรคาดเอว ผูกทิ้งชายด้านหน้า และผ้าแพรโพกศีรษะผูกทิ้งชายไปด้านหลัง
ลักษณะของโคมเป็นรูปกระถางต้นไม้สี่เหลี่ยมก้นสอบมีด้ามถือโครงทำด้วยไม้ปิดกระดาษบางใส ติดเทียนไขจุดไฟไว้ในกระถาง
บทร้องและบทรำปัจจุบันที่นำมาใช้เป็นบทเรียน สำหรับฝึกหัดนักเรียนของวิทยาลัยนาฏศิลปนั้นเป็นบทที่สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมแก่การแสดงละครดกดำบรรพ์เรื่อง สังข์ศิลป์ไชย หม่อมครูต่วน (ศุภลักษณ์) ภัทรานาวิก ได้นำมาฝึกซ้อมนักเรียนของวิทยาลัยนาฎศิลป เพื่อแสดงให้ประชาชนชม ณ โรงละครศิลปากร เมื่อ พ.ศ. 2490 และต่อมาได้นำมาบรรจุในหลักสูตรวิชานาฎศิลป์ภาคปฎิบัติในในวิทยาลัยนาฏศิลป ดังบทร้องต่อไปนี้
บทร้องเพลงร้องญวนรำกระถาง
ทีโห้เหินเจือง ทีโห้เหินเจือน
กิ๊กกรุงเมืองฮือ โกร๊กกร๊างโก๊ผ่องเกรือง
อันหยาอันหนูโฮ หนูโหต๋าวบางเตือน
วิกาวมางกื๋อผัดผัง เกียมกิ๊ดกิมเชือง
กิ๋นเหมียงเกียงกี กาวฮือเจืองกวางก๊ง
ด่าวเฮ้ยด่าวชั้นหลวง จี๊หานตื๋นเหมียงหยางหยู่ฉางจี
กรุงเตรียมทียามทานกวี โนสันบีกินโฮยกรำเหลโฮกวี
เตรียมบินโรยหากวี สวางกงกวีฮือ
เดืองกูกำดาวกวาหาหะ ยายทู้เทียนฮือย้อจูบ่างล้า
เตรียมสันยาฮา เจียมดำรั้งร้ากวาหาหะ
ดำรั้งกุนฮือเตียว พวะพูมินเทียนสือสือทีสะ
ตวัดเตียวตัดเมามา เจียวต่ายบางเรือขลาบพะยาหาฮาหะ
หันหอเตียวเต้าเชือง กร๊าบได่กราบเตียวเยือง
ตะวาหะฉันกรุงฮึง ทีเมื้องเมียง
หันหอเตียวเต้าเชือง กร๊าบได่กราบเตียวเยือง
ตะวาหะฉันกรุงฮึง ทีเมื้องเมียง
บทถวายดอกไม้ประทีป
หาวยือตันยู่นังนงฮือ หาวยือเตไงอันกุนฮือ
กุ๋นทั่นนงทัน กาวรูเลินรำร่ายรายตุยหงาหะ
กานทุกุมเตียว กุ๋นทั่นยายก๋ง
ก๋งลาหาลัก อระฉุดกงสีฮือ
ทุ๋นทั่นยายก๋ง ก๋งลาหาลักอระฉุดกงสีฮือ
กื๋อบ๋างกวางเตรียม ตีอ๋องกานอ๋อง
กื๋อบ๋างกวางเตรียม ตีอ๋องกานอ๋อง
ฮั่นฮั่นเฮยเฮยนั่นยวง ฮั่นฮั่นเฮยเฮยนั่นยวง
ตีลียุคหยุด ลายอ่องก้านออง
ตีลียุคหยุด ลายอ่องก้านออง
โก้เกี้ยวสื่อหลายโล่กุง บินโฮยลือหลายหางเหืองเนืองเชืองด้ามุง
โลกำลุงสีโลกุง สะวายเตรียมฟุงเอยน่งนง
สะวายเตรียมฟุงเอยน่งโน่ง
เพลงบรรเลงและขับร้อง
ปี่พาทย์ทำเพลงญวนทอดแห นำหนึ่งเที่ยวแล้วร้องเพลงญวนรำกระถางและถวายดอกไม้ประทีป จบแล้วปี่พาทย์ทำเพลงพระยาเดินและรัวทำนองญวน (บทร้องจาก “ชุมชนและบทละครและบทคอนเสริท์” พระนิพนธ์ของสมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ กรมศิลปากรจัดพิมพ์ในงานฉลองครบรอบร้อยปีแห่งวันประสูติ 28 เม.ย. 2506)
รายละเอียดเกี่ยวกับรำโคมญวนในสมัยรัชกาลที่ 1 – 4 ซึ่งแสดงในงานพระราชพิธีควรศึกษาจากหนังสือ ประชุมบทรำโคม ฉับหอสมุดฯ
พญาเดิน
ประวัติความเป็นมา
เพลงพญาเดินเป็นเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูง เพลงหน้าพาทย์คือเพลงที่มีทำนองและจังหวะหน้าทับกำหนดเป็นแบบแผน รวมทั้งกำหนดโอกาสที่ใช้ไว้อย่างแน่นอน โดยทั่วไปเพลงหน้าพาทย์จะไม่มีบทร้อง ใช้บรรเลงแต่ทำนองเพียงอย่างเดียว เพลงหน้าพาทย์ส่วนมากจะมีท่ารำกำหนดไว้เฉพาะในแต่ละเพลงและเพลงหน้าพาทย์อย่างเดียวกัน การใช้ท่ารำของตัวละครคือ พระ นาง ยักษ์ ลิ ก็ย่อมจะแตกต่างกันไปด้วย
เพลงหน้าพาทย์แบ่งออกเป็นเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงและเพลงหน้าพาทย์ธรรมดา เพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “เพลงครู” ซึ่งถือว่าเป็นเพลงที่ศักดิ์สิทธิ์ ผู้ที่ผ่านพิธีครอบและไหว้ครูทางดุริยางค์ไทยและนาฏศิลปแล้ว เมื่อได้ยินเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงจะยกขึ้นไหว้ระลึกถึงครูอาจารย์ที่ได้ประสิทธิ์ประสานวิชาให้เพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงมีความหมายและยิ่งใหญ่ฉพาะเพลง เช่น เพลงสาธุการ ตระนิมิต บาทสกุณี ชำนาญ คุกพาทย์ ฯลฯ เป็นต้น
เพลงหน้าพาทย์ธรรมดาหมายถึงเพลงหน้าพาทย์ที่ใช้ประกอบกิริยาอารมณ์โดยปกติทั่วไปของตัวละคร เช่น เพลงช้า เพลงเร็ว เชิด เสมอ รัว โอด เป็นต้น
เพลงพญาเดินเป็นเพลงหน้าพาทย์ที่วัดอยู่ในเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูง ใช้บรรเลง ประกอบกิริยาอาการไปมาที่ไม่ซับซ้อนของตัวละครผู้สูงศักดิ์ การแต่งกายแบบ ยืนเครื่อง
ระบำพรหมาสตร์
ประวัติความเป็นมา
เป็นระบำในโขนเรื่องรามเกียรติ์ชุด “ศึกพรหมาสตร์” ซึ่งเป็นบทพระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ทรงแต่งเป็นบทคอนเสริตสำหรับบรรเลงและขับร้องในงานต้อนรับแขกเมือง ในสมัยรัชกาลที่ 5 เดิมใช้ชื่อว่า “อินทรชิตแผลงศรพรหมาสตร์” หรือ “ระบำหน้าช้าง” เพราะตามเนื้อเรื่องในคอนเสริตนั้น กล่าวว่า อินทรชิตโอรสของทศกัณฐ์ใช้กลยุทธลวงพระลักษณ์และกองทัพวานร โดยอินทรชิตแปลงเป็นพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ แล้วให้บรรดาพลยักษ์แปลงเป็นเทพบุตรนางฟ้า ฟ้อนรำนำขบวนไปหน้าช้างเอราวัณ
ผู้ประดิษฐ์ท่าระบำชุดนี้ คือ หม่อมเข็ม กุญชร (หม่อมของเจ้าพระยาเทเวศน์วงวิวัตน์) การแต่งกาย แต่งแบบยืนเครื่องพระ – นาง
บทร้องตับพรหมาสตร์
ปี่พาทย์ทำเพลงกราวนอก
เพลงกราวนอก
ขึ้นทรงคอคะชาเอราวัณ อาหารแห่โห่สนั่นหวั่นไหว
ขยายยกโยธาคลาไคล ลอยฟ้ามาในโพยมมาร
เพลงกลองโยน
ช้างเอ่ยช้างนิมิต เหมือนไม่ผิดช้างมคะวัน
นักเริงแรงกำแหงหาญ ชาญศึกสู้รู้ท้วงที่
ผูกเครื่องเรื่องทองทอ กระรินทองหล่อทอแสงสี
ห้อยหูคู่จามรี ปกกระพองทองพันราย
เครื่องเรียงสามแถว ลายกาบแก้วแสงแพร
อภิรุมสินชุมสาย บังแทรกอยู่เป็นคู่เคียง
กลองชนะประโลมศึก มโหระทึกกึกก้องเสียง
แตรสังข์ส่งสำเนียง นางจำเรียงเดียงช้างทรง
สาวสุรางค์นางรำฟ้อน ดังกินนรแน่งนวลระหงษ์
สิทธิฤทธิ์รงค์ ถือธงนองลิ่วลอยมา
เพลงกระบอก
ครั้นถึงที่ประจัญ บานประจัญบานราญรอน เห็นวานรนับแสนแน่นหนา
กับทั้งองค์พระลักษณ์ พระลักษณ์ทรงศักดิ์ดา ยืนรถรัตนาอยู่กลางพล
จึงให้หยุดช้าง ทรงช้างทรงองอาจ ลอยเลื่อนเกลื่อนกลาดกลางเวหา
ให้กุมภัณฑ์บันดาล บันดาลจำแลงตน ใส่กลจับขรรค์ระบำบรรพ์เอย
เพลงแขกอาหวัง
บัดนั้น รูปนิมิตฤทธิ์แรงแข็งขัน
สาวสุรางค์นางฟ้าเทวัญ บังคมคันคำนับรับบันชา
เพลงสร้อยสน
ต่างจับระบำรำฟ้อน ทอดกรีดกรายซ้ายขวา
รายเรียงเคียงคมประสมตา เลี้ยวไล้ไขว่คว้าเป็นท่าทาง
ซ้อนจังหวะประเท้าก้าวกล่อง เลี้ยวลอดสอดคล้องไปตามว่าง
วนเวียนเทียนหันกั้นกลาง เป็นคู่ๆอยู่กลางอำพร
ปี่พาทย์ทำเพลงเร็ว-ช้า
เมื่อนั้น พระลักษณ์ผู้ทรงศักดิ์และทรงศร
ทั้งพวกพลากร ดูรำฟ้อนบนเมฆา
หมายว่าพระอินทร์ สรอับสร เธอหรรษา
พิศเพลินเจริญตา ทั้งพลวานรไพร
เพลงแมลงวันทอง
เมื่อนั้น อินทรชิตยินดีจะมีไหน
เห็นค่าศึกเสียเชิงระเริงใจ จึงจับธงชัยขึ้นบูชา
เพลงแห่เฉิดฉิ่ง
พาดสายหมายเขมันเข่นเคี้ยว หนาวเหนี่ยวด้วยกำลัง
สังเกตตรงองค์พระลักษณ์อนุชา อสุราก็สั่นไปทันใด
ปี่พาทย์ทำนองเพลงเชิดกลอง
เพลงร่ายรุด
ลูกศรกระจายดั่งสายฝน ต้องพวกวานรหลบไม่ทันได้
ต้องพระอนุชาเสนาไหน สลบไปไม่เป็นสมประดี
เพลงกราวนำ
ดีใจไพรีพินาถสิ้น อสุรินสวนสันหรรษา
โยธีสมคะเนเฮฮา คืนเข้าลงถาพารี
ฟ้อนเล็บ
ประวัติความเป็นมา
สมเด็จกรมพระยาดำรง เดชานุภาพ ทรงเล่าเรื่องเกี่ยวกับการฟ้อนรำของชาวภาคเหนือ ในคราวที่ท่านตามเสด็จตรวจมณฑลพายัพ ตอนเสด็จเยือนเมืองลำปาง ลำพูน เจ้าเมืองและราษฎรจัดพิธีต้อนรับดังนี้ ถึงวันจะเข้าเมือง(ลำปาง)ในเวลาเช้าเจ้านายชั้นผู้ใหญ่และผู้น้อย ต่างก็แต่งกายเต็มยศขี่ช้างออกจากเมืองกับขบวนแห่มาถึงใกล้ที่พลับพลา พวกเจ้านายลงจากคอช้างแยกออกเป็น 2 แถว มีกฎกันยาวกั้นทุกคนพากันเดินตามคนเชิญพานดอกไม้ ธูปเทียน เครื่องสักการะนำหน้ามาพาเจ้ากั้นบริเวณพลับพลาเจ้านายทั้งผู้ใหญ่และผู้น้อยพากันฟ้อนรำ เป็นคู่ๆ เข้ามาหาข้าพเจ้า
การฟ้อนรำมีอยู่ 2 แบบ
คือ แบบแรกฟ้อนด้วยมือเปล่าไม่ใส่เล็บยาวเรียกว่า “ฟ้อนเจิง” แบบที่สองใส่เล็บยาวเรียกว่า “ฟ้อนเล็บ”
การฟ้อนเจิงและการฟ้อนเล็บของชาวเหนือ เป็นประเพณีสืบต่อกันมานานแล้ว ฟ้อนเจิงในปัจจุบันนี้หาได้ยากแม้ในสมัยก่อนก็เช่นเดียวกัน การฟ้อนเจิงจะจัดขึ้นในพิธีสำคัญๆ เช่น พิธีสู่ขวัญ พิธีรับแขกเมืองหรือแสดงความจงรักภักดี ส่วนการฟ้อนรำนั้น ชาวเหนือยังรักษาฝึกซ้อมและถ่ายทอดกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ ผู้ที่ฟ้อนเล็บส่วนมากเป็นหญิงสาวเรียกว่า “ช่างฟ้อน” การฟ้อนเล็บนี้จะฟ้อนในงานต่างๆ เช่น การต้อนรับแขกเมือง การรดน้ำดำหัว เป็นต้น
การแต่งตัวเป็นแบบเมืองเหนือ คือ นุ่งผ้าซิ่น สวมเสื้อแขนกระบอกมีผ้าสไบคาดเหนี่ยวบ่า ผมเกล้าสูงหรือเลยไปข้างหลังนิดหน่อยที่ผมประดับออกเอื้อง ส่วนเล็บที่สวมนั้นทำด้วยโลหะทองเหลือง มีขนาดยาวประมาณ 3 นิ้ว ปลายเลียวงอน
ท่ารำฟ้อนเล็บนั้น ช่างฟ้อนมักจะจำต่อๆ กันมาที่เข้าใจว่าเป็นท่าของชาวเหนือ เท่าที่สังเกตเห็นเป็นท่าเดิมจริงๆ มีดังนี้
1. ท่าพายเรือ
2. ท่าเชิดบัวบาน
3. ท่าตากปีก
4. ท่าหย่อน (เป็นท่าสับฝึก)
ต่อมาการฟ้อนเล็บก็มีการปรับวิธีฟ้อนที่มีน้อยท่าให้เข้ากับท่ารำแม่บท และเพิ่มท่ารำให้มากขึ้นดังนี้
ชุดที่ 1
1. จีบหลัง (หงษ์บิน)
2. วงบน (จันทร์ทรงกลด)
3. ม้วนมือไหว้หว่างคิ้ว
4. ปิดบัวบาน
5. กังหันร่อนแล้วม้วนมือลงจีบหลัง
ชุดที่ 2
1. ตระเวรเวหา
2. ลมพัดยอดตอง
3. พระรถโยนสาร
4. ผาลา
5. บัวชูฝักแปลงต่อกังหันร่อน
ชุดที่ 3
1. พายเรือ
2. พระลักษณ์แผลงฤทธิ์
3. ชักกระบี่ 4 ท่า
ชุดที่ 4
1. พรหมสี่หน้า
2. กระต่ายต้องแร้ว
3. จับแก้วคู่
ชุดที่ 5
1. กระหวัดเกล้า
2. พิศมัยเรียงหมอน
3. ตามปีก
จบด้วยการยกมือไหว้ลา
การฟ้อนเล็บของชาวเหนือเป็นศิลปะอันประณีตงดงามมาก นอกจากนั้นพวกท่าที่ร่ายรำยังแสดงถึงอุปนิสัยอันดี การฟ้อนเล็บจึงเป็นศิลปะที่มีคุณค่าจึงแก่การรักษาไว้ไม่ให้สูญหาย
เนื้อร้องทำนองเพลง ตี๋ปลา โม่ปลา ซางไซยา โอมองโละ โลเปรี้ยว มะลันโซ มโหรา รำมะแจ้ตี๋ปาตะเนปานปานโตเง เห แต่เต่โล่ท่า (ฮัม) เต้โล่ทา ฮิตแต่โซ โลลัน เปียว เนโฮ เนต่าง ไม่ว่า
เพลงแม่บทนางนารายณ์ (แม่บทเล็ก)
ประวัติความเป็นมา
การร่ายรำแม่บทเล็กนี้ได้ปรากฎในตำราการฟ้อนรำของอินเดีย ซึ่งกล่าวถึงพระอิศวรได้ฟ้อนรำให้มนุษย์โลกได้ชม ชาวอินเดียเชื่อว่าที่ตำบลจิทัมพรัม ในอินเดียทางฝ่ายไต้(ในแคว้นมัทราส) เป็นที่ซึ่งพระอิศวรทรงแสดงการร่ายรำและต่อมาได้สร้างรูปปั้นพพระอิศวรปางนี้ การฟ้อนรำนี้เรียนกว่า นาฏราช พวกพราหมณ์ได้ถ่ายแบบนำไปเผยแพรี ปัจจุบันยังมีสถานที่แห่งนี้อยู่สร้างขึ้นเมื่อราว พ.ศ. 1800 เป็นรูปพระอิศวรทรงแสดงการฟ้อนรำทั้งหมด 108 ท่า มีปรากฏในตำรานาฏยศาสตร์มีท่ารำทั้งหมด 32 ท่า และต่อมานำมาดัดแปลงเป็นท่ารำต่าว ๆ 10 ท่า และบัญญัติ เรียกชื่อว่า พฤศจิเรจิตน์ (ท่าแมลงปองยกหาง) ท่ารำต่างๆ ที่ไทยนำมาประดิษฐ์เป็นท่ารำแม่บทเล็ก เช่น ท่าสอดสร้อยมาลา ท่าร้อยดอกไม้เป็นลักษณะของมือที่จีบที่ชายพกข้างหนึ่ง มืออีกข้างหนึ่งตั้งวง เมื่อสอดจีบขึ้นก็เหมือนลักษณะการร้อยดอกไม้ ท่ากวางเดินดงก็ประดิษฐ์ขึ้นจากท่าเดินของกวาง เมื่อนำมาประดิษฐ์ท่ารำผู้รำต้องแบมือทั้งสองข้าง หันฝ่ามือไปข้างหน้า ปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นเก็บนิ้วหัวแม่มือ นิ้วนางและนิ้วก้อยแล้ว เหยียดนิ้วชี้และนิ้วกลางออกไป งอแขนเล็กน้อยระดับสะโพก การรำแม่บทตามบทนารายณ์ปราบนนทุก ในหนังสือตำราฟ้อนรำ เป็นแบบนาฏศิลป์ของไทย ที่เรารักษาสืบต่อกันมาแต่โบราณ ในสมัยอยุธยา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทกลอนไว้ว่า
“ เรื่องนารายณ์กำราบปราบนนทุก ในต้นไตรดายุคโบราณ
เป็นเรื่องดึกดำบรรพ์สืบกันมา ครั้งศรีอยุธยาเอามาใช้”
แม่บทนางนารายณ์เป็นการแสดงโขนตอนหนึ่ง ในเรื่องรามเกียรติ์ปราบนนทุก ทุกปรากฎในพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 ว่า “ นนทุกเป็นยักษ์ตนหนึ่งมีหน้าที่ล้างเท้าเทวดานางฟ้า เวลาจะขึ้นเฝ้าพระอิศวร เมื่อนนทุกล้างเท้าให้แล้ว เทวดาจะแกล้งนนทุกโดยการดึงผมของนนทุก จนศรีษะล้าน นนทุกมีความโกรธแค้นมากจึงนำเรื่องนี้ทูลพระอิศวร และขอพรพระอิศวรโดยการให้มีนิ้วเพชร ซึ่งชี้ใครก็จะตาย เมื่อเทวดานางฟ้ามาขึ้นเฝ้าพระอิศวรและให้นนทุกล้างเท้า เหล่าเทวดาได้แกล้งนนทุกเช่นเคย นนทุกโกรธจึงใช้นิ้วเพชรชี้เทวดานางฟ้าได้รับความเดือดร้อน เทวดานางฟ้าเฝ้าพระนารายณ์ ได้ทูลขอให้พระนารายณ์ไปช่วยปราบ พระนารายณ์ได้แปลงเป็นหญิงงาม รำล่อให้นนทุกหลงใหลโดยการให้นนทุกรำตาม ถ้านนทุกรำตามได้ถูกต้อง ก็จะยอมเป็นภรรยาของนนทุก นนทุกยอมทำตามเมื่อถึงเนื้อร้องที่ว่า” ฝ่ายว่านนทุกก็รำตาม ด้วยความพิศมัยใหลหลง ถึงท่านาคาม้วนหางลง ก็ชี้ลงที่เพลาพลันทันใด “ นนทุกก็ชี้ลงที่ขาของตัวเองจนถึงแก่ความตาย แต่ก่อนที่จะถึงแก่ความ นนทุกได้เห็นพระนารายณ์มี 4 กร และได้ตัดพ้อต่อว่าพระนารายณ์ว่าเอาเปรียบตน ที่มาแปลงตัวเป็นหญิงงาม รำล่อให้ตนหลงใหล พระนารายณ์ได้บอกนนทุกว่าเมื่อตนลงไปเกิดในโลกมนุษย์ให้นนทุกมี 10 เศียร 20 กร และพระองค์มี 2 กร ก็จะสู้รบนนทุกได้ เรื่องราวข้างต้นนี้จึงเป็นต้นกำเนิดของรามเกียรติ์ การร่ายรำของพระนารายณ์แปลง ก็คือการรำแม่บทเล็ก ซึ่งใช้ทำนองเพลงชมตลาด ต่อมาเรียกการรำชุดนี้ว่า แม่บทเล็กหรือแม่บทนางนารายณ์
ซึ่งมีบทเพลงว่า
ปี่พาทย์ทำเพลงรัว
ร้องเพลงชมตลาด
เทพพนมปฐม พรหมสี่หน้า สอดสร้อยมาลาเฉิดฉิน
ทั้งกวางเดินดงหงศ์บิน กินรินเลียบถ้ำอำไพ
อีกช้านางนอนภมรเคล้า แขกเต้าผาลาเพียงไหล่
เมขลาโยนแก้วแววไว มยุเรศฟ้อนในอัมพร
ลมพัดยอดตองพรหมนิมิตร ทั้งพิศมัยเรียงหมอน
ย้ายท่ามัจฉาชมสาคร พระสี่กรขว้างจักรฤทธิรงค์
ปี่พาทย์ทำเพลงวรเชษฐ์ เพลงเร็ว ลา
เพลงดาวดึงส์
ประวัติที่มา
ระบำดาวดึงส์ เป็นระบำมาตรฐานที่ได้รับการปรับปรุงมาหลายครั้ง การแสดงเริ่มด้วยท่ารำในจังหวะเพลงช้า แล้วค่อยมีจังหวะเร็วขึ้นโดยลำดับ ท่ารำที่ยกมือขึ้นประสานไขว้กันไว้ที่ทรวงอก และขยับฝ่ามือตีลงที่อกเบา ๆ เป็นจังหวะพร้อมกับขยับเท้าไปด้วย เป็นท่ารำที่เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี พระอนุชาของพระศรีสุริเยนทรามาตย์พระบรมราชินี ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงประดิษฐ์ขึ้นพร้อมๆ กับรำพัด เมื่อประมาณ 150 กว่าปี มาแล้ว โดยทรงเลียนแบบมาจากการเต้นทุบอก ในพิธีของพวกอิสลามลัทธิเจ้าเซ็น หรือที่เรียกว่า ลัทธิชีอะห์ แต่ได้ทรงประดิษฐ์ท่ารำให้นุ่มนวล อ่อนช้อยตามหลักนาฏศิลป์ไทย ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้ทรงนิพนธ์บทร้องประกอบการแสดงในบทละครดึกดำบรรพ์ เรื่องสังข์ทอง ตอนตีคลี ระบำดาวดึงส์ จึงเป็นระบำเบิกโรงในการแสดงดังกล่าว บทร้องบรรยายถึงความงดงามของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งเป็นที่ประทับของพระอินทร์ มีปราสาท ราชวังและราชรถ เป็นต้น ระบำชุดนี้มีลักษณะและรูปแบบแตกต่างจากระบำไทยมาตรฐานของเก่า ที่ตีบทตามความหมายของคำร้อง แต่ระบำดาวดึงส์ ที่เป็นบทเรียนนี้ หม่อมเข็ม กุญชรฯ หม่อมของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ ได้ประดิษฐ์ท่ารำสวยงาม บางท่าไม่เน้นการตีบทตามคำร้อง
ความหมายของบทเพลงระบำดาวดึงส์
คำว่า” ดาวดึงส์ ( ไตรตรึงส์ )” ในปทานุกรมฉบับหลวงกล่าวไว้ว่า ” ดาวดึงส์ ( ไตรตรึงส์ )” ตั้งอยู่เหนือจอมเขาพระสุเมรุเนรุราชบรรพต หรือเรียกอย่างง่าย ๆ ว่าเขาพระสุเมรุ สวรรค์ชั้นนี้เป็นเมืองของพระอินทร์กว้าง 3 ล้านวา มีปรางค์ปราสาทแก้วและกำแพงแก้ว ประตู เป็นทองประดับไปด้วยแก้ว 7 ประการ เมื่อเปิดประตู จะได้ยินเสียงดนตรีอย่างไพเราะ ตรงกลางของสวรรค์ชั้นนี้มีวิมานหรือปราสาทชื่อไพชยนต์ เป็นที่ประทับของพระอินทร์สูง 25 ล้าน 6 แสนวา ประกอบด้วยแก้ว 7 ประการ มีชั้นเชิงชาลา แต่ละชาลามีวิมานได้ 700วิมาน วิมานหนึ่งมีนางอัปสร 7 คน รวมนางอัปสรอยู่ในไพชยนต์ปราสาท 25 ล้านคน
ส่วนเนื้อร้องของเพลงรหะบำดาวดึงส์นี้ พรรณนาถคงความงามบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ชมเครื่องทรงอาภรณ์ของเหล่าเทวดา นางฟ้า ซึ่งเต็มไปด้วยเพชรนิล จินดา และชมพระอินทร์ซึ่งมีวชิรสายฟ้าและธนูเป็นอาวุธประจำพระองค์ เป็นที่เกรงขามของยักษ์ทั้งหลาย พรรณาถึงความมโหฬารตระการตาเกี่ยวกับสมบัติของพระอินทร์ มีปราสาทราชวังซึ่งมีช่อฟ้าใบระกา บราลี มุขเด็ดและบุษบก ตลอดจนราชรถที่ ทำด้วยแก้ว ซี่ล้อ และกงล้อรถประดับอย่างสวยงาม บรรลังก์สลักเป็นรูปสิงห์และรูปครุฑจับนาค รถนั้นเทียมด้วยม้าที่วิ่งเร็วปานลมพัด ซึ้งบทร้องเพลงระบำดาวดึงส์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงนิพนธ์ได้ไพเราะจับใจมาก
บทร้องและทำนองเพลง
บทร้อง เป็นบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ พรรณเกี่ยวกับความงามตระการตาของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพลงที่ใช้ประกอบด้วยเพลงเหาะ เพลงรัว เพลงตะเขิ่ง เพลงเจ้าเซ็น
ทำนอง
เพลงระบำดาวดึงส์ มีทำนองเพลงเป็นสำเนียงแขกปนอยู่ด้วย ซึ่งเรียกว่า “ เพลงแขก เจ้าเซ็น “
บทร้องระบำดาวดึงส์
พระนิพนธ์สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
ปี่พาทย์ทำเพลงเหาะ
ร้องเพลงตะเขิ่ง
ดาวดึงส์เทวโลกมโหฬาร เป็นที่อยู่สำราญฤทัยหรรษ์
สารพัดงามจริงทุกสิ่งอัน สารพันอุดมสมใจปอง
เทพบุตรผุดพรรณโฉมยง งามทรงอาภรณ์ไม่มีหมอง
นางอัปสรงอนสงวนนวลละออง งามทรงเครื่องทองและเพชรนิล
ร้องเพลงเจ้าเซ็น
สมเด็จพระอมรินทร์ปิ่นมงกุฎ ทรงวชิราวุธธนูศิลป์
รักษาเทวสีมาเป็นอาจิณ อสุรินทร์อรีไม่บีฑา ( ซ้ำ )
อันอินทรปราสาททั้งสาม ( ซ้ำ ) ทรงงามสูงเงื้อมกลางเวหา
สี่มุขหุ้มมาศสะอาดตา ใบระกาแกมแก้วประกอบกัน
ช่อฟ้าช้อยเฟื้อยเฉื่อยชด ( ซ้ำ ) บราลีทีลดมุขกระสัน ( ซ้ำ )
มุขเด็ดทองดาดกนกะน บุษบกสุวรรณชามพูนท ( ซ้ำ )
ราชยานเวชยันต์รถแก้ว ( ซ้ำ ) เพริศแพร้วกำกงอลงกต ( ซ้ำ )
แอกงอนอ่อนสลวยชวยชด ( ซ้ำ ) เตือขดช่อตั้งบรรลังก์ลอย
รายรูปสิงห์อัดหยัดยัน สุบรรณจับนาคหิ้วเศียรห้อย ( ซ้ำ )
ดุมพราววาววับประดับพลอย แปรกแก้วกาบช้อยสะบัดบัง
เทียมด้วยสินธพเทพบุตร ทั้งสี่บริสุทธิ์ดังสีสังข์
มาตลีอาจขี่ขับประดัง ( ซ้ำ ) ให้รีบรุดสุดกำลังดังลมพา
ปี่พาทย์ทำเพลงเชิด
การแต่งกาย
เนื่องจากผู้แสดงสมมุติเป็นเทวดา นางฟ้า ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์จึงแต่งกายยืนเครื่อง
พระนาง
ดนตรี
1. วงปี่พาทย์เครื่องห้า
2. วงปี่พาทย์เครื่องคู่
3. วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่
4. วงปี่พาทย์เครื่องดึกดำบรรพ์
โอกาสที่ใช้ในการแสดง
การแสดงชุดระบำดาวดึงส์นี้เป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ละครดึกดำบรรพ์ เรื่อง” สังข์ทอง “ ตอนตีคลี ฉนั้นโอกาสที่ใช้ในการแสดงนั้นนิยมใช้ดังนี้
1. ประกอบการแสดงละครดึกดำบรรพ์ เรื่อง” สังข์ทอง “ ตอนตีคลี
2. ใช้ในการรำเบิกโรง
3. ใช้ในการแสดงเบ็ดเตล็ด รีวิว หรือสลับฉาก
4. ใช้ในโอกาสที่มีงานรื่นเริงต่างๆ หรืองานมงคล
เพลงมฤคระเริง ( ระบำกวาง )
ประวัติที่มา
มฤคระเริง หรือ ( ระบำกวาง ) เป็นชุดที่ประดิษฐ์ขึ้นแสดงเนื่องในงานแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ณ ประเทศสหภาพพม่า เมื่อปีพุทธศักราช 2498 โดยจัดให้มีการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ตอนลักนางสีดา มีหมู่ระบำกวางจะออกมาร่ายรำเพรื่อความสวยงามก่อนที่กวางทอง( มารีศ ) จะออกมาล่อให้นางสีดาเห็น และเกิดความใหลหลง ขอร้องให้พระรามไปจับมาให้ เมื่อพระรามตามไปทศกัณฐ์ได้แปลงตนเป็นฤษี ลักนางสีดาไปกรุงลงกา ผู้ประดิษฐ์ท่ารำระบำกวางคือ คุณครูลมุล ยมะคุปต์
ในปัจจุบันการแสดงโขนตอนลักสีดา จะไม่มีหาระบำกวางออกมา จะมีแต่กวางทองออกมา
รำล่อนางสีดาเพียงตัวเดียวเท่านั้น สำหรับระบำมฤคระเริงต่อมาได้นำไปใช้ประกอบการแสดงละครรำ เรื่องศกุนตลา ตอนท้าวทุษยันต์ตามกวาง และละครรำ เรื่องสุวรรณสามจากนิทานเรื่องสุวรรณชาดก
โอสาสที่ใช้ในการแสดง
ระบำมฤคระเริง หรือ ( ระบำกวาง ) ใช้ประกอบการแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ตอนลักสีดา ใช้ประกอบการแสดงละครรำเรื่องศกุนตลา และละครรำเรื่องพระสุวรรณสาม หรือใช้แสดงเป็นระบำเบ็ดเตล็ดในงานรื่นเริงต่างๆ การแต่งกายเลียนแบบกวาง
เครื่องดนตรี
ใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้า เครื่องคู่ หรือเครื่องใหญ่
วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2552
ประวัติและบทร้องนาฏศิลป์ไทยระดับปวช.
เพลงต้นเข้าม่าน - ปลายเข้าม่าน
ประวัติที่มา
เพลงหน้าพาทย์ต้นเข้าม่าน – ปลายเข้าม่าน เป็นเพลงสำหรับประกอบกิริยาไปมา ของตัวละครต่ำศักดิ์ เช่น นางกำนัล สาวใช้ หรือเทพบริวารไปกราบทูลเทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวร พระพรหม พระนารายณ์ เป็นต้น โดยนำท่ารำจากแม่บทใหญ่ มาประดิษฐ์ให้ลีลาต่อเนื่องกันอย่างสวยงาม ได้แก่ บัวชูฝัก บัวชูฝัก ผาลาเพียงไหล่ กินนรรำ สอดสูง เป็นต้น และได้บรรจุไว้ในนาฏศิลป์ชั้นกลาง
เพลงชุมนุมเผ่าไทย
ประวัติที่มา
ระบำชุดนี้เป็นระบำนำละครเรื่อง อานุภาพแห่งความเสียสละ บทประพันธ์ของพลตรีหลวงวิจิตรวาทการ จัดแสดงเมื่อ พ.ศ.2498 บทร้องโดยพลตรีหลวงวิจิตรวาทการ ทำนองเพลงแต่งและเรียบเรียงโดย ผู้เชี่ยวชาญดุริยางไทยของกรมศิลปากร คือ อาจารย์มนตรี ตราโมท ทำนองเพลงร้องจะแตกต่างกันไปตามสำเนียงไทยเผ่าต่างๆ โดยมีไทยกลางซึ่งแต่งขึ้นใหมาเป็นเพลงเชื่อมให้มีความสำพันธ์กัน กล่าวคือ
ไทยลานนา ใช้ทำนอง เพลงแน (ของเก่า )
ไทยใหญ่ ใช้ทำนอง เพลงเงี้ยว (ของเก่า )
ไทยลานช้าง ใช้ทำนอง เพลงฝั่งโขง (ของเก่า )
ไทยสิบสองจุไทย ใช้ทำนอง เพลงสิบสองปันนา (แต่งใหม่)
ไทยอาหม ใช้ทำนอง เพลงอาหม (แต่งใหม่)
บทร้องระบำชุมนุมเผ่าไทย บรรยรยให้ทราบถึงชนชาวไทยเผ่าต่างๆที่ได้อพยพ แยกย้ายกันลงมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในส่วนต่างๆของแหลมทอง ดังนี้
1. ไทยกลาง คือ คนไทยในประเทศไทย
2. ไทยลานนา คือ คนไทยในภาคเหนือของไทย
3. ไทยใหญ่ คือ คนไทยในแคว้นฉานของพม่า
4. ไทยลานช้าง คือ คนไทยที่อยู่ในแถบลุ่มแม่น้ำโขงเมืองเวียงจันทร์ ประเทศลาว
5. ไทยสิบสองจุไทย คือ คนไทยที่ในแคว้นสิบสองจุไทย ประเทศเวียดนาม
6. ไทยอาหม คือ คนไทยในแคว้นอาหมอยู่ติดกับปากีสถาน
ระบำชุมนุมเผ่าไทยเหมาะสำหรับให้นักเรียนได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทย หรือเป็นชุ
การแสดงวิพิธทัศนาในกิจกรรมเสริมหลักสูตรวิชาประวัติศาสตร์
ผู้ประดิษฐ์ท่ารำคืออาจารย์ลมุล ยมะคุปต์ และคุณครูผัน โมรากุล แต่งกายออกแบบสร้างโดยอาจารย์ชิ้น ศิลปบรรเลง และต่อมาอาจารย์ทวีศักดิ์ เสนาณรงค์ ได้ออกแบบเครื่องแต่งกายใหม่เพื่อถ่ายปฏิทินเซลล์
เครื่องดนตรีที่ใช้
1. แต่เดิมที่ใช้ประกอบการแสดงละครเรื่อง อานุภาพแห่งความเสียสละ
2. ใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้า เครื่องคู่ หรือเครื่องใหญ่ ตามความเหมาะสม
บทร้อง
ระบำชุมนุมเผ่าไทย
ไทยลานนา นี่พี่น้องของเราไทยลานนา อยู่ด้วยกันนานมาแต่ก่อนเก่า
ได้ร่วมแรงร่วมใจคู่ไทยเรา เป็นพงศ์เผ่าญาติและมิตรแท้
ไทยใหญ่ นี่ไทยใหญ่อยู่ใกล้ใกล้ทางทิศเหนือ เป็นชาติเชื้อพี่ชายของไทยแน่
ยังรักษาความเป็นไทยไม่ผันแปร ขยายแผ่สาขาตระกูลไทย
ไทยลานช้าง นี่คือไทยลานช้างอยู่ ข้างเคียง เคยร่วมเรียงอยู่เป็นสุขทุกสมัย
แม่น้ำโขงกั้นเขตประเทศไว้ แต่ไม่กั้นดวงใจที่รักกัน
ไทยสิบสองจุไทย นี่พี่น้องชาวสิบสองจุไทย เป็นพี่ใหญ่แน่แท้ไม่แปรผัน
ต้นเชื้อสายไทยน้อยแหล่งสำคัญ ครั้งสมัยดึกดำบรรพ์ขุนบรม
ไทยอาหม นี่พี่น้องพวกสุดท้ายที่เข้ามา ก็เป็นไทยที่ชื่อว่าไทยอาหม ล้วนเลือดเนื้อเชื้อไทยใฝ่นิยม ให้อาณาประชาคมไทยสมบูรณ์
โอกาสที่ใช้ในการแสดง
1. ใช้แสดงเป็นระบำฉากนำละครเรื่อง อานุภาพแห่งความเสียสละ
2. ใช้แสดงในงานรื่นเริง
ลักษณะเครื่องแต่งกาย
ไทยกลาง นุ่งผ้ายก ห่มสไบ( ห่มสไบตาดทอง ปัจจุบันห่มสไบพรีช และห่มผ้าปักทับ) ผมเกล้าครึ่งศรีษะทัดดอกไม้ สวมเครื่องประดับ สร้อยคอ สร้อยข้อมือ ต่างหู สร้อยตัว กำไลเท้า
ไทยลานนา นุ่งผ้าซิ่นบายขวางแบบทางเหนือ สวมเสื้อแขนกระบอก ห่มสไบ เกล้าผมติดอุบะ ทัดดอกไม้ สวมเครื่องประดับ
ไทยใหญ่ นุ่งผ้าซิ่นต่อลายใหญ่ สวมเสื้อแขนยาวสามส่วน มีผ้าโพกศรีษะ สวมเครื่องประดับ
ไทยลานช้าง นุ่งผ้าซิ่นลาว สวมเสื้อเกาะอก มีผ้าคลุมไหล่ ผมเก้ามวยสูงใส่เกี้ยว สวมเครื่องประดับ
ไทยสิบสองจุไทย นุ่งผ้าถุงยาว ผ่าข้าง สวมเสื้อแขนกระบอกติดกระดุมป้ายข้างแบบจีนมีผ้าคล้องและคาดเอว ผมเกล้ามวย 2 ข้าง แบบจีน ประดับดอกไม้รอบมวยและสวมเครื่องประดับ
ไทยอาหม นุ่งส่าหรีแบบแขก สวมเสื้อแขนสั้นเอวลอย ผมเกล้ามวยต่ำ สวมเครื่องประดับ
เพลงฟ้อนม่านมงคล
ประวัติที่มา
ฟ้อนม่านมงคลหรือระบำม่านมงคล เป็นระบำชุดหนึ่งอยู่ในละครพันทางเรื่อง ราชาธิราช ตองสมิงพระรามอาสา ซึ่งกรมศิลปากรจัดแสดง ณ โรงละครศิลปากร ครั้งกรก เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ.2495 อาจารย์มนตรี ตราโมท ได้แต่งบทร้องและทำนองเพลงขึ้นใหม่จากเพลงพม่าแท้ ๆ เพลงหนึ่ง สำหรับประกอบการฟ้อนรำของหมู่นางระบำสาวชาวพม่า ในฉากที่ 4 ซึ่งเป็นฉากที่ สมิงพระรามแต่างงานกับพระราชธิดาของพระเจ้ากรุงอังวะ โดยตั้งชื่อเพลงนี้ว่า” เพลงม่านมงคล” คุณครูลมุล ยมะคุปต์(ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย) และคุณครูมัลลี คงประภัศร์ เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำ
ดนตรีทีใช้ประกอบการแสดง
นิยมใช้วงปี่พาทย์ไม้นวมจะเป็นเครื่องห้า เครื่องคู่ หรือเครื่องใหญ่ก็ได้
ถ้าเรื่องใดผสมด้วยท่ารำและเพลงร้อง เพลงดนตรีภาษาอื่น เครื่องบรรเลงในวงปี่พาทย์ก็จะต้องเพิ่มเครื่องอันเป็นสัญญลักษณ์ของเครื่องภาษานั้น ๆ ซึ่งเรียกว่า เครื่องภาษา เครื่องภาษาที่ใช้เพิ่มเข้าไปในวงปี่พาทย์ คือ เครื่องภาษาพม่า มีดังนี้
1. กลองยาวพม่า
2. เครื่องประกอบจังหวะพม่า
3. กลองพม่า
4. เปิงพม่า
เครื่องแต่งกาย
1. นุ่งผ้าป้าย มีเชิงโปร่งยาวกรอมเท้า
2. เสื้อนอกแขนยาว ขอบเอวโค้ง
3. เข็มขัด
4. เสื้อในรัดอก
5. ผ้าคล้องไหล่
6. เครื่องประดับศรีษะผมยาวเกล้าเป็นผมมวยสูง ปล่อยปลายผมด้านขวา
นาฏยศัพท์
1. จีบล่อแก้ว
2. วง
3. ก้าวเท้า
4. ถอนเท้า
5. ย่ำเท้า-ถัดเท้า
โอกาสที่ใช้ในการแสดง
ใช้แสดงในงานรื่นเริง งานมงคล ตามโอกาสที่เหมาะสม
เนื้อร้องเพลงม่านมงคล
ปวงข้าเจ้าเหล่าราชนาฏากร ขอฝ่ายฟ้อนระบำบรรพ์ด้วยหรรษา
สมโภชองค์อุปราชราชธิดา ในมหาพิธีดิถีชัย
ด้วยเดชะบารมีบดีศูรย์ อันไพบูลย์พูนพิพัฒน์นิรัติศัย
จึงอุบัติอุปราชติชาญชัย อรทัยพระธิดาศรีธานี
ขอคุณพระพุทธเจ้า จุ่งมาปกเกล้าเกศี
พระธรรมเลิศล้ำธาตรี พระสงค์ทรงศรีวิสุทธิญาณ
ขอโปรด ธ ประสาท อุปราชธิบดี
พระราชบุตรี วรนาฏนงคราญ
ทรงสบสุขศรี ฤดีสำราญ
ระรื่นชื่นบาน วรกายสกนธ์
พวกเหล่าพาลา ไม่กล้าประจญ
ต่างหวั่นพรั่นตน เกรงพระบารมี
ประสงค์สิ่งใด เสร็จได้ดังฤดี
สถิตเด่นเป็นศรี อังวะนคราฯ
ออกพม่าไสยาสน์
เพลงฟ้อนแคน
ประวัติที่มา
แคนเป็นเครื่องดนตรีของชาวไทยภาคอีสาน ซึ่งใช้บรรเลงเล่นกันเป็นปกติทำนอง
แคนนั้น มีอยู่มากมายหลายเพลง ซึ่งเรียกกันว่า “ ลาย “
เมื่อราวเดือนกันยายน 2527 คุณครูเฉลย ศุขวณิช ผู้เชี่ยว ชาญการสอนนาฏศิลป์
ไทย ของวิทยาลัยนาฏศิลป ได้ปรารภถึงเรื่องฟ้อนแคนของเดิม ซึ่งในปัจจุบันได้นำมาปรับปรุงเป็นชุดเซิ้งสราญไปเสียแล้ว ครูอาจารย์อีกหลายท่าน อาทิ ครูจำเรียง พุธประดับ และคุณครูอุดม อังศุธร ได้ร่วมกับคุณครูเฉลย ศุขวณิช ประดิษฐ์ท่าฟ้อนแคนขึ้นใหม่ ใช้ผู้แสดง ชาย หญิง ฝ่ายชายนั้นเป่าแคน ร่ายรำไปตามทำนองเพลงไทยที่ชื่อว่า “ เพลงลาวราชบุรี “ ออกท้ายด้วยเพลงซุ้ม ( อีสาน ) ซึ่งเป็นเพลงที่ใช้ประกอบการฟ้อนแคน ชุดเดิมตั้งแต่ปี 2513
การแต่งกาย
หญิง นุ่งผ้าซิ่นสั้นแค่เข่า สวมเสื้อคอกลมแขนกระบอก ห่มสไบ ผมเกล้ามวยสูง ประดับด้วยดอกไม้
ชาย นุ่งผ้าตะโก้ง หยักรั้ง ปล่อยชายชายด้านหลังสวมเสื้อม่อฮ่อม ผ้าขาวม้าคาดเอว และผ้าคาดศรีษะ มือถือแคน
เครื่องดนตรี
เป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองของภาคอีสาน เช่น แคน กั๊บแก๊บ กรับ โหวต
โอกาสที่ใช้ในการแสดง
แสดงในงานรื่นเริง และงานเทศกาลต่างๆ
ใบความรู้เพลงเต้นกำรำเคียว
ที่มาของการแสดง
เต้นกำรำเคียวเป็นเพลงพื้นเมืองของจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งชาวนานิยมเล่นกันตามท้องนา ในฤดูเก็บเกี่ยวข้าว เมื่อถึงฤดูนี้พวกชาวบ้านก็มักจะช่วยกันเก็บเกี่ยวเรียกว่า ลงแขก ในขณะเก็บเกี่ยวก็มักจะร้องรำกัน เพื่อความบันเทิงสนุกสนานปลดเปลื้องการเหนื่อย โดยมากมักจะเล่นเต้นกำรำเคียว ซึ่งผู้เล่นทั้งชายและหญิง ต่างก็ถือเคียวมือหนึ่ง รวงข้าวมือหนึ่ง ร้องเกี้ยวพาราสีกันเป็นที่สนุกสนาน นักร้องและนักรำของกรมศิลปากรได้ไปฝึกมาจากจังหวัดนครสวรรค์ เมื่อพุทธศักราช 2504 และได้แต่งเพลงดนตรีขึ้นประกอบ เพื่อให้เหมาะแก่การที่จะนำออกแสดง
ประวัติที่มา
เต้นกำรำเคียวเป็นเพลงพื้นเมืองของชาวบ้านจังหวัดนครสวรรค์ นิยมเล่นตามท้องนา ในฤดูกาลลงแขกเกี่ยวข้าว ร้องเล่นเพื่อความรื่นเริงสนุกสนานผ่อนคลายความเหน็ดเหนื่อย
เมื่อ พ.ศ.2504 ศิลปินของกรมศิลปากรได้ไปฝึกหัดการเล่นเต้นกำรำเคียวจากชาวบ้าน ตำบลพยุหคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ต่อมากรมศิลปากรได้ปรับปรุงการเล่นเพื่อให้เหมาะกับการนำออกแสดงในงานบันเทิง โดยให้ นายมนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญนาฏดุริยางค์ไทย กรมศิลปากร และศิลปินแห่งชาติ แต่งทำนองเพลงประกอบการแสดง ตอนเริ่มต้นก่อนร้องบทโต้ตอบและตอนจบ บทร้อง
ผู้แสดงทั้งชายและหญิง มือขวาถือเคียว มือซ้ายกำรวงข้าว ทำท่าตามกระบวนเพลงร้อง เย้าหยอกเกี้ยวพาราสีกัน บทร้องมีอยู่ 11 บท คือ บทมา ไป เดิน รำ ร่อน บิน ยัก ย่อง ย่าง แถ ถอง และเพลงในกระบวนนี้ ผู้เล่นอาจด้นกลอนพลิกแพลงบทร้องสลับปรับกัน ด้วยความสนุกสนาน บางครั้งในการแสดงอาจตัดบทร้องบางบทเพื่อความกระชับ
เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการรำเต้นกำรำเคียว
ใช้วงปี่พาทย์ บรรเลงเพลงนำ และตอนจบ
โอกาสที่ใช้แสดง
นิยมเล่นตามท้องนาในฤดูกาลลงแขกเกี่ยวข้าว ร้องเล่นเพื่อความรื่นเริงสนุกสนาน ผ่อนคลายความเหน็ดเหนื่อย
การแต่งกาย
ชาย นุ่งกางเกงขายาว เสื้อคอกลมผ่าอกแขนสั้นเหนือศอก สีน้ำเงินครามผ้าขาวม้าคาดเอว สวมหามกปีก
หญิง นุ่งผ้าพื้นดำ โจงกระเบน เสื้อคอกลมผ่าอกแขนยาวสีน้ำเงิน หรือต่างสีสวมงอบ
การแสดงชุดนี้ สามารถแสดงได้โดยไม่จำกัดเวลา
บทร้องเต้นกำรำเคียว
ชาย มาเถิดเอย เอยราแม่มา มารำมาแม่มา มาเถิดแม่นุชน้อง พี่จะเป็นฆ้องให้น้องเป็นปี่ ต้อยตะริดติดตอด น้ำแห้งน้ำหยอดที่ตรงลิ้นปี่ มาเถิดนะแม่มามารึมา มาเต้นกำย่ำหญ้า กันในนานี้เอย ( ลูกคู่รับ)
หญิง มาเถิดเอย เอยรา แม่มา มารึมาพ่อมา ฝนกระจายปลายนา แล้วน้องจะมาอย่างไรเอย ( ลูกคู่รับ)
ชาย ไปเถิดเอย เอยรา แม่ไป ไปรึไปแม่ไป ไปชมนกกันที่ในป่า ไปชมพฤกษากันที่ในไพร ไปชมชะนีผีไพร เล่นที่ในดงเอย
หญิง ไปเถิดเอย เอยรา พ่อไป ไปรึไปพ่อไป น้องเดินขยิกจิกไหล่ตามก้นพี่ชาย ไปเอย
ชาย เดินกันเถิดนางเอย เอยรา แม่เดิน เดินรึเดินแม่เดิน ย่างเท้าขึ้นโคก เสียงนกโพระดกมันร้องเกริ่น จะพาหนูน้องไปท้องเนิน ชมเล่นให้เพลินใจเอย
หญิง เดินกันเถิดเอย เอยรา พ่อเดิน เดินรึเดินพ่อเดิน หนทางก็รก ระหกระเหิน แล้วน้องจะเดินอย่างไรเอย
ชาย รำกันเถิดเอย เอยรา แม่รำ รำรึรำแม่รำ ใส่เสื้อเนื้อดี แม่ห่มแต่สีดอกคำ น้อยหรือแน่แม่ช่างรำ แม่เชื้อระบำเก่าเอย
หญิง รำกันเถิดนายเอย เอยรา พ่อรำ รำรึรำพ่อรำ มหาหงส์ลงต่ำ ต่างคนต่างรำไปเอย
ชาย ร่อนกันเถิดนายเอย เอยรา แม่ร่อน ร่อนรึร่อนแม่ร่อน รูปร่างเหมือนนางระบำแม่เอ๋ยช่างรำ แม่คุณช่างร่อน อ้อนแอ้นแขนอ่อน รูปร่างเหมือนมอญรำเอย
หญิง ร่อนกันเถิดเอย เอยราพ่อร่อน ร่อนรึร่อนพ่อร่อน สีนวลอ่อนอ่อน ร่อน แต่ลมบนเอย
ชาย บินกันเถิดเอย เอยรา แม่บิน บินรึบินแม่บิน สองตีนกระทืบดิน ใครเอย จะบินไปได้อย่างเจ้า ใส่งอบขาวขาว รำกำงามเอย
หญิง บินกันเถิดนายเอย เอยรา พ่อบิน บินรึบินพ่อบิน มหาหงส์ทรงศิลป์ บินไปตามลมเอย (หรือไม่มีเหล้าจะให้กิน กลัวจะบินไม่ไหวเอย)
ชาย ยักกันเถิดนางเอย เอยรา แม่ยัก ยักหรือยักแม่ยัก ยักตื้นติดกึก ยักลึกติดกัก หงส์ทองน้องรัก ยักให้หมดวงเอย
หญิง ยักกันเถิดนายเอย เอยรา พ่อยัก ยักหรือยักพ่อยัก อย่าเข้ามาใกล้น้องนัก จะโดนเคียวควักตาเอย
ชาย ย่องกันเถิดนางเอย เอยรา แม่ย่อง ย่องรึย่องแม่ย่อง บุกดงแกรกแกรก สองมือก็แหวกนัยตาก็มอง พบฝูงอีว่อง พวกเราก็ย่องยิงเอย
หญิง ย่องกันเถิดเอย เอยรา พ่อย่อง ย่องรึย่องพ่อย่อง ฝูงละมั่ง กวางทอง ย่องมากินถั่วเอย
ชาย ย่างกันเถิดนางเอย เอยรา แม่ย่าง ย่างรึย่าง เจอะเสือพี่ก็จะยิง เจอกระทิงพี่ก็จะย่าง ไม่ว่าเนื้อเสือเนื้อช้าง ย่างมาฝากน้องเอย
หญิง ย่างกันเถิดเอย เอยราพ่อย่าง ย่างหรือย่างพ่อย่าง ไม่ว่าเนื้อเสือเนื้อช้าง ย่างไปฝากเมียเอย
ชาย แถกันเถิดนางเอย เอยรา แม่แถ แถรึแถ แม่แถ จะลงก็หนองไหน ตัวพี่
จะไปหนองนั้นแน่ นกกระสาปลากระแหแถให้ติดดินเอย
หญิง แถกันเถิดนางเอย เอยราพ่อแถ แถรึแถพ่อแถ นกกระสา ปากระหก แถมาลงหนองเอย
ชาย ถองกันเถิดนางเอย เอยรา แม่ถอง ถองรึถองแม่ถอง ค่อยขยับจับจ้อง ถองให้ถูนางเอย
หญิง ถองกันเถิดนางเอย เอยรา แม่ถอง ถองรึถองพ่อถอง กล้าดีก็เข้ามาลอง จะโดนกระบองตีเอย
การแต่งกาย ผู้แสดงแต่งกายพื้นบ้านภาคกลาง
ชาวนาชาย นุ่งกางเกงขายาว เสื้อคอกลมผ่าอก แขนสั้นเหนือศอก สีน้ำเงินครามผ้าขาวม้าคาดเอว สวมหมวกปีก
ชาวนาหญิง นุ่งผ้าพื้นดำ โจงกระเบน เสื้อคอกลมผ่าอกแขนยาวสีน้ำเงินหรือต่างสี สวมงอบ
ระบำสี่บท
ประวัติที่มา
ระบำสี่บทเป็นระบำที่ยกย่องกันมาแต่โบราณว่า เป็นระบำแบบแผนประกอบด้วยบทร้องและทำนองเพลง
สี่ บท คือ
- พระทอง
- เบ้าหลุด
- สระบุหร่ง
- บลิ่ม
รวมเรียกว่า “ระบำสี่บท” ระบำชุดนี้ยกย่องกันว่าเป็นระบำแบบฉบับ เรียกว่า “ระบำใหญ่” มักจะนำไปประกอบการแสดงโขน เช่น ระบำเทพบุตรนางฟ้าในตอนต้นของชุด “นารายณ์ปราบนนทุก” หรือชุด “เมขลา – รามสูร” หรือในตอนแสดงความยินดีเมื่อผู้ทรงฤทธิ์ได้ปราบอสูรและยักษ์ร้ายพ่ายแพ้ไป
การแต่งกาย จะแต่งกายยืนเครื่องพระ – นาง
ระบำชุดนี้มีท่ารำสวยงามน่าชม แต่เดิมบทร้องและทำนองเพลงนั้นค่อนข้างยืดยาว และกินเวลาแสดงนานมาก มาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์จึงได้ตัดตอนบทร้องให้สันเข้า ตามบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ดังต่อไปนี้
เพลงพระทอง
เมื่อนั้น ฝ่ายฝูงเทวาทุกราศี
ทั้งเทพธิดานารี สุขเกษมเปรมปรีดิ์เป็นสุดคิด
เทพบุตรจับระบำทำท่า นางฟ้ารำฟ้อนอ่อนจริต
รำเรียงเคียงเข้าไปให้ชิด ทอดสนิทติดพันกัลยา
แล้วตีวงเวียนเปลี่ยนซ้าย ไล่ตีวงเวียนเปลี่ยนขวา
ตลบหลังลดเลี้ยวลงมา เทวัญกัลยาสำราญใจ
เพลงเบ้าหลุด
เมื่อนั้น นางเทพอัปสรศรีใส
รำล่อเทวาสุภาลัย ท่วงทีหนีไล่พอได้กัน
เทพบุตรฉุดฉวยชายสไบ นางปัดกรค้อนให้แล้วผินผัน
หลีกหลบลดเลี้ยวเกี่ยวพัน เหียนหันมาขวาทำท่าทาง
ครั้นเทพเทวัณกระชั้นไล่ นางชม้อยถอยไปเสียให้ห่าง
เวียนระวันหันวงอยู่ตรงกลาง ฝูงนางนารีก็ปรีดา
เพลงสระบุหร่ง
เมื่อนั้น ฝ่ายฝูงเทพไทถ้วนหน้า
รำเรียงเคียงคั่นกัลยา เลี้ยวไล่ไขว่คว้าเป็นแยบคาย
เทพบุตรหยุดยืนจับระบำ นางฟ้าฟ้อนรำทำฉุยฉาย
ทอดกรอ่อนระทวยกรีดกราย เทพไททั้งหลายก็เปรมปรีดิ์
เพลงบลิ่ม
เมื่อนั้น นางฟ้าธิดามารศรี
กรายกรอ่อนระทวยทั้งอินทรีย์ ดั่งกินรีรำฟ้อนร่อนรา
แล้วตีวงลดเลี้ยวเกี่ยวกล ประสานแทรกสันสนซ้ายขวา
ทอดกรงอนงามกิริยา เทวาปฎิพันธ์ก็เปรมปรีดิ์
ปี่พาทย์ทำเพลงช้า – เร็ว , ลา
ระบำย่องหงิด
ประวัติที่มา
เป็นระบำชุดหนึ่งซึ่งแทรกอยู่ในละครเรื่อง “อุณรุท” ตอน “ศุภลักษณ์วาดรูป” ระบำชุดนี้สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ เข้าใจว่าแต่เดิมมีเพียงบทร้อง เพลงยู่หงิด แล้วจบด้วยเพลงเร็ว – ลา ต่อมาได้มีการปรับปรุงระบำชุดนี้ขึ้นใหม่ ในสมัยรัชกาลที่ 2 โดยกรมพิทักษ์มนตรี (พระองค์ทรงเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญ มีความรู้ทางด้านนาฏศิลป์อย่างสูง สามารถในการประดิษฐ์ท่ารำได้อย่างงดงาม)
ในการโกนจุกหม่อมหลวงวงศ์ กุญชร บุตรสาวเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ได้ทรงนิพนธ์บทละครเรื่อง “อุณรุท” ตอน “อุ้มสมนางอุษา” เพื่อจัดแสดงในงานครั้งนี้ พระองค์ได้นำเอาระบำชุดนี้มาปรับปรุงเพลง บทร้องและท่ารำขึ้นใหม่
ปัจจุบันระบำย่องหงิดเป็นระบำชุดเบ็ดเตล็ดแบบมาตรฐาน มีท่ารำงดงาม นิยมนำมาแสดงในงานรื่นเริงต่างๆ (บางครั้งเรียกชื่อเรียกอย่างว่า “ยู่หงิด” ตามชื่อเพลงที่ร้อง)
การแต่งกาย ยืนเครื่องพระ – นาง
บทร้องเพลงย่องหงิด
เมื่อนั้น ฝ่ายฝูงเทพไทถ้วนหน้า
ขยับย่างนวยนาฏเข้ามา ใกล้ฝูงนางฟ้ายุพาพาล
แล้วซัดสองกรอ่อนชด ทำท่าพระรถโยนสาร
เรียงรอคลอเคล้าเยาวมาลย์ ประโลมลานทอดสนิทไปในที
นางสวรรค์กันกรป้องปัด บิดสบัดเบี่ยงบ่ายชายหนี
เทพบุตรทำท่าม้าตีคลี ท่วงทีเวียนตามอันดับกัน
หน้าพาทย์และเพลงร้อง ปี่พาทย์ทำเพลงรัว ร้องเพลงยู่หงิดคลอปี่พาทย์ จบแล้วทำเพลงแขกตาเขิ่ง และแขกเจ้าเซ็นตามอันดับ (บทร้องจากหนังสือ “ประชุมบทละครดึกดำบรรพ์” ในงานโกนจุก ม.ล. วงศ์ กุญชร )
ระบำนันทอุทยาน
ประวัติที่มา
เป็นระบำที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ในรัชกาลที่ 9 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยอาจารย์มนตรี ตราโมท ได้ประพันธ์บทร้องของเพลงชุดนี้ เพื่อประกอบการแสดงละครดึกดำบรรพ์ เรื่อง “อุณรุท” ตอน “กรุงพานชมทวีป” ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ที่ได้เคยจัดแสดง ณ โรงละครดึกดำบรรพ์ (วังบ้านหม้อของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์) ในตอนปลายสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งแต่เดิมจัดเป็นระบำเทวดา – นางฟ้า ใช้เพลงหน้าพาทย์ประกอบการรำ ไม่มีบทร้อง ครั้นต่อมาในรัชกาลที่ 9 เมื่อปีพ.ศ. 2490 กรมศิลปากรได้จัดแสดงละครตอนนี้ให้ประชาชนชม ณ โรงละครศิลปากร ในบริเวณพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ จึงได้มีการปรับปรุงการแสดง โดยเพิ่มชุดระบำนันทอุทยานนี้ แทนระบำเทวดา นางฟ้าชุดเดิม
ระบำชุดนี้ถือว่าเป็นระบำมาตรฐานชุดหนึ่ง ในรูปแบบของระบำสมัยในกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้แสดงแต่งกายยืนเครื่องพระ – นาง ปัจจุบันระบำชุดนี้ไม่ค่อยแพร่หลายนัก ทั้งนี้เพราะว่า บทร้องมีความหมายเฉพาะตัว ไม่เหมาะที่จะนำไปแสดง ณ โอกาสอื่น วิทยาลัยนาฏศิลปเห็นความสำคัญว่า เป็นระบำมาตรฐานที่มีแบบเฉพาะตัว และได้ปรับปรุงขึ้นใหม่ สมควรที่จะสืบทอดอนุรักษ์ จึงบรรจุไว้ในหลักสูตรเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ ลักษณะเฉพาะของระบำชุดนี้คือ บทร้องบทแรกของเพลงชมตลาด ท่ารำจะตีบทและความหยามตามบทร้อง สำหรับร้องเพลงต้นวรเชษฐ์ของเก่านั้นเข้าใจว่า หม่อมเข็ม กุญชร (หม่อมของเจ้าพระยาเทเวศร์ฯ) เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำของระบำนันทอุทยานชุดนี้ ส่วนท่ารำเพลงชมตลาดประดิษฐ์โดย หม่อมครูต่วน (ศุภลักษณ์) ภัทรนาวิก คุณครูลมุล ยมะคุปต์ คุณครูมัลลี (ครูหมัน) คงประภัศร์
เพลงชมตลาด
แดนเกษมเปรมใจใดจะทัน นันทวันของเราชาวแมนสรวง
สารพัดงามสะพรั่งไปทั้งปวง แลละล่วงละลานพิศติดหทัย
มีสระแก้วแวววาววะวาววับ แลระยับรุ้งปรั่งรังสีใส
อุบลบานตระการล้ำผ่องอำไพ ชูไสวแข่งฉวีนิรมล
เพลงต้นวรเชษฐ์
ที่แถวทางหว่างวิถีมณีลาด งามโอภาสผ่องแผ้วแนวสถล
พุ่มไม้ดอกออกอร่ามงามพึงยล ต่างต่อต้นต่างสลับสีสรรพกัน
มีน้ำพุพุ่งซ่าธาราไหล แลวิไลวิลาศล้วนสวนสวรรค์
สำหรับองค์อัมรินทร์ปิ่นเทวัญ ซึ่งรังสรรค์สร้างสมอบรมมา
-ออกเพลงวรเชษฐ์ เร็ว-ลา-
เพลงเชิดฉิ่ง – เชิดจีน
ประวัติที่มา
ระบำเชิดจีนเป็นระบำที่ปรมาจารย์ทางนาฎศิลป์ได้ประดิษฐ์ ขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เพลงที่ใช้ประกอบการรำคือ เพลงหน้าพาทย์ เชิดจีน ซึ่งเป็นเพลงที่ใช้ประกอบการแสดงโขนละครมาแต่โบราณและเพลงเชิดจีนตัวที่สามซึ่งหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ครูมีแขก) ได้แต่งขึ้นไว้สำหรับการบรรเลงของวงปี่พาทย์ ถวายพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงพอพระราชหฤทัยและโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานเลื่อนยศเป็นพระประดิษฐไพเราะ
เพลงเชิดจีนทางดนตรีที่พระประดิษฐไพเราะแต่งขึ้นนี้ ต่อมาปรมาจารย์ทางนาฏศิลป์ได้นำเอาทำนองเพลงท่อนที่ 3 ซึ่งเรียกว่า เชิดจีนตัวที่ 3 มาประดิษฐ์ท่ารำประกอบทำนองเพลงให้ต่อเนื่องกับเพลงเชิดฉิ่ง จัดแสดงเป็นระบำชุดเบ็ดเตล็ด ผู้แสดงเป็นตัวนางล้วนแต่งกายนุ่งผ้ายกจีบหน้านาง ห่มสไบตาด สวมกระบังหน้า แสดงครั้งแรกในงานฉลองรัฐธรรมนูฐ ปี พ.ศ. 2479
ผู้ประดิษฐ์ท่ารำระบำเชิดจีน คือ หม่อมครูต่วน (ศุภลักษณ์) ภัทรนาวิก คุณครูลมุล ยมะคุปต์ ต่อมาคุณครูทั้ง 2 ท่าน ได้ปรับปรุงรูปแบบการแสดงชุดนี้ แตกต่างจากที่ประดิษฐ์ในครั้งแรก กล่าวคือ
1. ให้ผู้แสดงแต่งกายยืนเครื่องพระ – นาง
2. เพิ่มเติมท่ารำในเพลงเชิดฉิ่ง
3. จัดรูปแบบในการแปรแถวใหม่
แล้วเรียกชื่อระบำชุดปรับปรุงนี้ว่า “ระบำเชิดจีน (พระ – นาง )” จัดแสดงในงานรับรองแขก ผู้มีเกียรติของรัฐบาลสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม และงานรื่นเริงของหน่วยราชการและเอกชน นับเป็นระบำไทยมาตรฐานที่มีลีลาท่ารำประณีตงดงามและท่วงทำนองก็ไพเราะสอดคล้องสัมพันธ์กับท่ารำอย่างสวยงามชุดหนึ่ง
ระบำเชิดจีนนี้ เป็นการแสดงระบำที่รำเข้ากับทำนองเพลงไม่มีบทร้อง
รำซัดชาตรี
ประวัติที่มา
เป็นการรำที่ปรับปรุงมาจากการรำซัดไหว้ครู ของละครโนรา – ชาตรี ซึ่งเป็นละครรำที่เก่าแก่ของไทย การรำซัดนี้เติมตัวนายโรง จะเป็นผู้รำไหว้ครูเบิกโรงเสียก่อน ต่อมากรมศิลปากรได้นำมาดัดแปลงให้มีผู้รำทั้งชายหญิง เพื่อให้น่าดูยิ่งขึ้น แต่ก็ยังคงรักษาจังหวะอันเร่าร้อนของเดิมไว้ ซึ่งเป็นที่นิยมกัน ต่อมา ผู้ประดิษฐ์ท่ารำคือ คุณครูมัลลี (ครูหมัน) คงประภัศร์ และคุณครูลมุล ยมะคุปต์
ฉุยฉายเบญจกายแปลง
ประวัติที่มา
การแสดงชุดฉุยฉายเบญจกายแปลงนี้ อยู่ในละครเรื่อง “รามเกียรติ์” ตอน “นางลอย” เนื้อเรื่องย่อมีดังนี้
เบญจกายเป็นลูกสาวของพิเภกและนางตรีชฎา เป็นหลานของทศกัณฐ์ พระยายักษ์เป็นเจ้ากรุงลงกา ซึ่งขณะนั้นทศกัณฐ์ทราบข่าวศึกที่พระรามยกทัพมาทำศึก ชิงเอานางสีดาคืนไป ทศกัณฐ์จึงคิดกลอุบายให้นางเบญจกายแปลงตัวเป็นสีดา ทำเป็นตายลอยน้ำมายังพลับพลาของพระราม เพื่อให้พระรามเข้าใจผิดว่านางสีดาตายแล้ว จะได้ยกทัพกลับไป ฉะนั้นบทฉุยฉายเบญจกายแปลงถูกประพันธ์ขึ้นเพื่อให้นางเบญจกายแปลงองค์เป็นสีดา เมื่อแปลงเสร็จแล้วก็ขึ้นไปเฝ้าทศกัณฐ์เพื่อให้สำรวจว่าเหมือนนางสีดาหรือไม่อย่างไร บทร้องฉุยฉายเบญจกายแปลงนี้ เป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์
การแต่งกาย ยืนเครื่องนาง
โอกาสที่แสดง งานทั่วไป
จำนวนผู้แสดง แสดงเดียว
บทร้องฉุยฉายเบญจกายแปลง
ฉุยฉายเอย จะขึ้นไปเฝ้าเจ้าก็กรีดกราย
เยื้องย่างเจ้าช่างแปลงกาย ให้ละเมียดละม้ายสีดานงลักษณ์
ถึงพระรามเห็นทรามวัย จะฉงนพระทัยให้อะเลื่ออะหลัก
งามนักเอย ใครเห็นพิมพักตร์ก็จะรักจะใคร่
หลับก็จะฝันครั้นตื่นก็จะคิด อยากจะเห็นอีกสักนิดให้ชื่นใจ
งามคมดุจคมศรชัย ถูกอกทะลุในให้เจ็บอุรา
แม่ศรี
แม่ศรีเอย แม่ศรีรากษสี
แม่แปลงอินทรีย์ เป็นแม่ศรีสีดา
ทศพักตร์มาลักเห็น จะตื่นเต้นในวิญญาณ
เหมือนล้อเล่นให้เป็นบ้า ระอาเจ้าแม่ศรีเอย
อรชรเอย อรชรอ้อนแอ้น
เอวขาแขนแมน แม้นเหมือนกินรี
ระทวยนวยนาฎ วิลาศจรลี
ขึ้นปราสาทมณี เฝ้าพระปิตุลาเอย
เพลงเร็ว – ลา
ฉุยฉายพราหมณ์
ประวัติที่มา
ฉุยฉายพราหมณ์ เป็นตอนหนึ่งในบทละครเบิกโรง เรื่อง พระคเณศเสียงา พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นมาจากตำนานทางเทพเจ้า
เรื่องย่อ
หลังจากที่รามปรศุถูกพระอุมาสาปให้แข็งเป็นหิน ด้วยเหตุที่ขว้างขวานไปโดนงาของพระคเณศหัก บรรดาพราหมณ์ทั้งหลายก่อบังเกิดความเดือดร้อน เพราะรามปรศุนั้นเป็นหัวหน้าแห่งพราหมณ์ ก็พากันขึ้นเฝ้าพระนารายณ์ให้ทรงแก้ไข พระนารายณ์จึงแปลงกายเป็นพราหมณ์น้อยไปร่ายรำต่อหน้าพระอิศวรและพระอุมา พระอุมาบังเกิดความรักใคร่เอ็นดูจึงให้พราหมณ์น้อยขอพรได้ 1 อย่าง พราหมณ์น้อยจึงขอพรให้รามปรศุฟื้นขึ้นจากการถูกสาป พระอุมาจำต้องทอนคำสาป รามปรศุฟื้นขึ้นจากการถูกสาป ด้วยความปิติยินดีของพราหมณ์ทั้งหลาย
เนื้อความในบทของฉุยฉายพราหมณ์นั้น ได้กล่าวถึงความงดงามของผู้รำตลอดจนท่าทีการร่ายรำไปตามบท การรำได้พรรณนาชมความงามของเนตรและความงามของหัตถ์ ตลอดจนความน่ารักของผู้ไร้เดียงสา ดังบทร้องต่อไปนี้
บทร้องฉุยฉายพราหมณ์
ฉุยฉายเอย ช่างงามขำช่างรำโยกย้าย
สะเอวแสนอ่อนอรชรช่วงกาย วิจิตรยิ่งลายที่คนประดิษฐ์
สองเนตรคมขำแสนดำมันขลับ ชม้อยเนตรจับยิ่งสวยสุดพิศ
สุดสวยเอย ยิ่งพิศยิ่งเพลินเชิญให้งงงวย
งามหัตถ์งามก็อ่อนระทวย ช่างนาฎช่างนวยสวยยั่วนัยนา
ทั้งหัตถ์ทั้งกรก็ฟ้อนถูกแบบ ดูยลดูแยบสวยยิ่งเทวา
แม่ศรี
น่าชมเอย น่าชมเจ้าพราหมณ์
ดูทั่วตัวงาม ไม่ทรามเลยจนนิด
ดูผุดดูผ่อง เหมือนทองทาติด
ยิ่งเพ่งยิ่งพิศ ยิ่งคิดชมเอย
น่ารักเอย น่ารักดรุณ
เหมือนแรกจะรุ่น จะรู้เดียงสา
เจ้ายิ้มเจ้าแย้ม แก้มเหมือนมาลา
จ่อจิตติดตา เสียจริงเจ้าเอย
เพลงเร็ว – ลา
เพลงเชิดฉิ่ง , ศุภลักษณ์
การรำเชิดฉิ่งศุภลักษณ์เป็นการร่ายรำของนางศุภลักษณ์ ซึ่งเป็นตัวละครสำคัญตัวหนึ่งในเรื่อง “อุณรุท” ตอน “ศุภลักษณ์วาดรูป” ที่ใช้สำหรับการแสดงละครในบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โดยทรงนำเค้าเรื่องมาจากมหากาพย์ภารตะและคัมภีร์ปุราณะ อันแสดงถึงอภินิหารของพระนารายณ์ ปางกฤษณะอวตาร
นางศุภลักษณ์เป็นพี่เลี้ยงของนางอุษา รับอาสาในการติดตามพระอุณรุทมาให้นางอุษา ในการเดินทาง เนื่องจากนางศุภลักษณ์เป็นยักษ์มีอิทธิฤทธิ์ จึงสามารถเหาะเหินเดินอากาศเพื่อไปวาดรูปเหล่าเทวดาบนทรวงสวรรค์ โดยใช้เพลงเชิดฉิ่งประกอบลีลาท่ารำ ไม่มีบทร้องและในการรำเชิดฉิ่งศุภลักษณ์จะมีลักษณะพิเศษ เรียกว่า “ตื่นกลอง” โดยสังเกตจากเสียงกลอง รัวถี่ๆ แทรกอยู้ในการบรรเลง ผู้ถ่ายทอดท่ารำชุดนี้คือ อาจารย์เฉลย ศุขะวนิช เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์ไทย ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากหม่อมครูนุ่ม เมื่อครั้งศึกษาอยู่ ณ วังสวนกุหลาบ
การแต่งกาย ยืนเครื่องนางแต่ห่มผ้า 2 ชาย และใส่รัดเกล้าเปรว
โอกาสที่แสดง ใช้ประกอบการแสดงเรื่อง “อุณรุท” ตอน “ศุภลักษณ์วาดรูป” หรือ การแสดงเบ็ดเตล็ดตามความเหมาะสม
ระบำโบราณคดี
การแสดงชุดนี้ เกิดจากแนวคิดของนายธนิต อยู่โพธิ์ อดีตอธิบดีกรมศิลปากรที่นำวัตถุประสงค์จูงใจให้ผู้ดูผู้ชมสืบสานความรู้จากโบราณวัตถุสถานให้แพร่หลาย โดยอาศัยการปั่น หล่อ จำหลักของศิลปโบราณวัตถุสมัยต่าง ได้แก่
1. สมัยทวารวดี
2. สมัยเชียงแสน
3. สมัยศรีวิชัย
4. สมัยสุโขทัย
5. สมัยลพบุรี
มาเป็นหลักในการวางแนวสร้างระบำประจำสมัยของศิลปโบราณวัตถุแต่ละชุดขึ้น ซึ่งมีทั้งหมด 5 ชุด คือ
ระบำทวารวดี ระบำเชียงแสน ระบำศรีวิชัย ระบำสุโขทัย ระบำลพบุรี รวมเรียกกันเป็นที่รู้จักกันว่า “ระบำชุดโบราณคดี” โดยมีนายธนิต อยู่โพธิ์ เป็นผู้ประดิษฐ์สร้าง นายมนตรี ตราโมท เป็นผู้สร้างเพลงดนตรี คุณหญิงแพร้ว สนิทวงเสนี นางลมุล ยะมคุปต์ นางศุขวนิต ใช้ท่ารำและฝึกซ้อม นายสนิท ดิษฐ์พันธ์ ออกแบบเครื่องแต่งกาย ระบำชุดนี้ได้จัดแสดงถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมราชินีนาถทอดพระเนตรเป็นครั้งแรก ในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารใหม่ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2510
ระบำทวารวดี ระบำชุดนี้ สร้างขึ้นจากการสอบสวน ค้นคว้าและประดิษฐ์ท่ารำ เครื่องดนตรี เครื่องแต่งกาย จากภาพปั้น และภาพจำหลักที่ถูกค้นพบ ณ โบราณสถานสมัยทวารดี เช่น ครูบัว อู่ทอง นครปฐม ฯลฯ นักปราชญ์ในทางโบราณคดี ร่วมกันวินิจฉัยตามหลักฐานว่า ประชาชนชาวทวารวดีเป็นมอญคือ เป็นเผ่าชนที่พูดภาษามอญ ดังนั้นดนตรีและท่ารำในระบำชุดนี้ จึงมีสำเนียงและลีลาเป็นแบบมอญ เครื่องดนตรีประกอบด้วย พิณ 3 สาย จะเข้ ขลุ่ย ระนาดตัด ตะโพน มอญ ฉิ่ง ฉาบและกรับ ผู้ประดิษฐ์ท่ารำคือ นางลมุล ยะมคุปต์ นางเฉลย ศุขะ
วนิช ได้จัดแสดงให้ประชาชนชมครั้งแรก ณ สังคีตศาลา งานดนตรีมหกรรมประจำปี เมื่อวันที 12 มกราคม 2510
ระบำเชียงแสน สร้างขึ้นตามศิลปะโบราณวัตถุสถาน สมัยเชียงแสน ซึ่งมีเมืองหลวงชื่อนั้นตั้งอยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงทางตอนเหนือของประเทศไทยในท้องที่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ศิลปะแบบเชียงแสนได้แพ่หลายไปทั่วดินแดนนภาคเหนือของไทยซึ่งในสมัยโบราณเรียกว่า อาณาจักรล้านนา โดยมีนครเชียงใหม่เป็นเมืองหลวง ต่อมาศิลปะแบบเชียงแสนได้แพร่หลายลงมาตามลุ่มแม่น้ำโขงเข้าไปในพระราชอาณาจักรลาวที่เรียกว่า ล้านช้างหรือกรุงศรีสัตนาคนหุต ดังนั้นท่ารำและดนตรี ตลอดจนเครื่องแต่งกายจึงมีลักษณะและลีลา แบบภาคเหนือของไทยและภาคตะวันออกเฉียวเหนือละคนกัน ครูผู้ประดิษฐ์ท่ารำคือนางลมุล ยะมคุปต์ นางเฉลย ศุขะวนิช เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงได้แก่ แคน ปี่จุ่ม สะล้อ ซึง ตะโพน ฉิ่ง ฉาบ และฆ้องหุ่ย
เพลงศรีวิชัย
ประวัติความเป็นมา
เมื่อ พ.ศ.2509 ท่านตนกู อับดุล รามานห์ นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ได้ติดต่อขอนาฏศิลป์ไทยไปถ่ายทำประกอบภาพยนตร์ เรื่อง Raja Bersiong ที่ท่านแต่งขึ้น ทางกรมศิลปากรโดย นายธนิต อยู่โพธิ์ อธิบดีกรมศิลปากรขณะนั้น ได้ร่วมกับนักวิชกาการทำการศึกษาค้นคว้าหลักฐาน และได้ลงความเห็นว่า อาณาจักรศรีวิชัยมีความเจริญรุ่งเรืองในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 15 – 18 โดยมีศูนย์กลางอยู่ทางตะวันออกของเกาะสุมาตรา ไปจนถึงตะวันตกของชวา ตลอดจนแหลมมลายู แล้วเลยเข้ามาทางตอนใต้ของไทยจนถึงบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี
จากหลักฐานทางศิลปด้านโบราณวัตถุ สมัยศรีวิชัยที่ปรากฎอยู่ในประเทศไทยประกอบกับภาพจำหลักของพระสถูป บุโรพุทโธ ในชวา จึงได้จำลองภาพการแต่งกาย รวมทั้งเครื่องดนตรี มารวมเป็นศิลปะลีลานาฏศิลป์ไทยผสมกับนาฏศิลป์ชวา แล้วเรียกระบำชุดนี้ว่า “ ระบำศรีวิชัย “ ผู้ที่คิดประดิษฐ์ท่ารำชุดนี้คือ คุณครูลมุล ยมะคุปต์ และคุณครูเฉลย ศุขวณิช ผู้ประพันธ์ทำนองดนตรีคือ อาจารย์มนตรี ตราโมท ผู้ประดิษฐ์เครื่องแต่งกายคือ อาจารย์สนิท ดิษฐพันธุ์
ระบำชุดนี้ แสดงครั้งแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธุ์ พ.ศ.2510 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์และประเทศสิงคโปร์ ต่อมาจึงนำมาแสดงในประเทศไทย จนทุกวันนี้
เครื่องแต่งกาย
การแต่งกายและเครื่องประดับของระบำโบราณคดีชุดศรีวิชัยนี้ ได้แนวคิดมาจากภาพจำหลีกของภาพปั้น ณ สถูปบุโรพุทโธ ในชวา ดังนี้
1. เสื้อในนาง ไม่มีแขน
2. ผ้านุ่ง เป็นผ้าโสร่ง บาติค จีบหน้านาง
3. ผ้าคาดรอบสะโพก ปล่อยชายห้อยทางซ้ายมือ
4. ผ้าสไบ มีแผ่นโค้งเหนือไหล่ ( สพักไหล่ ) ติดสร้อยตัว 2 เส้น
5. เครื่องประดับมี สร้อยคอ ต่างหู กำไลมือ กำไลเท้า กำไลต้นแขน เข็มขัด มีโบว์เส้นเล็กสอดใต้เข็มขัด 2 เส้น
6. ปมเกล้ามวยตึงไว้ที่ท้ายทอย สวมเกี้ยวรอบมวย ปักปิ่น
7. สวมกระบังหน้า
เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงชุดนี้ ได้แก่
1. กระจับปี่
2. ฆ้อง 3 ลูก แบบฆ้องโนห์รา
3. ตะโพน
4. กลองแขก
5. ขลุ่ย
6. ซอสามสาย
7. ฉิ่ง
8. ฉาบ
9. กรับ
นาฏยศัพท์ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ
นาฏศัพท์ทั่วไป ได้แก่
1. จีบ
2. จรดเท้า
3. ย่ำเท้า
4. ลักคอ
5. ขยับเท้า หรือเขยิบเท้า
6. เคลื่อนเท้า
นาฏยศัพท์เฉพาะ ได้แก่
1. จีบล่อแก้ว
2. วง( ศรีวิชัย )
3. ยักไหล่ หรือกระทายไหล่
ระบำสุโขทัย สร้างขึ้นในตามสมัยโบราณวัตถุสถาน สมัยสุโขทัย ซึ่งมีพระพุทธรูปปูนปั่นและหล่อสัมฤทธิ์ โดยเฉพาะพระพุทธรูปปางลีลา แช่มช้อยงดงามได้รับยกย่องว่า เป็นแบบอย่างศิลปกรรมที่งดงามอย่างยิ่ง แสดงว่าประชาชนชาวสุโขทัยมีความเจริญอย่างยิ่ง ในเชิงศิลปวัฒนธรรม เศรษฐกิจและสังคม ท่ารำและการแต่งกายสร้างขึ้นตามความรู้สึกและแนวสำเนียง ถ้อยคำในศิลาจารึก ประกอบลีลาภาพปิ่นหล่อในสมัยนั้นได้แก่ ปี่ใน ฆ้องวง ซอด้วง ซอสามสาย กระจับปี่ ตะโพน ฉิ่ง โหม่งและกรับ
ระบำลพบุรี ระบำชุดนี้สร้างขึ้นจากหลักฐานทางโบราณวัตถุและโบราณสถาน สมัยที่สร้างขึ้งตามศิลปะแบบขอม เช่น พระปรางค์สามยอด ที่จังหวัดลพบุรี ปราสาทหินพิมาย ที่จังหวัดนครราชสีมา ปราสาทหินพนมรุ่ง ที่จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นต้น นักปราชญ์โบราณคดีกำหนด เรียกว่า ศิลปะลพบุรี ด้วยเหตุนี้เองทำนองเพลงของระบำชุดนี้ จึงมีสำเนียงเป็นเขมร เครื่องแต่งกายและลีลาท่ารำ ประดิษฐ์จากรูปหล่อโลหะ ศิลปะสมัยลพบุรี ผู้ประดิษฐ์ท่ารำคือ นางลมุล ยะมคุปต์ นางเฉลย ศุขะวนิช เครื่องดนตรีที่ใช้ในระบำชุดนี้คือ ซอสามสาย พิณน้ำเต้า ปี่ใน โทน กระจับปี่ ฉิ่ง ฉาบและกรับ
ระบำมยุราภิรมย์
ประวัติที่มา
ระบำมยุราภิรมย์ชุดนี้ เป็นระบำที่กรมศิลปากรรับมอบหมายให้นายมนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญด้านดุริยางค์ไทย กรมศิลปากรและศิลปินแห่งชาติ แต่งทำนองเพลงเพื่อประกอบท่าร่ายรำหมู่นกยูงในการแสดงละครเรื่อง “อิเหนา” ตอน “สียะตราพบนางเกนหลง” และตั้งชื่อเพลงนี้ว่า “เพลงมยุราภิรมย์” จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์ นายกรัฐมนตรี ได้จัดแสดงในโอกาสรับรองประธารนาธิปบดีซูการ์โน แห่งสาธารรัฐอินโดนิเซีย ราชอาคันตุกะ ณ หอประชุมกระทรวงวัฒนธรรม สนามเสือป่า เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2505
ผู้ประดิษฐ์ท่ารำคือ นางลมุล ยะมคุปต์ ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ วิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร
ดนตรี วงปี่พาทย์ไม้นวม เครื่องห้าหรือเครื่องคู่หรือเครื่องใหญ่ ทำนองเพลง มยุราภิรมย์ เป็นเพลงประเภทอัตราสองชั้นและชั้นเดียว ใช้กลองแขกตีหน้าทับลาง ไม่มีบทร้อง
การแต่งกาย แบบเบ็ดเตล็ด เสื้อกางเกงคนละท่อนสีเขียว ปีก หาง เล็บ หัวนกยูง เปิดหน้า
ลักษณะท่ารำ ท่ากรีดร่ายของนกยูง ผสมผสานกับลีลาท่ารำ พร้อมกับการแปรแถวรูปแบบต่างๆ
ฟ้อนพม่าเปิงมาง
ประวัติที่มา
ฟ้อนพม่าเปิงมางนี้ ได้นำมาจากการแสดงระบำกลอง ซึ่งจัดแสดงขึ้น ณ โรงละครแห่งชาติ เปิงมางนี้เป็นกลองของพม่าซึ่งการแสดงชุดนี้จะเป็นทำนองเสียส่วนมาก ผู้ประดิษฐ์ท่ารำคือนางลมุล ยะมคุปต์ นางเฉลย ศุขะ
วนิช ได้นำท่ารำนี้มาถ่ายทอดให้กับนักเรียนสาขานาฏศิลปละคร นำออกแสดง
เซิ้งสัมพันธ์
เซิ้ง เป็นการละเล่นพื้นเมืองของชาวไทยที่อยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการละเล่นได้แก่ แคน กร๊อบแกร๊บ โหม่ง กลองเตะและกลองยาว ลีลาของการเซิ้งจะมีความกระฉับกระเฉงแคล้วคล่องว่องไว ทั้งนี้เพื่อความสนุกสนาน กระบวนการเล่นเซิ้งนี้ส่วนใหญ่จะนำเอาอาชีพหลักมาประกอบด้วยเช่น นำอาชีพตกปลาโดยใช้สวิงมาประดิษฐ์เป็นลีลาการเล่นเซิ้งสวิง นำเอากัปกริยาที่ผู้หญิงชาวบ้านเอาอาหารใส่กระติบข้าว ไปส่งข้าวให้สามีหรือญาติพี่น้องที่อยู่กลางไร่นา มาเป็นลีลาท่าเซิ้งกระติบข้าว สำหรับเซิ้งชุดนี้อาจารย์ปฐมรัตน์ ถิ่นธรณี เป็นผู้คิดลีลากระบวนจังหวะกลอง คุณครูลมุล ยะมคุปต์และคุณครูเฉลย ศุขะวณิชเป็นผู้ปรับปรุงลีลาท่ารำ
ระบำนพรัตน์
ในการแสดงเรื่อง สุวรรณหงส์ ตอน พราหมณ์เล็กพราหมณ์โตของกรมศิลปากร มีเนื้อร้องตอนหนึ่งว่า พระสุวรรณหงส์พาพราหมณ์เล็ก (พระเกศสุริยงแปลง) ไปชมถ้ำแก้ว เพื่อจะจับพิรุณว่าเป็นหญิงหรือชาย ในการแสดงตอนนี้ มีความประสงค์ให้หมู่แก้วนวรัฐออกมาจับระบำเป็นบุคลาธิษฐานขึ้น เพื่อถวายความสวยงามและประโยชน์ของเพชรแต่ละอย่างออกมาเด่นชัด ด้วยท่าระบำรำร้องและทำนองเพลง ทั้งนี้โดยมอบให้อาจารย์มนตรี ตราโมท ประพันธ์บทร้องขึ้นใหม่พร้อมกับหาทำนองเพลง อาจารย์มนตรี ตราโมทได้นำเอาทำนองเพลงสุรินทราหูและเพลงเร็วเก่า นำมาดัดแปลงประกอบการแสดงชุดนี้และนำออกมาแสดงครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2492 ณ โรงละครศิลปากร ปรากฏว่าได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก
ระบำนพรัตน์เป็นการบรรยายและแสดงให้เห็นถึงคุณประโยชน์ของอัญมณีแต่ละชนิด ซึ่งมีความแตกต่างกันไป จัดว่าเป็นระบำที่สวยงามมากชุดหนึ่ง นิยมนำมาแสดงในงานมงคล
การแต่งกาย แต่งตามสีของอัญมณีแต่ละชนิด พร้อมทั้งเครื่องประดับสีเดียวกัน
บทร้องระบำนพรัตน์
รัตนาคูหากายสิทธิ์ ล้วนวิจิตรเนาวรัตน์จรัสฉาย
แสงมณีสีวาวอร่ามพราย เป็นเลื่อมลายแลสลับระยับตา
อันเพชรดีสีขาวรุ้งพราวเพริศ สุดประเสริฐแสงสีวิเลขา
ใครประดับเพชรดีมีราคา เรื่องเดชานุภาพด้วยดวงมณี
ทับทิมแท้แลดูแดงอร่าม แสงวาววามแจ่มจรัสรัศมี
กำจัดปวงโรคาพยาธิ พูนทวีสินทรัพย์นับอนันต์
มรกตสุดขจีสีเขียวขำ แสนงามล้ำเลอเลิศประเสริฐสรรพ์
ประดับกันเขี้ยวงาสารพัน คุ้มภยันตราล้วนมวลพารา
อันมณีสีเหลืองเรืองวิรุจน์ นี่คือบุษราคัมเลิศล้ำค่า
เป็นอาภาณ์พูนสวัสดิ์วัฒนา ชนม์พรรษายืนดำรงคงนิรันดร์
แก้วโกเมนแดงก่ำน้ำใสสด แสงงามงดรูจีแสงสีสรรพ์
ผู้ประดับรับเคารพอภิวันท์ ประชานันต์นับถือเลื่องลือนาม
นิลกาฬน้ำเงินก่ำล้ำหมอกเมฆ รุจิเรขรุ่งโรจน์โชติอร่าม
อำนวยสรรพ์สุขารมณ์อภิธาน สิ่งดีงามหลามหลั่งสะพรั่งมา
สีขาวหม่นหมอกมัวสลัวแสง บอกแสดงมุกดาหารตระการสง่า
ดลขจัดสัตว์ร้ายพ่ายเดชา อสรพิษนานาล่าหลีกไกล
แก้วเพทายพรายแสงสีแดงระเรื่อ พรรณอะเคื้อลายองผุดผ่องใส
นำศิริมงคลดลโชคชัย กำจัดภัยผองอุบาทว์ให้คลาดคลา
แก้วไพฑูรย์ชุ่นฉวีสีไม้ไผ่ สังวาลย์ไหมสาแหรกผ่านประสานสายบันดาลชัยชนะหมู่ศัตรูร้าย แผ่กำจายเสน่ห์ติดจับจิตเอย
เพลงสุรินทราหู
สีขาวผ่องเพชรดี ทับทิมสีมณีแดง
เขียวใสแสงมรกต เหลืองใสสดบุษราคัม
แดงแก่ก่ำโกเมนเอก สีหมอกเมฆนิลกาฬ
มุกดาหมอกมัว แดงสลัวเพทาย
สังวาลย์สายไพฑูรย์ เจิดจำรูญนพรัตน์
อวยสวัสดิภาพล้วน ปวงวิบัติขจัดพ้น
ผ่านร้ายกลายดี
ปี่พาทย์ทำเพลงรัว
ฟ้อนม่ายมุ้ยเชียงตา
ฟ้อนม่ายมุ้ยเชียงตานี้ พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ทรงดัดแปลงมาจาก “ฟ้อนกำเข้อ” หรือระบำผีเสื้อ ซึ่งเป็นการละเล่นของชาวไทยใหญ่และชาวลานนามาแต่โบราณ มีประวัติไว้ว่า
“ประวัติของม่ายมุ้ยเชียงตา” มีดังนี้ พระราชชายาเจ้าดารารัศมีทรงเห็นว่าการฟ้อนรำซ้ำซาก อยากจะทรงเปลี่ยนแปลงให้แปลกตาบ้าง จึงมีพระราชประสงค์ให้ตัวระบำพม่า มาแสดงทอดพระเนตร ถ้าเหมาะสมก็จะทรงดัดแปลงมาผสมกับรำไทยเป็นพม่ากลาย สัก 1 ชุด ได้รับสั่งให้เจ้าจันทรังษี ( น้องสาวเจ้า ทิพวรรณ
กฤษดากร) ซึ่งเป็นภรรยาของพ่อค้าไม้ในพม่า ให้หาตัวระบำมาถวาย เจ้าจันทรังษีหาได้ชาย 1 หญิง 1 มาแสดงถวายทอดพระเนตร จึงทรงรับไว้เป็นครูฝึกอ่อนอยู่ระยะหนึ่งทรงเห็นว่า ท่ารำของชายไม่ค่อยจะน่าดูนัก จึงรับสั่งให้ครูหญิงแสดงท่ารำของระบำพม่า ที่แสดงในที่รโหฐานของกษัตริย์พม่าให้ทอดพระเนตร ก็พอพระทัยจึงได้ทรงดัดแปลงท่ารำมาเป็น ท่าระบำผีเสื้อ โดยใช้บทเพลงและเนื้อร้องพม่าตามเดิม เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ รัชกาลที่ 7 เสด็จเยี่ยมมณฑลพายัพ และได้เสด็จมาเสวยพระกายหารเย็นที่วังของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี จึงได้ทรงเปลี่ยนจากชุดผีเสื้อมาเป็นระบำในที่รโหฐาน แสดงถวายโดยใช้ภาพในหนังสือเรื่อง “พระเจาสีป้อ” ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันพงศ์ เป็นตัวอย่าง การแสดงฟ้อนม่ายมุ้ยเชียงตาถวายทอดพระเนตรครั้งนั้น ใช้ผู้แสดง 16 คน เป็นคนเชียงใหม่ทั้งหมด และใช้เวลานามาก ท่ารำก็ซ้ำหลายตอน ครั้นเมื่อซ้อมจะแสดงในงานวัดสวนดอกครั้งสุดท้าย หม่อมแส หัวหน้าครู ฝึกได้ทูลถามว่า ม่ายมุ้ยเชียงตานี้ จะใช้การแต่งกายเป็นชาย 1 แถว หญิง 1 แถว จะสมควรไหม รับสั่งตอบว่า เราซ้อมโดยใช้แบบอย่างระบำในที่รโหฐานของเขา ก็จะต้องรักษาระเบียบประเพณีของเขาไว้ ระบำชุดนี้ต้องใช้หญิงล้วนตามธรรมเนียม หากว่าท่ารำซ้ำกันจะตัดออกเสียบ้างก็ดี จะได้ไม่เบื่อตา การรักษาประเพณีเดิมเป็นเรื่องสำคัญมาก ถ้าอยากจะใช้การแต่งกายเป็นพม่าชายข้าง ก็ดัดแปลงม่านเม้เล้ เป็นชาย 1 แถว หญิง 1 แถวก็ได้ การฟ้อนม่านนี้ แม้พระราชชายาเจ้าดารารัศมี จะทรงดัดแปลงมาจากพม่าก็จริง แต่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า พม่าได้แบบอย่างการรำละครไทยไปเป็นละครชั้นสูงของเขา ชาวพม่าเรียกว่า ละครโยเดีย คำว่า โยเดีย ก็คือ อโยธยานั่นเอง
ชุดฟ้อนม่านนี้ ผู้แสดงเป็นหญิงล้วน มีไม่ต่ำกว่า 3 คน เครื่องแต่งตัวเป็นแบบพม่า นุ่งผ้าซิ่นยาวถึงตาตุ่ม
สวมเสื้อแขนยาว ตัวเสื้อยาวแค่เอว มีผ้าแพรสีคล้องคอยาวลงมาถึงเข่า ผมเกล้าสูงปล่อยชาย ผมลงมาทางด้านไหล่ขวา มีพวงมาลัยดอกไม้สดสวมรอบมวย และมีพวงอุษาห้อยลงมากันชายผม
ท่วงทีที่ฟ้อน มีทั้งช้าและเร็ว ส่วนรูปขบวนที่ฟ้อนก็เป็นแถวบ้าง จับคู่บ้างและเป็นครึ่งวงกลมบ้าง บางตอนก็จะจับชายผ้าร่ายรำคล้ายปีกผีเสื้อ เพลงที่ร้องเป็นเพลงพม่า แต่คนไทยนำมาร้องจนเพี้ยนเสียงเดิมไปหมด แม้พม่าเองก็ฟังไม่เข้าใจ ดังนี้
บทขับร้องฟ้อนม่ายมุ้ยเชียงตา
อ้ายูเมตาเมี้ย สู่เค สู่เค สู่เค อ้า
โอลาชินโย ขิ่น ขิ่น เลบาโละ ขิ่น ขิ่น เลบาโละ
ซูเพาตูหู กระตกกระแตบาโละ เวลายูหู โอเมลา
ซวยตองบู ปูเลเลรส โอบาเพ่ เฮ เฮ เฮ เฮ่ มิสตามาตาบ่าเล้
ดีเมาเซท แดละแม่กว่า ดีเมาเซท แดละแม่กว่า
แม่วฟิล กันทา ซวย ซวยไล โอดีแล แมวาตอย
ยียอมไม ส่วนด้านกว่าแคะ ปู่เลเส
โอนิสันเลเฟ ปู่เลเส เซนิเก เพมาเพ
ตีตาแมวเย เจาพีละซีกระเตเตียวโว คานุธานุเว
แต่เวลา ยี้หวี่แง้ หย่าสา ยี้หวี่แง้ หย่าสา
รองเง็ง
รองเง็ง หมายถึง การละเล่นชนิดหนึ่งที่เป็นพื้นเมืองของภาคใต้ คือ การเต้นรำคู่ระหว่างหญิงกับชาย ด้วยลีลาการเคลื่อนไหวของเท้า โดยไม่ถูกเนื้อต้องตัวกันในระหว่างการแสดงหรือเต้น จะมีดนตรีบรรเลงเพลงคลอไปด้วย เพลงที่ยืนโลม คือ เพลงลาดูคู่วอกับเพลงเมาะอีมังลามา รองเง็งได้เริ่มมีขึ้นเมื่อชาวโปตุเกสได้นำเข้ามาในแหลมมลายูสมัยแรก
การแต่งกาย แต่งกันได้หลายลักษณะ ตามแต่โอกาสและความเหมาะสม แต่โดยปกติจะแต่งกันเป็นแบบพื้นเมือง คือ
ชาย สวมหมวกแขกสีดำ กางเกงขายาวสีสุภาพ เสื้อเชิ๊ตสีขาวหรือสีเดียวกันกางเกง ผ้ารินิจนัง หรือผ้าชาเอนดัง ถุงเท้า รองเท้า
หญิง นุ่งผ้าโสร่งหรือผ้าปาเต๊ะ สวมเสื้อแขนยาว มีผ้าคลุมไหล่เป็นผ้าลูกไม้ สวมสร้อยคอ ใส่รองเท้า มีดอกไม้ทัดผมหรือปิ่นปักผม
เครื่องดนตรี ประกอบด้วย ไวโอลีน รำมะนา ฆ้องและกลองแขก
เพลงรองเง็ง มีด้วนกันทั้งหมด 12 เพลง คือ
เพลงลามูดูวอ
เพลงฟูโจ๊ะฟีฮัง
เพลงเมาะอีนังฟวา
เพลงจินตาปายัง
เพลงเมาะอีนังลามา
เพลงลานัง
เพลงบุหงารำไพ
เพลงมิสแพระพ์
เพลงอานะดีดี
เพลงตาลีทาโลง
เพลงติมังบูรง
เพลงจินโยดีวัดคูมาลำธารี
เซิ้งกระหยัง
เซิ้งกระหยัง เป็นการแสดงอย่างหนึ่งที่ชาวกาฬสินธุ์ ในอำเภอกุสินารายณ์เป็นผู้ประยุกต์ขึ้นท่ารำจากเซิ้งต่างๆ เช่น เซิ้งกระติ๊บ เซิ้งสาละวัน ฯลฯ มาผสมผสานกัน พร้อมทั้งจัดขบวนท่ารำขึ้นใหม่รวม 19 ท่าด้วยกัน แต่ละท่าก็มีชื่อเรียกต่างๆกันดังนี้ คือ
1. เซิ้งท่าไหว้ 2. เซิ้งภูไท 3. เซิ้งโปรยดอกไม้
4. เซิ้งขยับสะโพก 5. เซิ้งจับคู่ถือกระหยัง 6. เซิ้งนั่งเกี้ยว
7. เซิ้งสับ 8. เซิ้งยืนเกี้ยว 9. เซิ้งรำส่าย
10. เซิ้งเก็บผักหวาน 11. เซิ้งกระหยังตั้งวง 12. เซิ้งตัดหน้า
13. เซิ้งสาละวัน 14. เซิ้งกลองยาว 15. เซิ้งรำวง
16. เซิ้งชวนกลับ 17. เซิ้งแยกวง 18. เซิ้งนางช้าง
19. เซิ้งนั่ง
เนื่องจากผู้ที่แสดงถือกระหยัง ซึ่งเป็นภาชนะอย่างหนึ่งทำด้วยไม้ไผ่สาน มีลักษณะคล้ายกระบุงใส่สิ่งของต่างๆ ฉะนั้นจึงเรียกชื่อเซิ้งนี้ว่า “เซิ้งกระหยัง” ตามภาชนะที่ถือ สำหรับเครื่องดนตรีประกอบการแสดงเซิ้งกระหยัง ประกอบด้วยแคน แกร็บ กรองแต๊ะ กลองยาว ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง และยังมีพิณ (ลักษณะคล้ายกับซึงของภาคเหนือ) และปี่อ้อ (ลักษณะและวิธีเป่าเหมือนปี่จุมของภาคเหนือ) การบรรเลงจะช้าสลับกับเร็วตามจังหวะของการร่ายรำ ซึ่งนับเป็นการแสดงที่สวยงาม สนุกสนาน อีกชุดหนึ่ง ซึ่งกรมศิลปากรได้ถ่ายทอดและนำออกแสดงต่อ
สาธารณชนอยู่เนือง ๆ
ม่านมอญสัมพันธ์
การแสดงชุดนี้ประกอบอยู่ในละคร เรื่องราชาธิราช ตอน กระทำสัตย์ ตามเนื้อเรื่องที่ดำเนินความว่า ฝ่านพม่ากับมอญจะกระทำสัตย์ต่อกันในการที่จะไม่ทำสงครามกันสืบไปภายภาคหน้า ก่อนที่จะเริ่มพิธีกระทำสัตย์ นักฟ้อนของมอญและพม่าก็ออกมาฟ้อนร่วมกัน ลีลาที่พม่าและมอญฟ้อนจะเป็นเอกลักษณ์แต่ละชาติ นับเป็นฟ้อนชุดหนึ่งที่ผู้ชมจะได้มีโอกาสเห็นลีลาท่าทางนักฟ้อนที่เป็นนักฟ้อนแบบมอญและพม่า ว่าละม้ายคล้ายคลึงหรือผิดแผกแตกต่างกันอย่างไร ฟ้อนพม่า – มอญ นอกจากจะแสดงประกอบในละคร เรื่องราชาธิราช ดังกล่าวแล้วยังนำมาแสดงเป็นชุดเอกเทศได้
ฟ้อนภูไท
ภูไท หรือผู้ไทย เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใหญ่รองลงมาจากไทย และลาวตามตัวเลขที่ปรากฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพวกผู้ไทยอยู่ประมาณแสนคน กลุ่มใหญ่ที่สุดอยู่แถบลุ่มแม่น้ำโขง และเทือกเขาภูพาน ได้แก่จังหวัดนครพนม สกลนคร กาฬสินธุ์
ผู้ไทยเป็นคนขยันขันแข็ง มัธยัสถ์ เวลาโดยทั่ว ๆไปแล้ว เจริญก้าวหน้ามากกว่าพวกไทย – ลาว ที่อยู่ใกล้เคียง เป็นกลุ่มพัฒนได้เร็ว การฟ้อนผู้ไทยนี้เป็นการละเล่นอย่างหนึ่งของชาวผู้ไทย เดิมทีนั้นการร่ายรำแบบนี้ เป็นการรำเพื่อถวายพระธาตุเชิงชุมแต่อย่างเดียว ต่อมาได้ใช้ในงานสนุกสนานรื่นเริงต่าง ๆ ด้วยการฟ้อนภูไทบางครั้ง จงใช้ทั้งชาย – หญิง และหญิงคู่กัน
เพลงฟ้อนภูไท
ไปเย้ยไป ไปโห่เอาชัยเอ้าสอง
ไปโฮมพี่โฮมน้อง ไปช่วยแซ่ซ้องอวยชัย
เชิงเขาแสนจน หนทางก็ลำบาก
ข้อยสู้ทนยาก มาฟ้อนรำให้ท่านชม
ข้อยอยู่เทิงเขา ข้อยยังเอาใจมาช่วย
พวกข้อย ขออำนวย อวยชัยให้ละเนอ
ขออำนาจไตรรัตน์ จงปกปักรักษา
ชาวไทยถ้วนหน้า ให้วัฒนาสืบไป
เวลาก็จวน ข้อยจะด่วนไป
ขอความมีชัย แด่ทุกท่านเทอญ
ข้อยลาละเนอ ข้อยลาละเนอ
เพลงเหย่อย
เป็นการละเล่นพื้นเมืองอย่างหนึ่งของไทย นิยมเล่นตามเทศกาลต่าง ๆ ตามท้องที่จังหวัดกาญจนบุรี แต่เล่นในบางท้องถิ่นไม่แพร่หลายเหมือนการละเล่นอย่างอื่น กรมศิลปากรได้ส่งศิลปินของกรมศิลปากรไปฝึกหัดและถ่ายทอด จากชาวบ้านอยู่บ้านเก่า ตำบลจรเข้เผือก อำเภอ จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อเดือนมิถุนายน 2506
ลักษณะการเล่น เริ่มด้วยประโคมกลองยาว เพื่อเรียกร้องความสนใจให้ผู้รำเกิดความสนุก เมื่อจบกระบวนโหมโรมแล้ว พวกนักดนตรีจะเปลี่ยนมาเล่นจังหวะช้า เพื่อจะได้ประกอบท่ารำ คำร้อง ให้ถูกต้องและชัดเจน
ส่วนท่ารำของเพลงเหย่อยนั้น ปรากฏว่าไม่มีแบบฉบับที่แน่นอน สุดแท้แต่ผู้ใดถนัดที่จะรำแบบไหนก็รำได้ตามใจชอบ หรือรำกันได้ตามอัตโนมัติ ข้อสำคัญอยู่ที่การสืบเท้า ซึ่งจะต้องสืบเท้าแบบถนัดไป เท้าที่สืบไปต้องไม่ยกสูง หรือติดไปกับพื้นเลยที่เดียว และเท้าซ้ายต้องนำไปก่อนเสมอ ทั้งนี้ผิดกันกับการเต้นกำรำเคียวซึ่งเวลารำเท้าขวาไปก่อน และเวลาสืบเท้ายกเท้าสูง
ดนตรี เครื่องดนตรีที่ใช้ในการเล่น เพลงเหย่อยก็มีกลองยาว ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง และกรมศิลปากรได้เพิ่มปี่ชวาเข้าไปอีกอย่างหนึ่ง
เพลงร้อง เนื้อร้องเพลงเหย่อยนี้ เริ่มต้นด้วยเพลงพาดผ้า แล้วก็เพลงเกี่ยว เพลงสู่ขอ เพลงลักหาพาหนี จบลงด้วยเพลงลา ดังตัวอย่าง
คำร้องโต้ตอบแก้เกี้ยวกันในเพลงเหย่อย ดังที่ยกมาไว้ท้ายเรื่องนี้ ถ้าพิจารณาดูแล้วจะเห็นว่ามีทั้งบทเกริ่น-เกี้ยว – สู่ขอ – ลักหาพาหนี - ลา อยู่ครบถ้วน
บทร้องเพลงเหย่อย
ชาย มาเถิดหนาแม่มา มาเล่นพาดผ้ากันเอย
พี่ตั้งวงไว้ท่า อย่านิ่งรอช้าเลยเอย
พี่ตั้งวงไว้คอย อย่าให้วงกร่อยเลยเอย
หญิง ให้พี่ยื่นแขนขวา เข้ามาพาดผ้าเถิดเอย
ชาย พาดเอยพาดลง พาดที่องค์น้องเอย
หญิง มาเถิดพวกเรา ไปรำกับเขาหน่อยเอย
ชาย สวยแม่คุณอย่าช้า ก็รำออกมาเถิดเอย
หญิง รำร่ายกรายวง สวยดังหงษ์ทองเอย
ชาย รำเอยรำร่อน สวยดังกินรนางเอย
หญิง รำเอยรำคู่ น่าเอ็นดูจริงเอย
ชาย เจ้าเขียวใบข้าว พี่รักเจ้าสาวจริงเอย
หญิง เจ้าเขียวใบพวง อย่ามาเป็นห่วงเลยเอย
ชาย รักน้องจริงจริง รักแล้วไม่ทิ้งไปเอย
หญิง รักน้องไม่จริง รักแล้วก็ทิ้งไปเอย
ชาย พี่แบกรักมาเต็มอก รักจะตกเสียแล้วเอย
หญิง ผู้ชายหลายใจ เชื่อไม่ได้เลยเอย
ชาย พี่แบกรักมาเต็มลา ช่างไม่เมตตาเลยเอย
หญิง เมียมีอยู่เต็มตัก จะให้น้องรักอย่างไรเอย
ชาย สวยเอยคนดี เมียพี่มีเมื่อไรเอย
หญิง เมียมีอยู่ที่บ้าน จะทิ้งทอดทานให้ใครเอย
ชาย ถ้าฉีกได้เหมือนปู จะฉีกให้ดูใจเอย
หญิง รักจริงแล้วหนอ รีบไปสู่ขอน้องเอย
ชาย ขอก็ได้ สินสอดเท่าไรน้องเอย
หญิง หมากลูกพลูจีบ ให้พี่รีบไปขอเอย
ชาย ข้าวยากหมากแพง เห็นสุดแรงน้องเอย
หญิง หมากลูกพลูครึ่ง รีบไปให้ถึงเถิดเอย
ชาย รักกันหนาพากันหนี เห็นจะดีกว่าเอย
หญิง แม่สอนเอาไว้ ไม่เชื่อคำชายเลยเอย
ชาย แม่สอนไว้ หนีตามกันไปเลยเอย
หญิง พ่อสอนไว้ว่า ให้กลับพาราแล้วเอย
ชาย พ่อสอนว่า ให้กลับพาราพี่เอย
หญิง กำเกวียนกงเกวียน ต้องจากวงแล้วเอย
ชาย กรรมวิบาก วันนี้ต้องจากเสียแล้วเอย
หญิง เวลาก็จวน น้องจะรีบด่วนไปก่อนเอย
ชาย เราร่วมอวยพร ก่อนจะลาไปก่อนเอย
(พร้อม) ให้หมดทุกข์โศกโรคภัย สวัสดีมีชัยทุกคนเอย
ฟ้อนลาวคำหอม
ฟ้อนลาวคำหอมนี้ บทร้องนำมาจากบทละครพันทางเรื่อง “พระลอ” ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ เจ้าจอมมารดาเขียน ในรัชกาลที่ 5 เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำ อาจารย์ลมุล ยมะคุปต์ อาจารย์เฉลย ศุขะวนิช ได้นำท่ารำนี้ถ่ายทอดให้กับนักเรียนสาขานาฏศิลป์ละครนำออกแสดง
เพลงลาวคำหอม
สาวสุรางค์นางสนมบังคม บรมบาทราชร่มเกล้า
เอื้ออรโฉมโน้มทรวงสาว ทุกค่ำเช้า
สาวรักสวาจึงเฝ้า ใฝ่สนองพระคุณเอย
ชะอ้อนโอษฐ์แอ่ว พระแก้วก่องโลก
แสนสวยสะคราญ สังหารแสนโศก
สร่างแสง วิโยคยวนใจ
สร่างโศกสร่างเศร้า สร่างเหงาฤทัย
เพราะพระโฉมท่านไคล้ เฉิดฉินชื่นเวียงเฉย
ชื่นแสนชื่น ชื่นชวนเสน่หา
ชื่นชีวา ของมหาราชท้าว
เสน่ห์สนองรองบ่วงบาศก์เจ้า ระบือลือเลื่องกระเดื่องแดนด้าว
โฉมพระนางอะคร้าว เครงเวียงเอย
เพลงหน้าพาทย์
สาธุการ
เป็นเพลงหน้าพาทย์ที่ใช้ในการแสดงความเคารพพระรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ รวมทั้งครูอาจารย์และเทพยดาทั้งหลาย นอกจากใช้บรรเลงประกอบการรำแล้ว การแสดงพระธรรมเทศนา เมื่อจบกัณฐ์ทศพรแล้ว ก็จะบรรเลงเพลงนี้ หรือเมื่อพระสงฆ์เทศน์จบ ก็ใช้เพลงนี้เช่นเดียวกัน ผู้แสดงที่ใช้เพลงนี้รำ ใช้ได้ทั้งพระ นาง ยักษ์
ตระนิมิต
เป็นเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูง ประกอบการเนรมิตของตัวละครสำคัญที่มีศักดิ์สูง ทั้งพระ นาง ยักษ์ ลิง เช่น เบญจกายแปลงเป็นนางสีดา หนุมานกลายเป็นหมาเน่า
ตระบองกัน
เป็นเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูง ที่บรรเลงประกอบการเนรมิตร่างใหม่เช่นเดียวกับตระนิมิต ใช้กับฝ่ายยักษ์ เช่น ทศกัณฐ์เป็นนักพรต เพื่อจะลักนางสีดา ใช้แสดงโขนแล้วนิยมนำมาฟ้อนรำ เช่น ระบำดอกไม้เงิน – ทอง ถวายหน้าพระที่นั่ง
ชำนาญ
เป็นเพลงที่บรรเลง ประกอบการเนรมิต และประกอบการร่ายมนต์ ตลอดจนประสาทพรอันเป็นมงคลของเทพเจ้าอันสูงศักดิ์
โอด
ใช้บรรเลงประกอบกิริยาร้องไห้ โศกเศร้า เสียใจ ทั่วไป จะเป็นการเสียใจอย่างแรง ผิดกับเพลงทยอยที่ประกอบอาการ คร่ำครวญ เสียใจ
โลม – ตระนอน
โลมใช้ประกอบการเกี้ยวพาราสีของตัวละคร บางครั้งจะออกด้วยเพลงตระนอน ตระนอนใช้บรรเลงประกอบพฤติกรรมที่นอน ทั้งฝ่าย พระ นาง ยักษื ลิง เพลงนี้ไม่กำหนดว่าจะนอนที่ใด เพลงนี้จะเป็นเพลงกษัตริย์
เสมอควง
เป็นเพลงหน้าพาทย์ที่ใช้สำหรับตัวพระ - นาง รำคู่กัน หรือรำเป็นหมู่ มีท่ารำสัมพันธ์ ใช้ในความหมายของการมาถึงที่ หรือการไปมาในระยะใกล้ ๆ
พลายบัวเกี้ยวนางตานี
เป็นการแสดงชุดหนึ่งที่อยู่ในละครเรื่อง ขุนช้างขุนแผน เนื้อเรื่องย่อ มีอยู่ว่า พลายบัวและพลายเพชรบวชเป็นเณรที่วัดส้มใหญ่ วันหนึ่งได้รับข่าวจากนางศรีมาลาผู้เป็นมารดาที่บาดเจ็บว่า ผู้ที่ทำร้ายนางคือ พลายยงค์ ลูกคนละพ่อของพระไวย จึงมีความเจ็บแค้นได้ลานางศรีมาลาไปแก้แค้น นางศรีมาลาทัดทานไม่ได้จึงบอกให้ไปขอความช่วยเหลือจากหลวงต่างใจผู้เป็นอา ทั้งสองจึงได้ลาไป และได้ไปพักที่เขาจอมทอง วันหนึ่งพลายบัวได้เห็นนางแว่นแก้ว ก็เกิดความหลงใหล จึงได้ลาเพศจากเณร แอบไปหานางแว่นแก้ว ระหว่างทางได้พบกับนางตานี เพราะที่พักของพลายบัวกับพลายเพชรเป็นดงกล้วยตานี
ปี่พาทย์ทำเพลงรัว
ร้องเพลงสีนวล
รูปร่างกลายเป็นสาวน้อย แช่มช้อยนวลลออผ่องใส
เชิดโฉมประโลมละลานใจ แอบต้นกล้วยใหญ่แล้วถามมา
พ่อหนุ่มน้อยคนนี้อยู่ที่ไหน แต่ผู้เดียวเดินไปที่ในป่า
มีธุระสิ่งใดไปไหนมา เมตตาบอกความแต่ตามจริง
ร้องร่าย
เมื่อนั้น พลายบัวตรองตรึกไม่นึกกริ่ง
เห็นตานีมีฤทธิ์ศักดิ์สิทธิ์จริง จึงวอนวิงด้วยสุนทรวาจา
ร้องเพลงทองย่อน
เจ้านางตานีทองน้องแก้ว เป็นคนแก้วพี่จะรักเจ้านักหนา
พี่ขอเชิญชวนแก้วแววตา ไปเป็นเพื่อนพี่ยาจนวันตาย
พี่มุ่งหน้าหวังว่าจะชวนน้อง แม่นางตานีทองละอองฉาย
ไปเป็นเพื่อนคู่ยากลำบากกาย แล้วเจ้าพลายป่าเป่ามนต์เสน่ห์จันทร์
ร้องร่าย
เมื่อนั้น นางตานีปรีเปรมเกษมสันต์
ต้องมนต์ดลจิตคิดผูกพันธ์ ก็กลายร่างคืนพลันทันใด
รัวเข้า
ตอน ย่าหรันตามนกยูง
ละครในเป็นนาฏกรรมที่คนไทยถือว่า เป็นศิลปะแบบแผนชั้นสูง คือกำเนิดเกิดขึ้นภายในราชสำนัก การแสดงชุดย่าหรันตามนกยูง เป็นการแสดงจากเรื่องอิเหนา เนื้อเรื่องมีอยู่ว่า ศรียะตา ซึ่งเป็นอนุชาของนางบุษบา มีพรรษาครบ 15 ปี ท้าวดาหาผู้เป็นบิดา จึงจัดพิธีโสกรรณ แล้วแต่งตั้งให้ดำรงอยู่วังหน้า แต่ศรียะตามีความคิดถึงบุษบาและอิเหนา จึงออกอุบายทูลลาท้าวดาหาออกประพาสป่า โดยปลอมตัวเป็นชาวป่า ชื่อ ย่าหรัน พี่เลี้ยงและทหารที่ตามเสด็จมา ก็เปลี่ยนชื่อทุกคน ศรียะตาในนามใหม่ว่าย่าหรันเที่ยวติดตามหาบุษบาและอิเหนาเป็นเวลานานก้ไม่พบ ทำให้เดือดร้อนถึงเทพเจ้า ปะตาละกาหลา ซึ่งมีศักดิ์เป็นปู่ของศรียะตา ต้องแปลงพระองค์เป็นนกยูง
มาล่อให้ย่าหรันหลงติดตามไปจนถึงเมืองกาหลง
เมื่อนั้น บุหลงสุราลักษ์ปักศรี
เห็นย่าหรันดันดัดพนารี ขวบขิบพารีตามมา
จึงโผผินบินไปให้ห่าง แล้วเยื้องย่างหยุดยืนคอยท่า
ฟ้อนรำทำทีกิริยา ปักษาแกล้งล่อรอรั้ง
ละครพันทางเรื่อง พระลอ
ตอนปู่เจ้าเรียกไก่
คัดมาจากตอนปู่เจ้าเรียกไก่ เทพเจ้าจากเมืองสรอง ทราบว่าพระลอต้องมนต์ปู่เจ้า ออกเดินทางจากเมืองแมนสรวงถึงฝั่งแม่น้ำกาหลง จึงร่ายมนต์เรียกไก่ จึงได้ไก่แก้วไปล่อพระลอ เมื่อปู่เจ้าเลือกไก่แก้วได้แล้ว จึงร่ายมนต์ให้ผีสิงไก่แก้วแล้วสั่งให้ไปล่อพระลอ นำทางให้เสด็จมาเมืองสรองโดยเร็ววัน การแสดงชุดนี้คัดมาจากเรื่องพระลอ กล่าวคือ พระเพื่อน พระแพง 2 พระธิดาผู้เลอโฉมแห่งเมืองสรอง สั่งให้นางโรยสองพระพี่เลี้ยง ไปขอความช่วยเหลือจากปู่เจ้าสมิงพรายช่วยนำพาให้พระลอ ยุพราชแห่งเมืองสรองเสด็จมาโดยเร็ววัน ปู่เจ้าสมิงพรายเลยใช้อาถรรพ์ลงแก่ไก่ให้ไปล่อพระลอมา
ปี่พาทย์ทำเพลงลาวพงดำ
มาจากกล่าวบทไป ถึงปู่เจ้าจอมเทวาสิงขร
สงสารเพื่อนแพงน้องสองบังอร เฝ้าอาวรณ์หวั่นคนึงถึงพระลอ
ให้นางโรยนางรื่นขึ้นมาเล่า จำจะเอาไก่งามไปตามล่อ
ให้รีบมาเหมือนหวังไม่รั้งรอ จะได้พอใจปองสองพระองค์
ตริพรางนางปู่ย่าญาติ จากแท่นทิพยวาสเรืองระหงษ์
งามเชสวชิรวาสอาตองค์ เสด็จลงหน้าฉานชาลเทวา
ปี่พาทย์เพลงลาวจ้อย
สร้อยแสงแดงพระพาย ขนเขียวลายระยับ
ปีกสลับเบญจรงค์ เลื่อมลายยงค์หงษ์สบาด
ขอบตาชาติพระพริ้ง สิงคลิ้งงอนพรายพลัน
ขานขันเสียงเอาใจ เดือยงอนใสสีลำยอง
สองเท้าเทียมนพมาศ ปานชรุชาติคารมณ์
ปู่ก็ใช้ให้ผีลง ผีก็ลงแก่ไก่
ไก่แก้วไซร้บ่มิกลัว ผลุผกหัวองอาจ
ขานขันตีปีกป้อง ร้องเรื่อยเฉื่อยฉาดฉาน
เสียงขันขานเจื่อยแจ้ว ปู่สั่งแล้วทุกประการ
บ่มินานผาดโผนผยอง โลดลำพองคะนองบ่หึง
มุ่งมั่นถึงพระเลืองลอ ยกคอขันขานร้อง
ตีปีกป้องพรายพลัน ร้องเรื่อยเจื่อยจ้ายๆ
แล้วไซร้ปีกไซร้หาง โฉมสำอางค์สำอาจ
กรีดปีกวาดเรียกเย้า ค่อยล่อพระลอเจ้าจักต้องดำเนินแลนา
พระลอเข้าสวน
ปี่พาทย์ทำเพลงลาวกระแต
เมื่อนั้น พระลอดิลกเลิศฉวี
ปลอมเพศแปลงนามเป็นพราหมณ์ชี เหมือนมุนีศรีเกษพระเวทมนต์
นายแก้วนายขวัญนั้นเปลี่ยนนาม ชื่อนายรามนายรัตน์ไม่ขัดสน
มัคคุเทศก์ก็นำเสด็จจรดล ผ่านสถลมาร์คเข้าอุทยาน
ปี่พาทย์ทำเพลงเสมอลาว
เพลงลาวชมดง
การะเกดเหมือนเกศแก้วเกศา มลุลีเหมือนบุปผาแม่เกี้ยวเกล้า
(สร้อย) คู่อ่อนเท้าเครืออะคร้าวงามเอย เพื่อนแพงผองเผื่อพี่ปองสมเอย
นางแย้มเหมือนแก้มแม่แย้มเย้า ใบโขกเหมือนเจ้าจงกวักกร (สร้อย)
คณานกแมกไม้เรียงรัง ร้องเรื่อยรับขวัญเหมือนเสียงสมร (สร้อย)
เห็นโนรีสาลิกาใคร่ว่าวอน ฝากอักษรถวายน้องสองพรู (สร้อย)
ถึงสระบัวยั่วยอพระลอรัก ใคร่เก็บฝักหักดอกออกอดสู (สร้อย)
ผองภมรว่อนเฝ้าเคล้าเรณู เหมือนเย้ยภูอรเห่ออยู่เอองค์ (สร้อย)
คนึงนางพลางเสด็จลีลา แอบร่มพฤกษาสูงระหง (สร้อย)
สุคนธรหอมหวนลำดวนดง เหมือนจะส่งกลิ่นถวายราชา (สร้อย)
พระลอตามไก่
ทางอาณาจักรล้านนามีนครใหม่แห่งหนึ่งชื่อเมือง แมนทรวง เจ้าผู้ครองนครพระนามว่าท้าวแมนทรวง มีชายาชื่อ นางบุญเหลือและราชโอรสซึ่งพระลอออกไปทางทิศตะวันออกของเมืองแมนทรวง มีนครใหญ่อีกแห่งหนึ่งชื่อเมืองสรอง เจ้าผู้ครองนครทรงพระนามว่าท้าวพิมพิสาคร มีโอรสพระนามว่า ท้าวพิชัยพิษณุกร และได้นางตาวดีเป็นชายามีธิดา 2 องค์ ทรงพระนามว่า พระเพื่อน พระแพง
ท้าวแม้นทรวงยกกองทัพมาตีเมืองสรอง ท้าวพิมพิสาครออกรบจนสิ้นพระชนม์บนคอช้างเมื่อเสด็จศึกสงครามท้าวแมนทรวงได้สร้างอภิเษกสมรสกับนางลักษณาวดี เมื่อท้าวแมนทรวงสวรรคตแล้วพระลอก็ครองราช ต่อมากิตติศัพท์ เรื่องความงามของพระลอไปถึงพระเพื่อน พระแพง นางใคร่จะได้พระลอเป็นสวามีและกลัดกลุ้มพระทัยจนพ่ายผอม ครั้นนางโรยทราบความก็ได้คิดช่วยเหลือ โดยส่งคนไปขับร้องพรรณนาความงามของพระเพื่อน พระแพง ต่อพระลอแต่พระองค์ก็ถูกสลายของปู่เจ้าทนฤทธิ์เสน่ห์ไม่ไหวจึงตัสถามพระมารดาและมเหสีว่าจะไปเมืองสรองกับนายแก้ว นายขวัญพี่เลี้ยง เมื่อพระลอเข้าเมืองปู่เจ้าสมิงพรายก็ได้ร่ายเวทมนต์ให้ผีลงสิงในตัวไก่แก้วและใช้ไปล่อพระลอมา
ผู้บรรจุทำนองขับร้องและเพลงดนตรี คือ เสด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์
การแต่งกาย : พระลอ แต่งยืนเครื่องพระสีแดงขริบสีเขียว
ไก่ แต่งยืนเครื่องสีขาวเป็นจูเร็ตของไก่หรือนุ่งกางเกงทั้งสองแบบมีปีกและหาง
โอกาสที่ใช้แสดงสลับฉาก ใช้แสดงประกอบละครเรื่องพระลอ
เนื้อร้อง
เพลง เชิดฉิ่ง
ไก่เอยไก่แก้ว กล้าแกล้วกายสิทธิ์ฤทธิ์ผีสิง
เลี้ยวล่อลอราชฉลาดจริง เพราะพริ้งงอนสร้อยสวยสอางค์
ทำทีแล่นถลาให้คว้าเหมาะ ย่างเยาะกรีดปีกไซร้หาง
ครั้นพระลอไล่กระชั้นคั้นกลาง ไก่ผันหันห่างรามา
ฉับเฉียวเลี้ยวลัดฉวัดเฉวียน วนเวียนหลบกข่างกลางพฤกษา
ขันเจื่อยเฉื่อยก้องท้องวนา ทำท่าเยาะเย้ยภูมี
ประวัติที่มา
เพลงหน้าพาทย์ต้นเข้าม่าน – ปลายเข้าม่าน เป็นเพลงสำหรับประกอบกิริยาไปมา ของตัวละครต่ำศักดิ์ เช่น นางกำนัล สาวใช้ หรือเทพบริวารไปกราบทูลเทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวร พระพรหม พระนารายณ์ เป็นต้น โดยนำท่ารำจากแม่บทใหญ่ มาประดิษฐ์ให้ลีลาต่อเนื่องกันอย่างสวยงาม ได้แก่ บัวชูฝัก บัวชูฝัก ผาลาเพียงไหล่ กินนรรำ สอดสูง เป็นต้น และได้บรรจุไว้ในนาฏศิลป์ชั้นกลาง
เพลงชุมนุมเผ่าไทย
ประวัติที่มา
ระบำชุดนี้เป็นระบำนำละครเรื่อง อานุภาพแห่งความเสียสละ บทประพันธ์ของพลตรีหลวงวิจิตรวาทการ จัดแสดงเมื่อ พ.ศ.2498 บทร้องโดยพลตรีหลวงวิจิตรวาทการ ทำนองเพลงแต่งและเรียบเรียงโดย ผู้เชี่ยวชาญดุริยางไทยของกรมศิลปากร คือ อาจารย์มนตรี ตราโมท ทำนองเพลงร้องจะแตกต่างกันไปตามสำเนียงไทยเผ่าต่างๆ โดยมีไทยกลางซึ่งแต่งขึ้นใหมาเป็นเพลงเชื่อมให้มีความสำพันธ์กัน กล่าวคือ
ไทยลานนา ใช้ทำนอง เพลงแน (ของเก่า )
ไทยใหญ่ ใช้ทำนอง เพลงเงี้ยว (ของเก่า )
ไทยลานช้าง ใช้ทำนอง เพลงฝั่งโขง (ของเก่า )
ไทยสิบสองจุไทย ใช้ทำนอง เพลงสิบสองปันนา (แต่งใหม่)
ไทยอาหม ใช้ทำนอง เพลงอาหม (แต่งใหม่)
บทร้องระบำชุมนุมเผ่าไทย บรรยรยให้ทราบถึงชนชาวไทยเผ่าต่างๆที่ได้อพยพ แยกย้ายกันลงมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในส่วนต่างๆของแหลมทอง ดังนี้
1. ไทยกลาง คือ คนไทยในประเทศไทย
2. ไทยลานนา คือ คนไทยในภาคเหนือของไทย
3. ไทยใหญ่ คือ คนไทยในแคว้นฉานของพม่า
4. ไทยลานช้าง คือ คนไทยที่อยู่ในแถบลุ่มแม่น้ำโขงเมืองเวียงจันทร์ ประเทศลาว
5. ไทยสิบสองจุไทย คือ คนไทยที่ในแคว้นสิบสองจุไทย ประเทศเวียดนาม
6. ไทยอาหม คือ คนไทยในแคว้นอาหมอยู่ติดกับปากีสถาน
ระบำชุมนุมเผ่าไทยเหมาะสำหรับให้นักเรียนได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทย หรือเป็นชุ
การแสดงวิพิธทัศนาในกิจกรรมเสริมหลักสูตรวิชาประวัติศาสตร์
ผู้ประดิษฐ์ท่ารำคืออาจารย์ลมุล ยมะคุปต์ และคุณครูผัน โมรากุล แต่งกายออกแบบสร้างโดยอาจารย์ชิ้น ศิลปบรรเลง และต่อมาอาจารย์ทวีศักดิ์ เสนาณรงค์ ได้ออกแบบเครื่องแต่งกายใหม่เพื่อถ่ายปฏิทินเซลล์
เครื่องดนตรีที่ใช้
1. แต่เดิมที่ใช้ประกอบการแสดงละครเรื่อง อานุภาพแห่งความเสียสละ
2. ใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้า เครื่องคู่ หรือเครื่องใหญ่ ตามความเหมาะสม
บทร้อง
ระบำชุมนุมเผ่าไทย
ไทยลานนา นี่พี่น้องของเราไทยลานนา อยู่ด้วยกันนานมาแต่ก่อนเก่า
ได้ร่วมแรงร่วมใจคู่ไทยเรา เป็นพงศ์เผ่าญาติและมิตรแท้
ไทยใหญ่ นี่ไทยใหญ่อยู่ใกล้ใกล้ทางทิศเหนือ เป็นชาติเชื้อพี่ชายของไทยแน่
ยังรักษาความเป็นไทยไม่ผันแปร ขยายแผ่สาขาตระกูลไทย
ไทยลานช้าง นี่คือไทยลานช้างอยู่ ข้างเคียง เคยร่วมเรียงอยู่เป็นสุขทุกสมัย
แม่น้ำโขงกั้นเขตประเทศไว้ แต่ไม่กั้นดวงใจที่รักกัน
ไทยสิบสองจุไทย นี่พี่น้องชาวสิบสองจุไทย เป็นพี่ใหญ่แน่แท้ไม่แปรผัน
ต้นเชื้อสายไทยน้อยแหล่งสำคัญ ครั้งสมัยดึกดำบรรพ์ขุนบรม
ไทยอาหม นี่พี่น้องพวกสุดท้ายที่เข้ามา ก็เป็นไทยที่ชื่อว่าไทยอาหม ล้วนเลือดเนื้อเชื้อไทยใฝ่นิยม ให้อาณาประชาคมไทยสมบูรณ์
โอกาสที่ใช้ในการแสดง
1. ใช้แสดงเป็นระบำฉากนำละครเรื่อง อานุภาพแห่งความเสียสละ
2. ใช้แสดงในงานรื่นเริง
ลักษณะเครื่องแต่งกาย
ไทยกลาง นุ่งผ้ายก ห่มสไบ( ห่มสไบตาดทอง ปัจจุบันห่มสไบพรีช และห่มผ้าปักทับ) ผมเกล้าครึ่งศรีษะทัดดอกไม้ สวมเครื่องประดับ สร้อยคอ สร้อยข้อมือ ต่างหู สร้อยตัว กำไลเท้า
ไทยลานนา นุ่งผ้าซิ่นบายขวางแบบทางเหนือ สวมเสื้อแขนกระบอก ห่มสไบ เกล้าผมติดอุบะ ทัดดอกไม้ สวมเครื่องประดับ
ไทยใหญ่ นุ่งผ้าซิ่นต่อลายใหญ่ สวมเสื้อแขนยาวสามส่วน มีผ้าโพกศรีษะ สวมเครื่องประดับ
ไทยลานช้าง นุ่งผ้าซิ่นลาว สวมเสื้อเกาะอก มีผ้าคลุมไหล่ ผมเก้ามวยสูงใส่เกี้ยว สวมเครื่องประดับ
ไทยสิบสองจุไทย นุ่งผ้าถุงยาว ผ่าข้าง สวมเสื้อแขนกระบอกติดกระดุมป้ายข้างแบบจีนมีผ้าคล้องและคาดเอว ผมเกล้ามวย 2 ข้าง แบบจีน ประดับดอกไม้รอบมวยและสวมเครื่องประดับ
ไทยอาหม นุ่งส่าหรีแบบแขก สวมเสื้อแขนสั้นเอวลอย ผมเกล้ามวยต่ำ สวมเครื่องประดับ
เพลงฟ้อนม่านมงคล
ประวัติที่มา
ฟ้อนม่านมงคลหรือระบำม่านมงคล เป็นระบำชุดหนึ่งอยู่ในละครพันทางเรื่อง ราชาธิราช ตองสมิงพระรามอาสา ซึ่งกรมศิลปากรจัดแสดง ณ โรงละครศิลปากร ครั้งกรก เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ.2495 อาจารย์มนตรี ตราโมท ได้แต่งบทร้องและทำนองเพลงขึ้นใหม่จากเพลงพม่าแท้ ๆ เพลงหนึ่ง สำหรับประกอบการฟ้อนรำของหมู่นางระบำสาวชาวพม่า ในฉากที่ 4 ซึ่งเป็นฉากที่ สมิงพระรามแต่างงานกับพระราชธิดาของพระเจ้ากรุงอังวะ โดยตั้งชื่อเพลงนี้ว่า” เพลงม่านมงคล” คุณครูลมุล ยมะคุปต์(ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย) และคุณครูมัลลี คงประภัศร์ เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำ
ดนตรีทีใช้ประกอบการแสดง
นิยมใช้วงปี่พาทย์ไม้นวมจะเป็นเครื่องห้า เครื่องคู่ หรือเครื่องใหญ่ก็ได้
ถ้าเรื่องใดผสมด้วยท่ารำและเพลงร้อง เพลงดนตรีภาษาอื่น เครื่องบรรเลงในวงปี่พาทย์ก็จะต้องเพิ่มเครื่องอันเป็นสัญญลักษณ์ของเครื่องภาษานั้น ๆ ซึ่งเรียกว่า เครื่องภาษา เครื่องภาษาที่ใช้เพิ่มเข้าไปในวงปี่พาทย์ คือ เครื่องภาษาพม่า มีดังนี้
1. กลองยาวพม่า
2. เครื่องประกอบจังหวะพม่า
3. กลองพม่า
4. เปิงพม่า
เครื่องแต่งกาย
1. นุ่งผ้าป้าย มีเชิงโปร่งยาวกรอมเท้า
2. เสื้อนอกแขนยาว ขอบเอวโค้ง
3. เข็มขัด
4. เสื้อในรัดอก
5. ผ้าคล้องไหล่
6. เครื่องประดับศรีษะผมยาวเกล้าเป็นผมมวยสูง ปล่อยปลายผมด้านขวา
นาฏยศัพท์
1. จีบล่อแก้ว
2. วง
3. ก้าวเท้า
4. ถอนเท้า
5. ย่ำเท้า-ถัดเท้า
โอกาสที่ใช้ในการแสดง
ใช้แสดงในงานรื่นเริง งานมงคล ตามโอกาสที่เหมาะสม
เนื้อร้องเพลงม่านมงคล
ปวงข้าเจ้าเหล่าราชนาฏากร ขอฝ่ายฟ้อนระบำบรรพ์ด้วยหรรษา
สมโภชองค์อุปราชราชธิดา ในมหาพิธีดิถีชัย
ด้วยเดชะบารมีบดีศูรย์ อันไพบูลย์พูนพิพัฒน์นิรัติศัย
จึงอุบัติอุปราชติชาญชัย อรทัยพระธิดาศรีธานี
ขอคุณพระพุทธเจ้า จุ่งมาปกเกล้าเกศี
พระธรรมเลิศล้ำธาตรี พระสงค์ทรงศรีวิสุทธิญาณ
ขอโปรด ธ ประสาท อุปราชธิบดี
พระราชบุตรี วรนาฏนงคราญ
ทรงสบสุขศรี ฤดีสำราญ
ระรื่นชื่นบาน วรกายสกนธ์
พวกเหล่าพาลา ไม่กล้าประจญ
ต่างหวั่นพรั่นตน เกรงพระบารมี
ประสงค์สิ่งใด เสร็จได้ดังฤดี
สถิตเด่นเป็นศรี อังวะนคราฯ
ออกพม่าไสยาสน์
เพลงฟ้อนแคน
ประวัติที่มา
แคนเป็นเครื่องดนตรีของชาวไทยภาคอีสาน ซึ่งใช้บรรเลงเล่นกันเป็นปกติทำนอง
แคนนั้น มีอยู่มากมายหลายเพลง ซึ่งเรียกกันว่า “ ลาย “
เมื่อราวเดือนกันยายน 2527 คุณครูเฉลย ศุขวณิช ผู้เชี่ยว ชาญการสอนนาฏศิลป์
ไทย ของวิทยาลัยนาฏศิลป ได้ปรารภถึงเรื่องฟ้อนแคนของเดิม ซึ่งในปัจจุบันได้นำมาปรับปรุงเป็นชุดเซิ้งสราญไปเสียแล้ว ครูอาจารย์อีกหลายท่าน อาทิ ครูจำเรียง พุธประดับ และคุณครูอุดม อังศุธร ได้ร่วมกับคุณครูเฉลย ศุขวณิช ประดิษฐ์ท่าฟ้อนแคนขึ้นใหม่ ใช้ผู้แสดง ชาย หญิง ฝ่ายชายนั้นเป่าแคน ร่ายรำไปตามทำนองเพลงไทยที่ชื่อว่า “ เพลงลาวราชบุรี “ ออกท้ายด้วยเพลงซุ้ม ( อีสาน ) ซึ่งเป็นเพลงที่ใช้ประกอบการฟ้อนแคน ชุดเดิมตั้งแต่ปี 2513
การแต่งกาย
หญิง นุ่งผ้าซิ่นสั้นแค่เข่า สวมเสื้อคอกลมแขนกระบอก ห่มสไบ ผมเกล้ามวยสูง ประดับด้วยดอกไม้
ชาย นุ่งผ้าตะโก้ง หยักรั้ง ปล่อยชายชายด้านหลังสวมเสื้อม่อฮ่อม ผ้าขาวม้าคาดเอว และผ้าคาดศรีษะ มือถือแคน
เครื่องดนตรี
เป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองของภาคอีสาน เช่น แคน กั๊บแก๊บ กรับ โหวต
โอกาสที่ใช้ในการแสดง
แสดงในงานรื่นเริง และงานเทศกาลต่างๆ
ใบความรู้เพลงเต้นกำรำเคียว
ที่มาของการแสดง
เต้นกำรำเคียวเป็นเพลงพื้นเมืองของจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งชาวนานิยมเล่นกันตามท้องนา ในฤดูเก็บเกี่ยวข้าว เมื่อถึงฤดูนี้พวกชาวบ้านก็มักจะช่วยกันเก็บเกี่ยวเรียกว่า ลงแขก ในขณะเก็บเกี่ยวก็มักจะร้องรำกัน เพื่อความบันเทิงสนุกสนานปลดเปลื้องการเหนื่อย โดยมากมักจะเล่นเต้นกำรำเคียว ซึ่งผู้เล่นทั้งชายและหญิง ต่างก็ถือเคียวมือหนึ่ง รวงข้าวมือหนึ่ง ร้องเกี้ยวพาราสีกันเป็นที่สนุกสนาน นักร้องและนักรำของกรมศิลปากรได้ไปฝึกมาจากจังหวัดนครสวรรค์ เมื่อพุทธศักราช 2504 และได้แต่งเพลงดนตรีขึ้นประกอบ เพื่อให้เหมาะแก่การที่จะนำออกแสดง
ประวัติที่มา
เต้นกำรำเคียวเป็นเพลงพื้นเมืองของชาวบ้านจังหวัดนครสวรรค์ นิยมเล่นตามท้องนา ในฤดูกาลลงแขกเกี่ยวข้าว ร้องเล่นเพื่อความรื่นเริงสนุกสนานผ่อนคลายความเหน็ดเหนื่อย
เมื่อ พ.ศ.2504 ศิลปินของกรมศิลปากรได้ไปฝึกหัดการเล่นเต้นกำรำเคียวจากชาวบ้าน ตำบลพยุหคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ต่อมากรมศิลปากรได้ปรับปรุงการเล่นเพื่อให้เหมาะกับการนำออกแสดงในงานบันเทิง โดยให้ นายมนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญนาฏดุริยางค์ไทย กรมศิลปากร และศิลปินแห่งชาติ แต่งทำนองเพลงประกอบการแสดง ตอนเริ่มต้นก่อนร้องบทโต้ตอบและตอนจบ บทร้อง
ผู้แสดงทั้งชายและหญิง มือขวาถือเคียว มือซ้ายกำรวงข้าว ทำท่าตามกระบวนเพลงร้อง เย้าหยอกเกี้ยวพาราสีกัน บทร้องมีอยู่ 11 บท คือ บทมา ไป เดิน รำ ร่อน บิน ยัก ย่อง ย่าง แถ ถอง และเพลงในกระบวนนี้ ผู้เล่นอาจด้นกลอนพลิกแพลงบทร้องสลับปรับกัน ด้วยความสนุกสนาน บางครั้งในการแสดงอาจตัดบทร้องบางบทเพื่อความกระชับ
เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการรำเต้นกำรำเคียว
ใช้วงปี่พาทย์ บรรเลงเพลงนำ และตอนจบ
โอกาสที่ใช้แสดง
นิยมเล่นตามท้องนาในฤดูกาลลงแขกเกี่ยวข้าว ร้องเล่นเพื่อความรื่นเริงสนุกสนาน ผ่อนคลายความเหน็ดเหนื่อย
การแต่งกาย
ชาย นุ่งกางเกงขายาว เสื้อคอกลมผ่าอกแขนสั้นเหนือศอก สีน้ำเงินครามผ้าขาวม้าคาดเอว สวมหามกปีก
หญิง นุ่งผ้าพื้นดำ โจงกระเบน เสื้อคอกลมผ่าอกแขนยาวสีน้ำเงิน หรือต่างสีสวมงอบ
การแสดงชุดนี้ สามารถแสดงได้โดยไม่จำกัดเวลา
บทร้องเต้นกำรำเคียว
ชาย มาเถิดเอย เอยราแม่มา มารำมาแม่มา มาเถิดแม่นุชน้อง พี่จะเป็นฆ้องให้น้องเป็นปี่ ต้อยตะริดติดตอด น้ำแห้งน้ำหยอดที่ตรงลิ้นปี่ มาเถิดนะแม่มามารึมา มาเต้นกำย่ำหญ้า กันในนานี้เอย ( ลูกคู่รับ)
หญิง มาเถิดเอย เอยรา แม่มา มารึมาพ่อมา ฝนกระจายปลายนา แล้วน้องจะมาอย่างไรเอย ( ลูกคู่รับ)
ชาย ไปเถิดเอย เอยรา แม่ไป ไปรึไปแม่ไป ไปชมนกกันที่ในป่า ไปชมพฤกษากันที่ในไพร ไปชมชะนีผีไพร เล่นที่ในดงเอย
หญิง ไปเถิดเอย เอยรา พ่อไป ไปรึไปพ่อไป น้องเดินขยิกจิกไหล่ตามก้นพี่ชาย ไปเอย
ชาย เดินกันเถิดนางเอย เอยรา แม่เดิน เดินรึเดินแม่เดิน ย่างเท้าขึ้นโคก เสียงนกโพระดกมันร้องเกริ่น จะพาหนูน้องไปท้องเนิน ชมเล่นให้เพลินใจเอย
หญิง เดินกันเถิดเอย เอยรา พ่อเดิน เดินรึเดินพ่อเดิน หนทางก็รก ระหกระเหิน แล้วน้องจะเดินอย่างไรเอย
ชาย รำกันเถิดเอย เอยรา แม่รำ รำรึรำแม่รำ ใส่เสื้อเนื้อดี แม่ห่มแต่สีดอกคำ น้อยหรือแน่แม่ช่างรำ แม่เชื้อระบำเก่าเอย
หญิง รำกันเถิดนายเอย เอยรา พ่อรำ รำรึรำพ่อรำ มหาหงส์ลงต่ำ ต่างคนต่างรำไปเอย
ชาย ร่อนกันเถิดนายเอย เอยรา แม่ร่อน ร่อนรึร่อนแม่ร่อน รูปร่างเหมือนนางระบำแม่เอ๋ยช่างรำ แม่คุณช่างร่อน อ้อนแอ้นแขนอ่อน รูปร่างเหมือนมอญรำเอย
หญิง ร่อนกันเถิดเอย เอยราพ่อร่อน ร่อนรึร่อนพ่อร่อน สีนวลอ่อนอ่อน ร่อน แต่ลมบนเอย
ชาย บินกันเถิดเอย เอยรา แม่บิน บินรึบินแม่บิน สองตีนกระทืบดิน ใครเอย จะบินไปได้อย่างเจ้า ใส่งอบขาวขาว รำกำงามเอย
หญิง บินกันเถิดนายเอย เอยรา พ่อบิน บินรึบินพ่อบิน มหาหงส์ทรงศิลป์ บินไปตามลมเอย (หรือไม่มีเหล้าจะให้กิน กลัวจะบินไม่ไหวเอย)
ชาย ยักกันเถิดนางเอย เอยรา แม่ยัก ยักหรือยักแม่ยัก ยักตื้นติดกึก ยักลึกติดกัก หงส์ทองน้องรัก ยักให้หมดวงเอย
หญิง ยักกันเถิดนายเอย เอยรา พ่อยัก ยักหรือยักพ่อยัก อย่าเข้ามาใกล้น้องนัก จะโดนเคียวควักตาเอย
ชาย ย่องกันเถิดนางเอย เอยรา แม่ย่อง ย่องรึย่องแม่ย่อง บุกดงแกรกแกรก สองมือก็แหวกนัยตาก็มอง พบฝูงอีว่อง พวกเราก็ย่องยิงเอย
หญิง ย่องกันเถิดเอย เอยรา พ่อย่อง ย่องรึย่องพ่อย่อง ฝูงละมั่ง กวางทอง ย่องมากินถั่วเอย
ชาย ย่างกันเถิดนางเอย เอยรา แม่ย่าง ย่างรึย่าง เจอะเสือพี่ก็จะยิง เจอกระทิงพี่ก็จะย่าง ไม่ว่าเนื้อเสือเนื้อช้าง ย่างมาฝากน้องเอย
หญิง ย่างกันเถิดเอย เอยราพ่อย่าง ย่างหรือย่างพ่อย่าง ไม่ว่าเนื้อเสือเนื้อช้าง ย่างไปฝากเมียเอย
ชาย แถกันเถิดนางเอย เอยรา แม่แถ แถรึแถ แม่แถ จะลงก็หนองไหน ตัวพี่
จะไปหนองนั้นแน่ นกกระสาปลากระแหแถให้ติดดินเอย
หญิง แถกันเถิดนางเอย เอยราพ่อแถ แถรึแถพ่อแถ นกกระสา ปากระหก แถมาลงหนองเอย
ชาย ถองกันเถิดนางเอย เอยรา แม่ถอง ถองรึถองแม่ถอง ค่อยขยับจับจ้อง ถองให้ถูนางเอย
หญิง ถองกันเถิดนางเอย เอยรา แม่ถอง ถองรึถองพ่อถอง กล้าดีก็เข้ามาลอง จะโดนกระบองตีเอย
การแต่งกาย ผู้แสดงแต่งกายพื้นบ้านภาคกลาง
ชาวนาชาย นุ่งกางเกงขายาว เสื้อคอกลมผ่าอก แขนสั้นเหนือศอก สีน้ำเงินครามผ้าขาวม้าคาดเอว สวมหมวกปีก
ชาวนาหญิง นุ่งผ้าพื้นดำ โจงกระเบน เสื้อคอกลมผ่าอกแขนยาวสีน้ำเงินหรือต่างสี สวมงอบ
ระบำสี่บท
ประวัติที่มา
ระบำสี่บทเป็นระบำที่ยกย่องกันมาแต่โบราณว่า เป็นระบำแบบแผนประกอบด้วยบทร้องและทำนองเพลง
สี่ บท คือ
- พระทอง
- เบ้าหลุด
- สระบุหร่ง
- บลิ่ม
รวมเรียกว่า “ระบำสี่บท” ระบำชุดนี้ยกย่องกันว่าเป็นระบำแบบฉบับ เรียกว่า “ระบำใหญ่” มักจะนำไปประกอบการแสดงโขน เช่น ระบำเทพบุตรนางฟ้าในตอนต้นของชุด “นารายณ์ปราบนนทุก” หรือชุด “เมขลา – รามสูร” หรือในตอนแสดงความยินดีเมื่อผู้ทรงฤทธิ์ได้ปราบอสูรและยักษ์ร้ายพ่ายแพ้ไป
การแต่งกาย จะแต่งกายยืนเครื่องพระ – นาง
ระบำชุดนี้มีท่ารำสวยงามน่าชม แต่เดิมบทร้องและทำนองเพลงนั้นค่อนข้างยืดยาว และกินเวลาแสดงนานมาก มาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์จึงได้ตัดตอนบทร้องให้สันเข้า ตามบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ดังต่อไปนี้
เพลงพระทอง
เมื่อนั้น ฝ่ายฝูงเทวาทุกราศี
ทั้งเทพธิดานารี สุขเกษมเปรมปรีดิ์เป็นสุดคิด
เทพบุตรจับระบำทำท่า นางฟ้ารำฟ้อนอ่อนจริต
รำเรียงเคียงเข้าไปให้ชิด ทอดสนิทติดพันกัลยา
แล้วตีวงเวียนเปลี่ยนซ้าย ไล่ตีวงเวียนเปลี่ยนขวา
ตลบหลังลดเลี้ยวลงมา เทวัญกัลยาสำราญใจ
เพลงเบ้าหลุด
เมื่อนั้น นางเทพอัปสรศรีใส
รำล่อเทวาสุภาลัย ท่วงทีหนีไล่พอได้กัน
เทพบุตรฉุดฉวยชายสไบ นางปัดกรค้อนให้แล้วผินผัน
หลีกหลบลดเลี้ยวเกี่ยวพัน เหียนหันมาขวาทำท่าทาง
ครั้นเทพเทวัณกระชั้นไล่ นางชม้อยถอยไปเสียให้ห่าง
เวียนระวันหันวงอยู่ตรงกลาง ฝูงนางนารีก็ปรีดา
เพลงสระบุหร่ง
เมื่อนั้น ฝ่ายฝูงเทพไทถ้วนหน้า
รำเรียงเคียงคั่นกัลยา เลี้ยวไล่ไขว่คว้าเป็นแยบคาย
เทพบุตรหยุดยืนจับระบำ นางฟ้าฟ้อนรำทำฉุยฉาย
ทอดกรอ่อนระทวยกรีดกราย เทพไททั้งหลายก็เปรมปรีดิ์
เพลงบลิ่ม
เมื่อนั้น นางฟ้าธิดามารศรี
กรายกรอ่อนระทวยทั้งอินทรีย์ ดั่งกินรีรำฟ้อนร่อนรา
แล้วตีวงลดเลี้ยวเกี่ยวกล ประสานแทรกสันสนซ้ายขวา
ทอดกรงอนงามกิริยา เทวาปฎิพันธ์ก็เปรมปรีดิ์
ปี่พาทย์ทำเพลงช้า – เร็ว , ลา
ระบำย่องหงิด
ประวัติที่มา
เป็นระบำชุดหนึ่งซึ่งแทรกอยู่ในละครเรื่อง “อุณรุท” ตอน “ศุภลักษณ์วาดรูป” ระบำชุดนี้สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ เข้าใจว่าแต่เดิมมีเพียงบทร้อง เพลงยู่หงิด แล้วจบด้วยเพลงเร็ว – ลา ต่อมาได้มีการปรับปรุงระบำชุดนี้ขึ้นใหม่ ในสมัยรัชกาลที่ 2 โดยกรมพิทักษ์มนตรี (พระองค์ทรงเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญ มีความรู้ทางด้านนาฏศิลป์อย่างสูง สามารถในการประดิษฐ์ท่ารำได้อย่างงดงาม)
ในการโกนจุกหม่อมหลวงวงศ์ กุญชร บุตรสาวเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ได้ทรงนิพนธ์บทละครเรื่อง “อุณรุท” ตอน “อุ้มสมนางอุษา” เพื่อจัดแสดงในงานครั้งนี้ พระองค์ได้นำเอาระบำชุดนี้มาปรับปรุงเพลง บทร้องและท่ารำขึ้นใหม่
ปัจจุบันระบำย่องหงิดเป็นระบำชุดเบ็ดเตล็ดแบบมาตรฐาน มีท่ารำงดงาม นิยมนำมาแสดงในงานรื่นเริงต่างๆ (บางครั้งเรียกชื่อเรียกอย่างว่า “ยู่หงิด” ตามชื่อเพลงที่ร้อง)
การแต่งกาย ยืนเครื่องพระ – นาง
บทร้องเพลงย่องหงิด
เมื่อนั้น ฝ่ายฝูงเทพไทถ้วนหน้า
ขยับย่างนวยนาฏเข้ามา ใกล้ฝูงนางฟ้ายุพาพาล
แล้วซัดสองกรอ่อนชด ทำท่าพระรถโยนสาร
เรียงรอคลอเคล้าเยาวมาลย์ ประโลมลานทอดสนิทไปในที
นางสวรรค์กันกรป้องปัด บิดสบัดเบี่ยงบ่ายชายหนี
เทพบุตรทำท่าม้าตีคลี ท่วงทีเวียนตามอันดับกัน
หน้าพาทย์และเพลงร้อง ปี่พาทย์ทำเพลงรัว ร้องเพลงยู่หงิดคลอปี่พาทย์ จบแล้วทำเพลงแขกตาเขิ่ง และแขกเจ้าเซ็นตามอันดับ (บทร้องจากหนังสือ “ประชุมบทละครดึกดำบรรพ์” ในงานโกนจุก ม.ล. วงศ์ กุญชร )
ระบำนันทอุทยาน
ประวัติที่มา
เป็นระบำที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ในรัชกาลที่ 9 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยอาจารย์มนตรี ตราโมท ได้ประพันธ์บทร้องของเพลงชุดนี้ เพื่อประกอบการแสดงละครดึกดำบรรพ์ เรื่อง “อุณรุท” ตอน “กรุงพานชมทวีป” ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ที่ได้เคยจัดแสดง ณ โรงละครดึกดำบรรพ์ (วังบ้านหม้อของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์) ในตอนปลายสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งแต่เดิมจัดเป็นระบำเทวดา – นางฟ้า ใช้เพลงหน้าพาทย์ประกอบการรำ ไม่มีบทร้อง ครั้นต่อมาในรัชกาลที่ 9 เมื่อปีพ.ศ. 2490 กรมศิลปากรได้จัดแสดงละครตอนนี้ให้ประชาชนชม ณ โรงละครศิลปากร ในบริเวณพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ จึงได้มีการปรับปรุงการแสดง โดยเพิ่มชุดระบำนันทอุทยานนี้ แทนระบำเทวดา นางฟ้าชุดเดิม
ระบำชุดนี้ถือว่าเป็นระบำมาตรฐานชุดหนึ่ง ในรูปแบบของระบำสมัยในกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้แสดงแต่งกายยืนเครื่องพระ – นาง ปัจจุบันระบำชุดนี้ไม่ค่อยแพร่หลายนัก ทั้งนี้เพราะว่า บทร้องมีความหมายเฉพาะตัว ไม่เหมาะที่จะนำไปแสดง ณ โอกาสอื่น วิทยาลัยนาฏศิลปเห็นความสำคัญว่า เป็นระบำมาตรฐานที่มีแบบเฉพาะตัว และได้ปรับปรุงขึ้นใหม่ สมควรที่จะสืบทอดอนุรักษ์ จึงบรรจุไว้ในหลักสูตรเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ ลักษณะเฉพาะของระบำชุดนี้คือ บทร้องบทแรกของเพลงชมตลาด ท่ารำจะตีบทและความหยามตามบทร้อง สำหรับร้องเพลงต้นวรเชษฐ์ของเก่านั้นเข้าใจว่า หม่อมเข็ม กุญชร (หม่อมของเจ้าพระยาเทเวศร์ฯ) เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำของระบำนันทอุทยานชุดนี้ ส่วนท่ารำเพลงชมตลาดประดิษฐ์โดย หม่อมครูต่วน (ศุภลักษณ์) ภัทรนาวิก คุณครูลมุล ยมะคุปต์ คุณครูมัลลี (ครูหมัน) คงประภัศร์
เพลงชมตลาด
แดนเกษมเปรมใจใดจะทัน นันทวันของเราชาวแมนสรวง
สารพัดงามสะพรั่งไปทั้งปวง แลละล่วงละลานพิศติดหทัย
มีสระแก้วแวววาววะวาววับ แลระยับรุ้งปรั่งรังสีใส
อุบลบานตระการล้ำผ่องอำไพ ชูไสวแข่งฉวีนิรมล
เพลงต้นวรเชษฐ์
ที่แถวทางหว่างวิถีมณีลาด งามโอภาสผ่องแผ้วแนวสถล
พุ่มไม้ดอกออกอร่ามงามพึงยล ต่างต่อต้นต่างสลับสีสรรพกัน
มีน้ำพุพุ่งซ่าธาราไหล แลวิไลวิลาศล้วนสวนสวรรค์
สำหรับองค์อัมรินทร์ปิ่นเทวัญ ซึ่งรังสรรค์สร้างสมอบรมมา
-ออกเพลงวรเชษฐ์ เร็ว-ลา-
เพลงเชิดฉิ่ง – เชิดจีน
ประวัติที่มา
ระบำเชิดจีนเป็นระบำที่ปรมาจารย์ทางนาฎศิลป์ได้ประดิษฐ์ ขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เพลงที่ใช้ประกอบการรำคือ เพลงหน้าพาทย์ เชิดจีน ซึ่งเป็นเพลงที่ใช้ประกอบการแสดงโขนละครมาแต่โบราณและเพลงเชิดจีนตัวที่สามซึ่งหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ครูมีแขก) ได้แต่งขึ้นไว้สำหรับการบรรเลงของวงปี่พาทย์ ถวายพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงพอพระราชหฤทัยและโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานเลื่อนยศเป็นพระประดิษฐไพเราะ
เพลงเชิดจีนทางดนตรีที่พระประดิษฐไพเราะแต่งขึ้นนี้ ต่อมาปรมาจารย์ทางนาฏศิลป์ได้นำเอาทำนองเพลงท่อนที่ 3 ซึ่งเรียกว่า เชิดจีนตัวที่ 3 มาประดิษฐ์ท่ารำประกอบทำนองเพลงให้ต่อเนื่องกับเพลงเชิดฉิ่ง จัดแสดงเป็นระบำชุดเบ็ดเตล็ด ผู้แสดงเป็นตัวนางล้วนแต่งกายนุ่งผ้ายกจีบหน้านาง ห่มสไบตาด สวมกระบังหน้า แสดงครั้งแรกในงานฉลองรัฐธรรมนูฐ ปี พ.ศ. 2479
ผู้ประดิษฐ์ท่ารำระบำเชิดจีน คือ หม่อมครูต่วน (ศุภลักษณ์) ภัทรนาวิก คุณครูลมุล ยมะคุปต์ ต่อมาคุณครูทั้ง 2 ท่าน ได้ปรับปรุงรูปแบบการแสดงชุดนี้ แตกต่างจากที่ประดิษฐ์ในครั้งแรก กล่าวคือ
1. ให้ผู้แสดงแต่งกายยืนเครื่องพระ – นาง
2. เพิ่มเติมท่ารำในเพลงเชิดฉิ่ง
3. จัดรูปแบบในการแปรแถวใหม่
แล้วเรียกชื่อระบำชุดปรับปรุงนี้ว่า “ระบำเชิดจีน (พระ – นาง )” จัดแสดงในงานรับรองแขก ผู้มีเกียรติของรัฐบาลสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม และงานรื่นเริงของหน่วยราชการและเอกชน นับเป็นระบำไทยมาตรฐานที่มีลีลาท่ารำประณีตงดงามและท่วงทำนองก็ไพเราะสอดคล้องสัมพันธ์กับท่ารำอย่างสวยงามชุดหนึ่ง
ระบำเชิดจีนนี้ เป็นการแสดงระบำที่รำเข้ากับทำนองเพลงไม่มีบทร้อง
รำซัดชาตรี
ประวัติที่มา
เป็นการรำที่ปรับปรุงมาจากการรำซัดไหว้ครู ของละครโนรา – ชาตรี ซึ่งเป็นละครรำที่เก่าแก่ของไทย การรำซัดนี้เติมตัวนายโรง จะเป็นผู้รำไหว้ครูเบิกโรงเสียก่อน ต่อมากรมศิลปากรได้นำมาดัดแปลงให้มีผู้รำทั้งชายหญิง เพื่อให้น่าดูยิ่งขึ้น แต่ก็ยังคงรักษาจังหวะอันเร่าร้อนของเดิมไว้ ซึ่งเป็นที่นิยมกัน ต่อมา ผู้ประดิษฐ์ท่ารำคือ คุณครูมัลลี (ครูหมัน) คงประภัศร์ และคุณครูลมุล ยมะคุปต์
ฉุยฉายเบญจกายแปลง
ประวัติที่มา
การแสดงชุดฉุยฉายเบญจกายแปลงนี้ อยู่ในละครเรื่อง “รามเกียรติ์” ตอน “นางลอย” เนื้อเรื่องย่อมีดังนี้
เบญจกายเป็นลูกสาวของพิเภกและนางตรีชฎา เป็นหลานของทศกัณฐ์ พระยายักษ์เป็นเจ้ากรุงลงกา ซึ่งขณะนั้นทศกัณฐ์ทราบข่าวศึกที่พระรามยกทัพมาทำศึก ชิงเอานางสีดาคืนไป ทศกัณฐ์จึงคิดกลอุบายให้นางเบญจกายแปลงตัวเป็นสีดา ทำเป็นตายลอยน้ำมายังพลับพลาของพระราม เพื่อให้พระรามเข้าใจผิดว่านางสีดาตายแล้ว จะได้ยกทัพกลับไป ฉะนั้นบทฉุยฉายเบญจกายแปลงถูกประพันธ์ขึ้นเพื่อให้นางเบญจกายแปลงองค์เป็นสีดา เมื่อแปลงเสร็จแล้วก็ขึ้นไปเฝ้าทศกัณฐ์เพื่อให้สำรวจว่าเหมือนนางสีดาหรือไม่อย่างไร บทร้องฉุยฉายเบญจกายแปลงนี้ เป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์
การแต่งกาย ยืนเครื่องนาง
โอกาสที่แสดง งานทั่วไป
จำนวนผู้แสดง แสดงเดียว
บทร้องฉุยฉายเบญจกายแปลง
ฉุยฉายเอย จะขึ้นไปเฝ้าเจ้าก็กรีดกราย
เยื้องย่างเจ้าช่างแปลงกาย ให้ละเมียดละม้ายสีดานงลักษณ์
ถึงพระรามเห็นทรามวัย จะฉงนพระทัยให้อะเลื่ออะหลัก
งามนักเอย ใครเห็นพิมพักตร์ก็จะรักจะใคร่
หลับก็จะฝันครั้นตื่นก็จะคิด อยากจะเห็นอีกสักนิดให้ชื่นใจ
งามคมดุจคมศรชัย ถูกอกทะลุในให้เจ็บอุรา
แม่ศรี
แม่ศรีเอย แม่ศรีรากษสี
แม่แปลงอินทรีย์ เป็นแม่ศรีสีดา
ทศพักตร์มาลักเห็น จะตื่นเต้นในวิญญาณ
เหมือนล้อเล่นให้เป็นบ้า ระอาเจ้าแม่ศรีเอย
อรชรเอย อรชรอ้อนแอ้น
เอวขาแขนแมน แม้นเหมือนกินรี
ระทวยนวยนาฎ วิลาศจรลี
ขึ้นปราสาทมณี เฝ้าพระปิตุลาเอย
เพลงเร็ว – ลา
ฉุยฉายพราหมณ์
ประวัติที่มา
ฉุยฉายพราหมณ์ เป็นตอนหนึ่งในบทละครเบิกโรง เรื่อง พระคเณศเสียงา พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นมาจากตำนานทางเทพเจ้า
เรื่องย่อ
หลังจากที่รามปรศุถูกพระอุมาสาปให้แข็งเป็นหิน ด้วยเหตุที่ขว้างขวานไปโดนงาของพระคเณศหัก บรรดาพราหมณ์ทั้งหลายก่อบังเกิดความเดือดร้อน เพราะรามปรศุนั้นเป็นหัวหน้าแห่งพราหมณ์ ก็พากันขึ้นเฝ้าพระนารายณ์ให้ทรงแก้ไข พระนารายณ์จึงแปลงกายเป็นพราหมณ์น้อยไปร่ายรำต่อหน้าพระอิศวรและพระอุมา พระอุมาบังเกิดความรักใคร่เอ็นดูจึงให้พราหมณ์น้อยขอพรได้ 1 อย่าง พราหมณ์น้อยจึงขอพรให้รามปรศุฟื้นขึ้นจากการถูกสาป พระอุมาจำต้องทอนคำสาป รามปรศุฟื้นขึ้นจากการถูกสาป ด้วยความปิติยินดีของพราหมณ์ทั้งหลาย
เนื้อความในบทของฉุยฉายพราหมณ์นั้น ได้กล่าวถึงความงดงามของผู้รำตลอดจนท่าทีการร่ายรำไปตามบท การรำได้พรรณนาชมความงามของเนตรและความงามของหัตถ์ ตลอดจนความน่ารักของผู้ไร้เดียงสา ดังบทร้องต่อไปนี้
บทร้องฉุยฉายพราหมณ์
ฉุยฉายเอย ช่างงามขำช่างรำโยกย้าย
สะเอวแสนอ่อนอรชรช่วงกาย วิจิตรยิ่งลายที่คนประดิษฐ์
สองเนตรคมขำแสนดำมันขลับ ชม้อยเนตรจับยิ่งสวยสุดพิศ
สุดสวยเอย ยิ่งพิศยิ่งเพลินเชิญให้งงงวย
งามหัตถ์งามก็อ่อนระทวย ช่างนาฎช่างนวยสวยยั่วนัยนา
ทั้งหัตถ์ทั้งกรก็ฟ้อนถูกแบบ ดูยลดูแยบสวยยิ่งเทวา
แม่ศรี
น่าชมเอย น่าชมเจ้าพราหมณ์
ดูทั่วตัวงาม ไม่ทรามเลยจนนิด
ดูผุดดูผ่อง เหมือนทองทาติด
ยิ่งเพ่งยิ่งพิศ ยิ่งคิดชมเอย
น่ารักเอย น่ารักดรุณ
เหมือนแรกจะรุ่น จะรู้เดียงสา
เจ้ายิ้มเจ้าแย้ม แก้มเหมือนมาลา
จ่อจิตติดตา เสียจริงเจ้าเอย
เพลงเร็ว – ลา
เพลงเชิดฉิ่ง , ศุภลักษณ์
การรำเชิดฉิ่งศุภลักษณ์เป็นการร่ายรำของนางศุภลักษณ์ ซึ่งเป็นตัวละครสำคัญตัวหนึ่งในเรื่อง “อุณรุท” ตอน “ศุภลักษณ์วาดรูป” ที่ใช้สำหรับการแสดงละครในบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โดยทรงนำเค้าเรื่องมาจากมหากาพย์ภารตะและคัมภีร์ปุราณะ อันแสดงถึงอภินิหารของพระนารายณ์ ปางกฤษณะอวตาร
นางศุภลักษณ์เป็นพี่เลี้ยงของนางอุษา รับอาสาในการติดตามพระอุณรุทมาให้นางอุษา ในการเดินทาง เนื่องจากนางศุภลักษณ์เป็นยักษ์มีอิทธิฤทธิ์ จึงสามารถเหาะเหินเดินอากาศเพื่อไปวาดรูปเหล่าเทวดาบนทรวงสวรรค์ โดยใช้เพลงเชิดฉิ่งประกอบลีลาท่ารำ ไม่มีบทร้องและในการรำเชิดฉิ่งศุภลักษณ์จะมีลักษณะพิเศษ เรียกว่า “ตื่นกลอง” โดยสังเกตจากเสียงกลอง รัวถี่ๆ แทรกอยู้ในการบรรเลง ผู้ถ่ายทอดท่ารำชุดนี้คือ อาจารย์เฉลย ศุขะวนิช เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์ไทย ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากหม่อมครูนุ่ม เมื่อครั้งศึกษาอยู่ ณ วังสวนกุหลาบ
การแต่งกาย ยืนเครื่องนางแต่ห่มผ้า 2 ชาย และใส่รัดเกล้าเปรว
โอกาสที่แสดง ใช้ประกอบการแสดงเรื่อง “อุณรุท” ตอน “ศุภลักษณ์วาดรูป” หรือ การแสดงเบ็ดเตล็ดตามความเหมาะสม
ระบำโบราณคดี
การแสดงชุดนี้ เกิดจากแนวคิดของนายธนิต อยู่โพธิ์ อดีตอธิบดีกรมศิลปากรที่นำวัตถุประสงค์จูงใจให้ผู้ดูผู้ชมสืบสานความรู้จากโบราณวัตถุสถานให้แพร่หลาย โดยอาศัยการปั่น หล่อ จำหลักของศิลปโบราณวัตถุสมัยต่าง ได้แก่
1. สมัยทวารวดี
2. สมัยเชียงแสน
3. สมัยศรีวิชัย
4. สมัยสุโขทัย
5. สมัยลพบุรี
มาเป็นหลักในการวางแนวสร้างระบำประจำสมัยของศิลปโบราณวัตถุแต่ละชุดขึ้น ซึ่งมีทั้งหมด 5 ชุด คือ
ระบำทวารวดี ระบำเชียงแสน ระบำศรีวิชัย ระบำสุโขทัย ระบำลพบุรี รวมเรียกกันเป็นที่รู้จักกันว่า “ระบำชุดโบราณคดี” โดยมีนายธนิต อยู่โพธิ์ เป็นผู้ประดิษฐ์สร้าง นายมนตรี ตราโมท เป็นผู้สร้างเพลงดนตรี คุณหญิงแพร้ว สนิทวงเสนี นางลมุล ยะมคุปต์ นางศุขวนิต ใช้ท่ารำและฝึกซ้อม นายสนิท ดิษฐ์พันธ์ ออกแบบเครื่องแต่งกาย ระบำชุดนี้ได้จัดแสดงถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมราชินีนาถทอดพระเนตรเป็นครั้งแรก ในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารใหม่ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2510
ระบำทวารวดี ระบำชุดนี้ สร้างขึ้นจากการสอบสวน ค้นคว้าและประดิษฐ์ท่ารำ เครื่องดนตรี เครื่องแต่งกาย จากภาพปั้น และภาพจำหลักที่ถูกค้นพบ ณ โบราณสถานสมัยทวารดี เช่น ครูบัว อู่ทอง นครปฐม ฯลฯ นักปราชญ์ในทางโบราณคดี ร่วมกันวินิจฉัยตามหลักฐานว่า ประชาชนชาวทวารวดีเป็นมอญคือ เป็นเผ่าชนที่พูดภาษามอญ ดังนั้นดนตรีและท่ารำในระบำชุดนี้ จึงมีสำเนียงและลีลาเป็นแบบมอญ เครื่องดนตรีประกอบด้วย พิณ 3 สาย จะเข้ ขลุ่ย ระนาดตัด ตะโพน มอญ ฉิ่ง ฉาบและกรับ ผู้ประดิษฐ์ท่ารำคือ นางลมุล ยะมคุปต์ นางเฉลย ศุขะ
วนิช ได้จัดแสดงให้ประชาชนชมครั้งแรก ณ สังคีตศาลา งานดนตรีมหกรรมประจำปี เมื่อวันที 12 มกราคม 2510
ระบำเชียงแสน สร้างขึ้นตามศิลปะโบราณวัตถุสถาน สมัยเชียงแสน ซึ่งมีเมืองหลวงชื่อนั้นตั้งอยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงทางตอนเหนือของประเทศไทยในท้องที่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ศิลปะแบบเชียงแสนได้แพ่หลายไปทั่วดินแดนนภาคเหนือของไทยซึ่งในสมัยโบราณเรียกว่า อาณาจักรล้านนา โดยมีนครเชียงใหม่เป็นเมืองหลวง ต่อมาศิลปะแบบเชียงแสนได้แพร่หลายลงมาตามลุ่มแม่น้ำโขงเข้าไปในพระราชอาณาจักรลาวที่เรียกว่า ล้านช้างหรือกรุงศรีสัตนาคนหุต ดังนั้นท่ารำและดนตรี ตลอดจนเครื่องแต่งกายจึงมีลักษณะและลีลา แบบภาคเหนือของไทยและภาคตะวันออกเฉียวเหนือละคนกัน ครูผู้ประดิษฐ์ท่ารำคือนางลมุล ยะมคุปต์ นางเฉลย ศุขะวนิช เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงได้แก่ แคน ปี่จุ่ม สะล้อ ซึง ตะโพน ฉิ่ง ฉาบ และฆ้องหุ่ย
เพลงศรีวิชัย
ประวัติความเป็นมา
เมื่อ พ.ศ.2509 ท่านตนกู อับดุล รามานห์ นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ได้ติดต่อขอนาฏศิลป์ไทยไปถ่ายทำประกอบภาพยนตร์ เรื่อง Raja Bersiong ที่ท่านแต่งขึ้น ทางกรมศิลปากรโดย นายธนิต อยู่โพธิ์ อธิบดีกรมศิลปากรขณะนั้น ได้ร่วมกับนักวิชกาการทำการศึกษาค้นคว้าหลักฐาน และได้ลงความเห็นว่า อาณาจักรศรีวิชัยมีความเจริญรุ่งเรืองในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 15 – 18 โดยมีศูนย์กลางอยู่ทางตะวันออกของเกาะสุมาตรา ไปจนถึงตะวันตกของชวา ตลอดจนแหลมมลายู แล้วเลยเข้ามาทางตอนใต้ของไทยจนถึงบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี
จากหลักฐานทางศิลปด้านโบราณวัตถุ สมัยศรีวิชัยที่ปรากฎอยู่ในประเทศไทยประกอบกับภาพจำหลักของพระสถูป บุโรพุทโธ ในชวา จึงได้จำลองภาพการแต่งกาย รวมทั้งเครื่องดนตรี มารวมเป็นศิลปะลีลานาฏศิลป์ไทยผสมกับนาฏศิลป์ชวา แล้วเรียกระบำชุดนี้ว่า “ ระบำศรีวิชัย “ ผู้ที่คิดประดิษฐ์ท่ารำชุดนี้คือ คุณครูลมุล ยมะคุปต์ และคุณครูเฉลย ศุขวณิช ผู้ประพันธ์ทำนองดนตรีคือ อาจารย์มนตรี ตราโมท ผู้ประดิษฐ์เครื่องแต่งกายคือ อาจารย์สนิท ดิษฐพันธุ์
ระบำชุดนี้ แสดงครั้งแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธุ์ พ.ศ.2510 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์และประเทศสิงคโปร์ ต่อมาจึงนำมาแสดงในประเทศไทย จนทุกวันนี้
เครื่องแต่งกาย
การแต่งกายและเครื่องประดับของระบำโบราณคดีชุดศรีวิชัยนี้ ได้แนวคิดมาจากภาพจำหลีกของภาพปั้น ณ สถูปบุโรพุทโธ ในชวา ดังนี้
1. เสื้อในนาง ไม่มีแขน
2. ผ้านุ่ง เป็นผ้าโสร่ง บาติค จีบหน้านาง
3. ผ้าคาดรอบสะโพก ปล่อยชายห้อยทางซ้ายมือ
4. ผ้าสไบ มีแผ่นโค้งเหนือไหล่ ( สพักไหล่ ) ติดสร้อยตัว 2 เส้น
5. เครื่องประดับมี สร้อยคอ ต่างหู กำไลมือ กำไลเท้า กำไลต้นแขน เข็มขัด มีโบว์เส้นเล็กสอดใต้เข็มขัด 2 เส้น
6. ปมเกล้ามวยตึงไว้ที่ท้ายทอย สวมเกี้ยวรอบมวย ปักปิ่น
7. สวมกระบังหน้า
เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงชุดนี้ ได้แก่
1. กระจับปี่
2. ฆ้อง 3 ลูก แบบฆ้องโนห์รา
3. ตะโพน
4. กลองแขก
5. ขลุ่ย
6. ซอสามสาย
7. ฉิ่ง
8. ฉาบ
9. กรับ
นาฏยศัพท์ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ
นาฏศัพท์ทั่วไป ได้แก่
1. จีบ
2. จรดเท้า
3. ย่ำเท้า
4. ลักคอ
5. ขยับเท้า หรือเขยิบเท้า
6. เคลื่อนเท้า
นาฏยศัพท์เฉพาะ ได้แก่
1. จีบล่อแก้ว
2. วง( ศรีวิชัย )
3. ยักไหล่ หรือกระทายไหล่
ระบำสุโขทัย สร้างขึ้นในตามสมัยโบราณวัตถุสถาน สมัยสุโขทัย ซึ่งมีพระพุทธรูปปูนปั่นและหล่อสัมฤทธิ์ โดยเฉพาะพระพุทธรูปปางลีลา แช่มช้อยงดงามได้รับยกย่องว่า เป็นแบบอย่างศิลปกรรมที่งดงามอย่างยิ่ง แสดงว่าประชาชนชาวสุโขทัยมีความเจริญอย่างยิ่ง ในเชิงศิลปวัฒนธรรม เศรษฐกิจและสังคม ท่ารำและการแต่งกายสร้างขึ้นตามความรู้สึกและแนวสำเนียง ถ้อยคำในศิลาจารึก ประกอบลีลาภาพปิ่นหล่อในสมัยนั้นได้แก่ ปี่ใน ฆ้องวง ซอด้วง ซอสามสาย กระจับปี่ ตะโพน ฉิ่ง โหม่งและกรับ
ระบำลพบุรี ระบำชุดนี้สร้างขึ้นจากหลักฐานทางโบราณวัตถุและโบราณสถาน สมัยที่สร้างขึ้งตามศิลปะแบบขอม เช่น พระปรางค์สามยอด ที่จังหวัดลพบุรี ปราสาทหินพิมาย ที่จังหวัดนครราชสีมา ปราสาทหินพนมรุ่ง ที่จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นต้น นักปราชญ์โบราณคดีกำหนด เรียกว่า ศิลปะลพบุรี ด้วยเหตุนี้เองทำนองเพลงของระบำชุดนี้ จึงมีสำเนียงเป็นเขมร เครื่องแต่งกายและลีลาท่ารำ ประดิษฐ์จากรูปหล่อโลหะ ศิลปะสมัยลพบุรี ผู้ประดิษฐ์ท่ารำคือ นางลมุล ยะมคุปต์ นางเฉลย ศุขะวนิช เครื่องดนตรีที่ใช้ในระบำชุดนี้คือ ซอสามสาย พิณน้ำเต้า ปี่ใน โทน กระจับปี่ ฉิ่ง ฉาบและกรับ
ระบำมยุราภิรมย์
ประวัติที่มา
ระบำมยุราภิรมย์ชุดนี้ เป็นระบำที่กรมศิลปากรรับมอบหมายให้นายมนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญด้านดุริยางค์ไทย กรมศิลปากรและศิลปินแห่งชาติ แต่งทำนองเพลงเพื่อประกอบท่าร่ายรำหมู่นกยูงในการแสดงละครเรื่อง “อิเหนา” ตอน “สียะตราพบนางเกนหลง” และตั้งชื่อเพลงนี้ว่า “เพลงมยุราภิรมย์” จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์ นายกรัฐมนตรี ได้จัดแสดงในโอกาสรับรองประธารนาธิปบดีซูการ์โน แห่งสาธารรัฐอินโดนิเซีย ราชอาคันตุกะ ณ หอประชุมกระทรวงวัฒนธรรม สนามเสือป่า เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2505
ผู้ประดิษฐ์ท่ารำคือ นางลมุล ยะมคุปต์ ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ วิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร
ดนตรี วงปี่พาทย์ไม้นวม เครื่องห้าหรือเครื่องคู่หรือเครื่องใหญ่ ทำนองเพลง มยุราภิรมย์ เป็นเพลงประเภทอัตราสองชั้นและชั้นเดียว ใช้กลองแขกตีหน้าทับลาง ไม่มีบทร้อง
การแต่งกาย แบบเบ็ดเตล็ด เสื้อกางเกงคนละท่อนสีเขียว ปีก หาง เล็บ หัวนกยูง เปิดหน้า
ลักษณะท่ารำ ท่ากรีดร่ายของนกยูง ผสมผสานกับลีลาท่ารำ พร้อมกับการแปรแถวรูปแบบต่างๆ
ฟ้อนพม่าเปิงมาง
ประวัติที่มา
ฟ้อนพม่าเปิงมางนี้ ได้นำมาจากการแสดงระบำกลอง ซึ่งจัดแสดงขึ้น ณ โรงละครแห่งชาติ เปิงมางนี้เป็นกลองของพม่าซึ่งการแสดงชุดนี้จะเป็นทำนองเสียส่วนมาก ผู้ประดิษฐ์ท่ารำคือนางลมุล ยะมคุปต์ นางเฉลย ศุขะ
วนิช ได้นำท่ารำนี้มาถ่ายทอดให้กับนักเรียนสาขานาฏศิลปละคร นำออกแสดง
เซิ้งสัมพันธ์
เซิ้ง เป็นการละเล่นพื้นเมืองของชาวไทยที่อยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการละเล่นได้แก่ แคน กร๊อบแกร๊บ โหม่ง กลองเตะและกลองยาว ลีลาของการเซิ้งจะมีความกระฉับกระเฉงแคล้วคล่องว่องไว ทั้งนี้เพื่อความสนุกสนาน กระบวนการเล่นเซิ้งนี้ส่วนใหญ่จะนำเอาอาชีพหลักมาประกอบด้วยเช่น นำอาชีพตกปลาโดยใช้สวิงมาประดิษฐ์เป็นลีลาการเล่นเซิ้งสวิง นำเอากัปกริยาที่ผู้หญิงชาวบ้านเอาอาหารใส่กระติบข้าว ไปส่งข้าวให้สามีหรือญาติพี่น้องที่อยู่กลางไร่นา มาเป็นลีลาท่าเซิ้งกระติบข้าว สำหรับเซิ้งชุดนี้อาจารย์ปฐมรัตน์ ถิ่นธรณี เป็นผู้คิดลีลากระบวนจังหวะกลอง คุณครูลมุล ยะมคุปต์และคุณครูเฉลย ศุขะวณิชเป็นผู้ปรับปรุงลีลาท่ารำ
ระบำนพรัตน์
ในการแสดงเรื่อง สุวรรณหงส์ ตอน พราหมณ์เล็กพราหมณ์โตของกรมศิลปากร มีเนื้อร้องตอนหนึ่งว่า พระสุวรรณหงส์พาพราหมณ์เล็ก (พระเกศสุริยงแปลง) ไปชมถ้ำแก้ว เพื่อจะจับพิรุณว่าเป็นหญิงหรือชาย ในการแสดงตอนนี้ มีความประสงค์ให้หมู่แก้วนวรัฐออกมาจับระบำเป็นบุคลาธิษฐานขึ้น เพื่อถวายความสวยงามและประโยชน์ของเพชรแต่ละอย่างออกมาเด่นชัด ด้วยท่าระบำรำร้องและทำนองเพลง ทั้งนี้โดยมอบให้อาจารย์มนตรี ตราโมท ประพันธ์บทร้องขึ้นใหม่พร้อมกับหาทำนองเพลง อาจารย์มนตรี ตราโมทได้นำเอาทำนองเพลงสุรินทราหูและเพลงเร็วเก่า นำมาดัดแปลงประกอบการแสดงชุดนี้และนำออกมาแสดงครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2492 ณ โรงละครศิลปากร ปรากฏว่าได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก
ระบำนพรัตน์เป็นการบรรยายและแสดงให้เห็นถึงคุณประโยชน์ของอัญมณีแต่ละชนิด ซึ่งมีความแตกต่างกันไป จัดว่าเป็นระบำที่สวยงามมากชุดหนึ่ง นิยมนำมาแสดงในงานมงคล
การแต่งกาย แต่งตามสีของอัญมณีแต่ละชนิด พร้อมทั้งเครื่องประดับสีเดียวกัน
บทร้องระบำนพรัตน์
รัตนาคูหากายสิทธิ์ ล้วนวิจิตรเนาวรัตน์จรัสฉาย
แสงมณีสีวาวอร่ามพราย เป็นเลื่อมลายแลสลับระยับตา
อันเพชรดีสีขาวรุ้งพราวเพริศ สุดประเสริฐแสงสีวิเลขา
ใครประดับเพชรดีมีราคา เรื่องเดชานุภาพด้วยดวงมณี
ทับทิมแท้แลดูแดงอร่าม แสงวาววามแจ่มจรัสรัศมี
กำจัดปวงโรคาพยาธิ พูนทวีสินทรัพย์นับอนันต์
มรกตสุดขจีสีเขียวขำ แสนงามล้ำเลอเลิศประเสริฐสรรพ์
ประดับกันเขี้ยวงาสารพัน คุ้มภยันตราล้วนมวลพารา
อันมณีสีเหลืองเรืองวิรุจน์ นี่คือบุษราคัมเลิศล้ำค่า
เป็นอาภาณ์พูนสวัสดิ์วัฒนา ชนม์พรรษายืนดำรงคงนิรันดร์
แก้วโกเมนแดงก่ำน้ำใสสด แสงงามงดรูจีแสงสีสรรพ์
ผู้ประดับรับเคารพอภิวันท์ ประชานันต์นับถือเลื่องลือนาม
นิลกาฬน้ำเงินก่ำล้ำหมอกเมฆ รุจิเรขรุ่งโรจน์โชติอร่าม
อำนวยสรรพ์สุขารมณ์อภิธาน สิ่งดีงามหลามหลั่งสะพรั่งมา
สีขาวหม่นหมอกมัวสลัวแสง บอกแสดงมุกดาหารตระการสง่า
ดลขจัดสัตว์ร้ายพ่ายเดชา อสรพิษนานาล่าหลีกไกล
แก้วเพทายพรายแสงสีแดงระเรื่อ พรรณอะเคื้อลายองผุดผ่องใส
นำศิริมงคลดลโชคชัย กำจัดภัยผองอุบาทว์ให้คลาดคลา
แก้วไพฑูรย์ชุ่นฉวีสีไม้ไผ่ สังวาลย์ไหมสาแหรกผ่านประสานสายบันดาลชัยชนะหมู่ศัตรูร้าย แผ่กำจายเสน่ห์ติดจับจิตเอย
เพลงสุรินทราหู
สีขาวผ่องเพชรดี ทับทิมสีมณีแดง
เขียวใสแสงมรกต เหลืองใสสดบุษราคัม
แดงแก่ก่ำโกเมนเอก สีหมอกเมฆนิลกาฬ
มุกดาหมอกมัว แดงสลัวเพทาย
สังวาลย์สายไพฑูรย์ เจิดจำรูญนพรัตน์
อวยสวัสดิภาพล้วน ปวงวิบัติขจัดพ้น
ผ่านร้ายกลายดี
ปี่พาทย์ทำเพลงรัว
ฟ้อนม่ายมุ้ยเชียงตา
ฟ้อนม่ายมุ้ยเชียงตานี้ พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ทรงดัดแปลงมาจาก “ฟ้อนกำเข้อ” หรือระบำผีเสื้อ ซึ่งเป็นการละเล่นของชาวไทยใหญ่และชาวลานนามาแต่โบราณ มีประวัติไว้ว่า
“ประวัติของม่ายมุ้ยเชียงตา” มีดังนี้ พระราชชายาเจ้าดารารัศมีทรงเห็นว่าการฟ้อนรำซ้ำซาก อยากจะทรงเปลี่ยนแปลงให้แปลกตาบ้าง จึงมีพระราชประสงค์ให้ตัวระบำพม่า มาแสดงทอดพระเนตร ถ้าเหมาะสมก็จะทรงดัดแปลงมาผสมกับรำไทยเป็นพม่ากลาย สัก 1 ชุด ได้รับสั่งให้เจ้าจันทรังษี ( น้องสาวเจ้า ทิพวรรณ
กฤษดากร) ซึ่งเป็นภรรยาของพ่อค้าไม้ในพม่า ให้หาตัวระบำมาถวาย เจ้าจันทรังษีหาได้ชาย 1 หญิง 1 มาแสดงถวายทอดพระเนตร จึงทรงรับไว้เป็นครูฝึกอ่อนอยู่ระยะหนึ่งทรงเห็นว่า ท่ารำของชายไม่ค่อยจะน่าดูนัก จึงรับสั่งให้ครูหญิงแสดงท่ารำของระบำพม่า ที่แสดงในที่รโหฐานของกษัตริย์พม่าให้ทอดพระเนตร ก็พอพระทัยจึงได้ทรงดัดแปลงท่ารำมาเป็น ท่าระบำผีเสื้อ โดยใช้บทเพลงและเนื้อร้องพม่าตามเดิม เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ รัชกาลที่ 7 เสด็จเยี่ยมมณฑลพายัพ และได้เสด็จมาเสวยพระกายหารเย็นที่วังของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี จึงได้ทรงเปลี่ยนจากชุดผีเสื้อมาเป็นระบำในที่รโหฐาน แสดงถวายโดยใช้ภาพในหนังสือเรื่อง “พระเจาสีป้อ” ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันพงศ์ เป็นตัวอย่าง การแสดงฟ้อนม่ายมุ้ยเชียงตาถวายทอดพระเนตรครั้งนั้น ใช้ผู้แสดง 16 คน เป็นคนเชียงใหม่ทั้งหมด และใช้เวลานามาก ท่ารำก็ซ้ำหลายตอน ครั้นเมื่อซ้อมจะแสดงในงานวัดสวนดอกครั้งสุดท้าย หม่อมแส หัวหน้าครู ฝึกได้ทูลถามว่า ม่ายมุ้ยเชียงตานี้ จะใช้การแต่งกายเป็นชาย 1 แถว หญิง 1 แถว จะสมควรไหม รับสั่งตอบว่า เราซ้อมโดยใช้แบบอย่างระบำในที่รโหฐานของเขา ก็จะต้องรักษาระเบียบประเพณีของเขาไว้ ระบำชุดนี้ต้องใช้หญิงล้วนตามธรรมเนียม หากว่าท่ารำซ้ำกันจะตัดออกเสียบ้างก็ดี จะได้ไม่เบื่อตา การรักษาประเพณีเดิมเป็นเรื่องสำคัญมาก ถ้าอยากจะใช้การแต่งกายเป็นพม่าชายข้าง ก็ดัดแปลงม่านเม้เล้ เป็นชาย 1 แถว หญิง 1 แถวก็ได้ การฟ้อนม่านนี้ แม้พระราชชายาเจ้าดารารัศมี จะทรงดัดแปลงมาจากพม่าก็จริง แต่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า พม่าได้แบบอย่างการรำละครไทยไปเป็นละครชั้นสูงของเขา ชาวพม่าเรียกว่า ละครโยเดีย คำว่า โยเดีย ก็คือ อโยธยานั่นเอง
ชุดฟ้อนม่านนี้ ผู้แสดงเป็นหญิงล้วน มีไม่ต่ำกว่า 3 คน เครื่องแต่งตัวเป็นแบบพม่า นุ่งผ้าซิ่นยาวถึงตาตุ่ม
สวมเสื้อแขนยาว ตัวเสื้อยาวแค่เอว มีผ้าแพรสีคล้องคอยาวลงมาถึงเข่า ผมเกล้าสูงปล่อยชาย ผมลงมาทางด้านไหล่ขวา มีพวงมาลัยดอกไม้สดสวมรอบมวย และมีพวงอุษาห้อยลงมากันชายผม
ท่วงทีที่ฟ้อน มีทั้งช้าและเร็ว ส่วนรูปขบวนที่ฟ้อนก็เป็นแถวบ้าง จับคู่บ้างและเป็นครึ่งวงกลมบ้าง บางตอนก็จะจับชายผ้าร่ายรำคล้ายปีกผีเสื้อ เพลงที่ร้องเป็นเพลงพม่า แต่คนไทยนำมาร้องจนเพี้ยนเสียงเดิมไปหมด แม้พม่าเองก็ฟังไม่เข้าใจ ดังนี้
บทขับร้องฟ้อนม่ายมุ้ยเชียงตา
อ้ายูเมตาเมี้ย สู่เค สู่เค สู่เค อ้า
โอลาชินโย ขิ่น ขิ่น เลบาโละ ขิ่น ขิ่น เลบาโละ
ซูเพาตูหู กระตกกระแตบาโละ เวลายูหู โอเมลา
ซวยตองบู ปูเลเลรส โอบาเพ่ เฮ เฮ เฮ เฮ่ มิสตามาตาบ่าเล้
ดีเมาเซท แดละแม่กว่า ดีเมาเซท แดละแม่กว่า
แม่วฟิล กันทา ซวย ซวยไล โอดีแล แมวาตอย
ยียอมไม ส่วนด้านกว่าแคะ ปู่เลเส
โอนิสันเลเฟ ปู่เลเส เซนิเก เพมาเพ
ตีตาแมวเย เจาพีละซีกระเตเตียวโว คานุธานุเว
แต่เวลา ยี้หวี่แง้ หย่าสา ยี้หวี่แง้ หย่าสา
รองเง็ง
รองเง็ง หมายถึง การละเล่นชนิดหนึ่งที่เป็นพื้นเมืองของภาคใต้ คือ การเต้นรำคู่ระหว่างหญิงกับชาย ด้วยลีลาการเคลื่อนไหวของเท้า โดยไม่ถูกเนื้อต้องตัวกันในระหว่างการแสดงหรือเต้น จะมีดนตรีบรรเลงเพลงคลอไปด้วย เพลงที่ยืนโลม คือ เพลงลาดูคู่วอกับเพลงเมาะอีมังลามา รองเง็งได้เริ่มมีขึ้นเมื่อชาวโปตุเกสได้นำเข้ามาในแหลมมลายูสมัยแรก
การแต่งกาย แต่งกันได้หลายลักษณะ ตามแต่โอกาสและความเหมาะสม แต่โดยปกติจะแต่งกันเป็นแบบพื้นเมือง คือ
ชาย สวมหมวกแขกสีดำ กางเกงขายาวสีสุภาพ เสื้อเชิ๊ตสีขาวหรือสีเดียวกันกางเกง ผ้ารินิจนัง หรือผ้าชาเอนดัง ถุงเท้า รองเท้า
หญิง นุ่งผ้าโสร่งหรือผ้าปาเต๊ะ สวมเสื้อแขนยาว มีผ้าคลุมไหล่เป็นผ้าลูกไม้ สวมสร้อยคอ ใส่รองเท้า มีดอกไม้ทัดผมหรือปิ่นปักผม
เครื่องดนตรี ประกอบด้วย ไวโอลีน รำมะนา ฆ้องและกลองแขก
เพลงรองเง็ง มีด้วนกันทั้งหมด 12 เพลง คือ
เพลงลามูดูวอ
เพลงฟูโจ๊ะฟีฮัง
เพลงเมาะอีนังฟวา
เพลงจินตาปายัง
เพลงเมาะอีนังลามา
เพลงลานัง
เพลงบุหงารำไพ
เพลงมิสแพระพ์
เพลงอานะดีดี
เพลงตาลีทาโลง
เพลงติมังบูรง
เพลงจินโยดีวัดคูมาลำธารี
เซิ้งกระหยัง
เซิ้งกระหยัง เป็นการแสดงอย่างหนึ่งที่ชาวกาฬสินธุ์ ในอำเภอกุสินารายณ์เป็นผู้ประยุกต์ขึ้นท่ารำจากเซิ้งต่างๆ เช่น เซิ้งกระติ๊บ เซิ้งสาละวัน ฯลฯ มาผสมผสานกัน พร้อมทั้งจัดขบวนท่ารำขึ้นใหม่รวม 19 ท่าด้วยกัน แต่ละท่าก็มีชื่อเรียกต่างๆกันดังนี้ คือ
1. เซิ้งท่าไหว้ 2. เซิ้งภูไท 3. เซิ้งโปรยดอกไม้
4. เซิ้งขยับสะโพก 5. เซิ้งจับคู่ถือกระหยัง 6. เซิ้งนั่งเกี้ยว
7. เซิ้งสับ 8. เซิ้งยืนเกี้ยว 9. เซิ้งรำส่าย
10. เซิ้งเก็บผักหวาน 11. เซิ้งกระหยังตั้งวง 12. เซิ้งตัดหน้า
13. เซิ้งสาละวัน 14. เซิ้งกลองยาว 15. เซิ้งรำวง
16. เซิ้งชวนกลับ 17. เซิ้งแยกวง 18. เซิ้งนางช้าง
19. เซิ้งนั่ง
เนื่องจากผู้ที่แสดงถือกระหยัง ซึ่งเป็นภาชนะอย่างหนึ่งทำด้วยไม้ไผ่สาน มีลักษณะคล้ายกระบุงใส่สิ่งของต่างๆ ฉะนั้นจึงเรียกชื่อเซิ้งนี้ว่า “เซิ้งกระหยัง” ตามภาชนะที่ถือ สำหรับเครื่องดนตรีประกอบการแสดงเซิ้งกระหยัง ประกอบด้วยแคน แกร็บ กรองแต๊ะ กลองยาว ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง และยังมีพิณ (ลักษณะคล้ายกับซึงของภาคเหนือ) และปี่อ้อ (ลักษณะและวิธีเป่าเหมือนปี่จุมของภาคเหนือ) การบรรเลงจะช้าสลับกับเร็วตามจังหวะของการร่ายรำ ซึ่งนับเป็นการแสดงที่สวยงาม สนุกสนาน อีกชุดหนึ่ง ซึ่งกรมศิลปากรได้ถ่ายทอดและนำออกแสดงต่อ
สาธารณชนอยู่เนือง ๆ
ม่านมอญสัมพันธ์
การแสดงชุดนี้ประกอบอยู่ในละคร เรื่องราชาธิราช ตอน กระทำสัตย์ ตามเนื้อเรื่องที่ดำเนินความว่า ฝ่านพม่ากับมอญจะกระทำสัตย์ต่อกันในการที่จะไม่ทำสงครามกันสืบไปภายภาคหน้า ก่อนที่จะเริ่มพิธีกระทำสัตย์ นักฟ้อนของมอญและพม่าก็ออกมาฟ้อนร่วมกัน ลีลาที่พม่าและมอญฟ้อนจะเป็นเอกลักษณ์แต่ละชาติ นับเป็นฟ้อนชุดหนึ่งที่ผู้ชมจะได้มีโอกาสเห็นลีลาท่าทางนักฟ้อนที่เป็นนักฟ้อนแบบมอญและพม่า ว่าละม้ายคล้ายคลึงหรือผิดแผกแตกต่างกันอย่างไร ฟ้อนพม่า – มอญ นอกจากจะแสดงประกอบในละคร เรื่องราชาธิราช ดังกล่าวแล้วยังนำมาแสดงเป็นชุดเอกเทศได้
ฟ้อนภูไท
ภูไท หรือผู้ไทย เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใหญ่รองลงมาจากไทย และลาวตามตัวเลขที่ปรากฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพวกผู้ไทยอยู่ประมาณแสนคน กลุ่มใหญ่ที่สุดอยู่แถบลุ่มแม่น้ำโขง และเทือกเขาภูพาน ได้แก่จังหวัดนครพนม สกลนคร กาฬสินธุ์
ผู้ไทยเป็นคนขยันขันแข็ง มัธยัสถ์ เวลาโดยทั่ว ๆไปแล้ว เจริญก้าวหน้ามากกว่าพวกไทย – ลาว ที่อยู่ใกล้เคียง เป็นกลุ่มพัฒนได้เร็ว การฟ้อนผู้ไทยนี้เป็นการละเล่นอย่างหนึ่งของชาวผู้ไทย เดิมทีนั้นการร่ายรำแบบนี้ เป็นการรำเพื่อถวายพระธาตุเชิงชุมแต่อย่างเดียว ต่อมาได้ใช้ในงานสนุกสนานรื่นเริงต่าง ๆ ด้วยการฟ้อนภูไทบางครั้ง จงใช้ทั้งชาย – หญิง และหญิงคู่กัน
เพลงฟ้อนภูไท
ไปเย้ยไป ไปโห่เอาชัยเอ้าสอง
ไปโฮมพี่โฮมน้อง ไปช่วยแซ่ซ้องอวยชัย
เชิงเขาแสนจน หนทางก็ลำบาก
ข้อยสู้ทนยาก มาฟ้อนรำให้ท่านชม
ข้อยอยู่เทิงเขา ข้อยยังเอาใจมาช่วย
พวกข้อย ขออำนวย อวยชัยให้ละเนอ
ขออำนาจไตรรัตน์ จงปกปักรักษา
ชาวไทยถ้วนหน้า ให้วัฒนาสืบไป
เวลาก็จวน ข้อยจะด่วนไป
ขอความมีชัย แด่ทุกท่านเทอญ
ข้อยลาละเนอ ข้อยลาละเนอ
เพลงเหย่อย
เป็นการละเล่นพื้นเมืองอย่างหนึ่งของไทย นิยมเล่นตามเทศกาลต่าง ๆ ตามท้องที่จังหวัดกาญจนบุรี แต่เล่นในบางท้องถิ่นไม่แพร่หลายเหมือนการละเล่นอย่างอื่น กรมศิลปากรได้ส่งศิลปินของกรมศิลปากรไปฝึกหัดและถ่ายทอด จากชาวบ้านอยู่บ้านเก่า ตำบลจรเข้เผือก อำเภอ จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อเดือนมิถุนายน 2506
ลักษณะการเล่น เริ่มด้วยประโคมกลองยาว เพื่อเรียกร้องความสนใจให้ผู้รำเกิดความสนุก เมื่อจบกระบวนโหมโรมแล้ว พวกนักดนตรีจะเปลี่ยนมาเล่นจังหวะช้า เพื่อจะได้ประกอบท่ารำ คำร้อง ให้ถูกต้องและชัดเจน
ส่วนท่ารำของเพลงเหย่อยนั้น ปรากฏว่าไม่มีแบบฉบับที่แน่นอน สุดแท้แต่ผู้ใดถนัดที่จะรำแบบไหนก็รำได้ตามใจชอบ หรือรำกันได้ตามอัตโนมัติ ข้อสำคัญอยู่ที่การสืบเท้า ซึ่งจะต้องสืบเท้าแบบถนัดไป เท้าที่สืบไปต้องไม่ยกสูง หรือติดไปกับพื้นเลยที่เดียว และเท้าซ้ายต้องนำไปก่อนเสมอ ทั้งนี้ผิดกันกับการเต้นกำรำเคียวซึ่งเวลารำเท้าขวาไปก่อน และเวลาสืบเท้ายกเท้าสูง
ดนตรี เครื่องดนตรีที่ใช้ในการเล่น เพลงเหย่อยก็มีกลองยาว ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง และกรมศิลปากรได้เพิ่มปี่ชวาเข้าไปอีกอย่างหนึ่ง
เพลงร้อง เนื้อร้องเพลงเหย่อยนี้ เริ่มต้นด้วยเพลงพาดผ้า แล้วก็เพลงเกี่ยว เพลงสู่ขอ เพลงลักหาพาหนี จบลงด้วยเพลงลา ดังตัวอย่าง
คำร้องโต้ตอบแก้เกี้ยวกันในเพลงเหย่อย ดังที่ยกมาไว้ท้ายเรื่องนี้ ถ้าพิจารณาดูแล้วจะเห็นว่ามีทั้งบทเกริ่น-เกี้ยว – สู่ขอ – ลักหาพาหนี - ลา อยู่ครบถ้วน
บทร้องเพลงเหย่อย
ชาย มาเถิดหนาแม่มา มาเล่นพาดผ้ากันเอย
พี่ตั้งวงไว้ท่า อย่านิ่งรอช้าเลยเอย
พี่ตั้งวงไว้คอย อย่าให้วงกร่อยเลยเอย
หญิง ให้พี่ยื่นแขนขวา เข้ามาพาดผ้าเถิดเอย
ชาย พาดเอยพาดลง พาดที่องค์น้องเอย
หญิง มาเถิดพวกเรา ไปรำกับเขาหน่อยเอย
ชาย สวยแม่คุณอย่าช้า ก็รำออกมาเถิดเอย
หญิง รำร่ายกรายวง สวยดังหงษ์ทองเอย
ชาย รำเอยรำร่อน สวยดังกินรนางเอย
หญิง รำเอยรำคู่ น่าเอ็นดูจริงเอย
ชาย เจ้าเขียวใบข้าว พี่รักเจ้าสาวจริงเอย
หญิง เจ้าเขียวใบพวง อย่ามาเป็นห่วงเลยเอย
ชาย รักน้องจริงจริง รักแล้วไม่ทิ้งไปเอย
หญิง รักน้องไม่จริง รักแล้วก็ทิ้งไปเอย
ชาย พี่แบกรักมาเต็มอก รักจะตกเสียแล้วเอย
หญิง ผู้ชายหลายใจ เชื่อไม่ได้เลยเอย
ชาย พี่แบกรักมาเต็มลา ช่างไม่เมตตาเลยเอย
หญิง เมียมีอยู่เต็มตัก จะให้น้องรักอย่างไรเอย
ชาย สวยเอยคนดี เมียพี่มีเมื่อไรเอย
หญิง เมียมีอยู่ที่บ้าน จะทิ้งทอดทานให้ใครเอย
ชาย ถ้าฉีกได้เหมือนปู จะฉีกให้ดูใจเอย
หญิง รักจริงแล้วหนอ รีบไปสู่ขอน้องเอย
ชาย ขอก็ได้ สินสอดเท่าไรน้องเอย
หญิง หมากลูกพลูจีบ ให้พี่รีบไปขอเอย
ชาย ข้าวยากหมากแพง เห็นสุดแรงน้องเอย
หญิง หมากลูกพลูครึ่ง รีบไปให้ถึงเถิดเอย
ชาย รักกันหนาพากันหนี เห็นจะดีกว่าเอย
หญิง แม่สอนเอาไว้ ไม่เชื่อคำชายเลยเอย
ชาย แม่สอนไว้ หนีตามกันไปเลยเอย
หญิง พ่อสอนไว้ว่า ให้กลับพาราแล้วเอย
ชาย พ่อสอนว่า ให้กลับพาราพี่เอย
หญิง กำเกวียนกงเกวียน ต้องจากวงแล้วเอย
ชาย กรรมวิบาก วันนี้ต้องจากเสียแล้วเอย
หญิง เวลาก็จวน น้องจะรีบด่วนไปก่อนเอย
ชาย เราร่วมอวยพร ก่อนจะลาไปก่อนเอย
(พร้อม) ให้หมดทุกข์โศกโรคภัย สวัสดีมีชัยทุกคนเอย
ฟ้อนลาวคำหอม
ฟ้อนลาวคำหอมนี้ บทร้องนำมาจากบทละครพันทางเรื่อง “พระลอ” ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ เจ้าจอมมารดาเขียน ในรัชกาลที่ 5 เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำ อาจารย์ลมุล ยมะคุปต์ อาจารย์เฉลย ศุขะวนิช ได้นำท่ารำนี้ถ่ายทอดให้กับนักเรียนสาขานาฏศิลป์ละครนำออกแสดง
เพลงลาวคำหอม
สาวสุรางค์นางสนมบังคม บรมบาทราชร่มเกล้า
เอื้ออรโฉมโน้มทรวงสาว ทุกค่ำเช้า
สาวรักสวาจึงเฝ้า ใฝ่สนองพระคุณเอย
ชะอ้อนโอษฐ์แอ่ว พระแก้วก่องโลก
แสนสวยสะคราญ สังหารแสนโศก
สร่างแสง วิโยคยวนใจ
สร่างโศกสร่างเศร้า สร่างเหงาฤทัย
เพราะพระโฉมท่านไคล้ เฉิดฉินชื่นเวียงเฉย
ชื่นแสนชื่น ชื่นชวนเสน่หา
ชื่นชีวา ของมหาราชท้าว
เสน่ห์สนองรองบ่วงบาศก์เจ้า ระบือลือเลื่องกระเดื่องแดนด้าว
โฉมพระนางอะคร้าว เครงเวียงเอย
เพลงหน้าพาทย์
สาธุการ
เป็นเพลงหน้าพาทย์ที่ใช้ในการแสดงความเคารพพระรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ รวมทั้งครูอาจารย์และเทพยดาทั้งหลาย นอกจากใช้บรรเลงประกอบการรำแล้ว การแสดงพระธรรมเทศนา เมื่อจบกัณฐ์ทศพรแล้ว ก็จะบรรเลงเพลงนี้ หรือเมื่อพระสงฆ์เทศน์จบ ก็ใช้เพลงนี้เช่นเดียวกัน ผู้แสดงที่ใช้เพลงนี้รำ ใช้ได้ทั้งพระ นาง ยักษ์
ตระนิมิต
เป็นเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูง ประกอบการเนรมิตของตัวละครสำคัญที่มีศักดิ์สูง ทั้งพระ นาง ยักษ์ ลิง เช่น เบญจกายแปลงเป็นนางสีดา หนุมานกลายเป็นหมาเน่า
ตระบองกัน
เป็นเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูง ที่บรรเลงประกอบการเนรมิตร่างใหม่เช่นเดียวกับตระนิมิต ใช้กับฝ่ายยักษ์ เช่น ทศกัณฐ์เป็นนักพรต เพื่อจะลักนางสีดา ใช้แสดงโขนแล้วนิยมนำมาฟ้อนรำ เช่น ระบำดอกไม้เงิน – ทอง ถวายหน้าพระที่นั่ง
ชำนาญ
เป็นเพลงที่บรรเลง ประกอบการเนรมิต และประกอบการร่ายมนต์ ตลอดจนประสาทพรอันเป็นมงคลของเทพเจ้าอันสูงศักดิ์
โอด
ใช้บรรเลงประกอบกิริยาร้องไห้ โศกเศร้า เสียใจ ทั่วไป จะเป็นการเสียใจอย่างแรง ผิดกับเพลงทยอยที่ประกอบอาการ คร่ำครวญ เสียใจ
โลม – ตระนอน
โลมใช้ประกอบการเกี้ยวพาราสีของตัวละคร บางครั้งจะออกด้วยเพลงตระนอน ตระนอนใช้บรรเลงประกอบพฤติกรรมที่นอน ทั้งฝ่าย พระ นาง ยักษื ลิง เพลงนี้ไม่กำหนดว่าจะนอนที่ใด เพลงนี้จะเป็นเพลงกษัตริย์
เสมอควง
เป็นเพลงหน้าพาทย์ที่ใช้สำหรับตัวพระ - นาง รำคู่กัน หรือรำเป็นหมู่ มีท่ารำสัมพันธ์ ใช้ในความหมายของการมาถึงที่ หรือการไปมาในระยะใกล้ ๆ
พลายบัวเกี้ยวนางตานี
เป็นการแสดงชุดหนึ่งที่อยู่ในละครเรื่อง ขุนช้างขุนแผน เนื้อเรื่องย่อ มีอยู่ว่า พลายบัวและพลายเพชรบวชเป็นเณรที่วัดส้มใหญ่ วันหนึ่งได้รับข่าวจากนางศรีมาลาผู้เป็นมารดาที่บาดเจ็บว่า ผู้ที่ทำร้ายนางคือ พลายยงค์ ลูกคนละพ่อของพระไวย จึงมีความเจ็บแค้นได้ลานางศรีมาลาไปแก้แค้น นางศรีมาลาทัดทานไม่ได้จึงบอกให้ไปขอความช่วยเหลือจากหลวงต่างใจผู้เป็นอา ทั้งสองจึงได้ลาไป และได้ไปพักที่เขาจอมทอง วันหนึ่งพลายบัวได้เห็นนางแว่นแก้ว ก็เกิดความหลงใหล จึงได้ลาเพศจากเณร แอบไปหานางแว่นแก้ว ระหว่างทางได้พบกับนางตานี เพราะที่พักของพลายบัวกับพลายเพชรเป็นดงกล้วยตานี
ปี่พาทย์ทำเพลงรัว
ร้องเพลงสีนวล
รูปร่างกลายเป็นสาวน้อย แช่มช้อยนวลลออผ่องใส
เชิดโฉมประโลมละลานใจ แอบต้นกล้วยใหญ่แล้วถามมา
พ่อหนุ่มน้อยคนนี้อยู่ที่ไหน แต่ผู้เดียวเดินไปที่ในป่า
มีธุระสิ่งใดไปไหนมา เมตตาบอกความแต่ตามจริง
ร้องร่าย
เมื่อนั้น พลายบัวตรองตรึกไม่นึกกริ่ง
เห็นตานีมีฤทธิ์ศักดิ์สิทธิ์จริง จึงวอนวิงด้วยสุนทรวาจา
ร้องเพลงทองย่อน
เจ้านางตานีทองน้องแก้ว เป็นคนแก้วพี่จะรักเจ้านักหนา
พี่ขอเชิญชวนแก้วแววตา ไปเป็นเพื่อนพี่ยาจนวันตาย
พี่มุ่งหน้าหวังว่าจะชวนน้อง แม่นางตานีทองละอองฉาย
ไปเป็นเพื่อนคู่ยากลำบากกาย แล้วเจ้าพลายป่าเป่ามนต์เสน่ห์จันทร์
ร้องร่าย
เมื่อนั้น นางตานีปรีเปรมเกษมสันต์
ต้องมนต์ดลจิตคิดผูกพันธ์ ก็กลายร่างคืนพลันทันใด
รัวเข้า
ตอน ย่าหรันตามนกยูง
ละครในเป็นนาฏกรรมที่คนไทยถือว่า เป็นศิลปะแบบแผนชั้นสูง คือกำเนิดเกิดขึ้นภายในราชสำนัก การแสดงชุดย่าหรันตามนกยูง เป็นการแสดงจากเรื่องอิเหนา เนื้อเรื่องมีอยู่ว่า ศรียะตา ซึ่งเป็นอนุชาของนางบุษบา มีพรรษาครบ 15 ปี ท้าวดาหาผู้เป็นบิดา จึงจัดพิธีโสกรรณ แล้วแต่งตั้งให้ดำรงอยู่วังหน้า แต่ศรียะตามีความคิดถึงบุษบาและอิเหนา จึงออกอุบายทูลลาท้าวดาหาออกประพาสป่า โดยปลอมตัวเป็นชาวป่า ชื่อ ย่าหรัน พี่เลี้ยงและทหารที่ตามเสด็จมา ก็เปลี่ยนชื่อทุกคน ศรียะตาในนามใหม่ว่าย่าหรันเที่ยวติดตามหาบุษบาและอิเหนาเป็นเวลานานก้ไม่พบ ทำให้เดือดร้อนถึงเทพเจ้า ปะตาละกาหลา ซึ่งมีศักดิ์เป็นปู่ของศรียะตา ต้องแปลงพระองค์เป็นนกยูง
มาล่อให้ย่าหรันหลงติดตามไปจนถึงเมืองกาหลง
เมื่อนั้น บุหลงสุราลักษ์ปักศรี
เห็นย่าหรันดันดัดพนารี ขวบขิบพารีตามมา
จึงโผผินบินไปให้ห่าง แล้วเยื้องย่างหยุดยืนคอยท่า
ฟ้อนรำทำทีกิริยา ปักษาแกล้งล่อรอรั้ง
ละครพันทางเรื่อง พระลอ
ตอนปู่เจ้าเรียกไก่
คัดมาจากตอนปู่เจ้าเรียกไก่ เทพเจ้าจากเมืองสรอง ทราบว่าพระลอต้องมนต์ปู่เจ้า ออกเดินทางจากเมืองแมนสรวงถึงฝั่งแม่น้ำกาหลง จึงร่ายมนต์เรียกไก่ จึงได้ไก่แก้วไปล่อพระลอ เมื่อปู่เจ้าเลือกไก่แก้วได้แล้ว จึงร่ายมนต์ให้ผีสิงไก่แก้วแล้วสั่งให้ไปล่อพระลอ นำทางให้เสด็จมาเมืองสรองโดยเร็ววัน การแสดงชุดนี้คัดมาจากเรื่องพระลอ กล่าวคือ พระเพื่อน พระแพง 2 พระธิดาผู้เลอโฉมแห่งเมืองสรอง สั่งให้นางโรยสองพระพี่เลี้ยง ไปขอความช่วยเหลือจากปู่เจ้าสมิงพรายช่วยนำพาให้พระลอ ยุพราชแห่งเมืองสรองเสด็จมาโดยเร็ววัน ปู่เจ้าสมิงพรายเลยใช้อาถรรพ์ลงแก่ไก่ให้ไปล่อพระลอมา
ปี่พาทย์ทำเพลงลาวพงดำ
มาจากกล่าวบทไป ถึงปู่เจ้าจอมเทวาสิงขร
สงสารเพื่อนแพงน้องสองบังอร เฝ้าอาวรณ์หวั่นคนึงถึงพระลอ
ให้นางโรยนางรื่นขึ้นมาเล่า จำจะเอาไก่งามไปตามล่อ
ให้รีบมาเหมือนหวังไม่รั้งรอ จะได้พอใจปองสองพระองค์
ตริพรางนางปู่ย่าญาติ จากแท่นทิพยวาสเรืองระหงษ์
งามเชสวชิรวาสอาตองค์ เสด็จลงหน้าฉานชาลเทวา
ปี่พาทย์เพลงลาวจ้อย
สร้อยแสงแดงพระพาย ขนเขียวลายระยับ
ปีกสลับเบญจรงค์ เลื่อมลายยงค์หงษ์สบาด
ขอบตาชาติพระพริ้ง สิงคลิ้งงอนพรายพลัน
ขานขันเสียงเอาใจ เดือยงอนใสสีลำยอง
สองเท้าเทียมนพมาศ ปานชรุชาติคารมณ์
ปู่ก็ใช้ให้ผีลง ผีก็ลงแก่ไก่
ไก่แก้วไซร้บ่มิกลัว ผลุผกหัวองอาจ
ขานขันตีปีกป้อง ร้องเรื่อยเฉื่อยฉาดฉาน
เสียงขันขานเจื่อยแจ้ว ปู่สั่งแล้วทุกประการ
บ่มินานผาดโผนผยอง โลดลำพองคะนองบ่หึง
มุ่งมั่นถึงพระเลืองลอ ยกคอขันขานร้อง
ตีปีกป้องพรายพลัน ร้องเรื่อยเจื่อยจ้ายๆ
แล้วไซร้ปีกไซร้หาง โฉมสำอางค์สำอาจ
กรีดปีกวาดเรียกเย้า ค่อยล่อพระลอเจ้าจักต้องดำเนินแลนา
พระลอเข้าสวน
ปี่พาทย์ทำเพลงลาวกระแต
เมื่อนั้น พระลอดิลกเลิศฉวี
ปลอมเพศแปลงนามเป็นพราหมณ์ชี เหมือนมุนีศรีเกษพระเวทมนต์
นายแก้วนายขวัญนั้นเปลี่ยนนาม ชื่อนายรามนายรัตน์ไม่ขัดสน
มัคคุเทศก์ก็นำเสด็จจรดล ผ่านสถลมาร์คเข้าอุทยาน
ปี่พาทย์ทำเพลงเสมอลาว
เพลงลาวชมดง
การะเกดเหมือนเกศแก้วเกศา มลุลีเหมือนบุปผาแม่เกี้ยวเกล้า
(สร้อย) คู่อ่อนเท้าเครืออะคร้าวงามเอย เพื่อนแพงผองเผื่อพี่ปองสมเอย
นางแย้มเหมือนแก้มแม่แย้มเย้า ใบโขกเหมือนเจ้าจงกวักกร (สร้อย)
คณานกแมกไม้เรียงรัง ร้องเรื่อยรับขวัญเหมือนเสียงสมร (สร้อย)
เห็นโนรีสาลิกาใคร่ว่าวอน ฝากอักษรถวายน้องสองพรู (สร้อย)
ถึงสระบัวยั่วยอพระลอรัก ใคร่เก็บฝักหักดอกออกอดสู (สร้อย)
ผองภมรว่อนเฝ้าเคล้าเรณู เหมือนเย้ยภูอรเห่ออยู่เอองค์ (สร้อย)
คนึงนางพลางเสด็จลีลา แอบร่มพฤกษาสูงระหง (สร้อย)
สุคนธรหอมหวนลำดวนดง เหมือนจะส่งกลิ่นถวายราชา (สร้อย)
พระลอตามไก่
ทางอาณาจักรล้านนามีนครใหม่แห่งหนึ่งชื่อเมือง แมนทรวง เจ้าผู้ครองนครพระนามว่าท้าวแมนทรวง มีชายาชื่อ นางบุญเหลือและราชโอรสซึ่งพระลอออกไปทางทิศตะวันออกของเมืองแมนทรวง มีนครใหญ่อีกแห่งหนึ่งชื่อเมืองสรอง เจ้าผู้ครองนครทรงพระนามว่าท้าวพิมพิสาคร มีโอรสพระนามว่า ท้าวพิชัยพิษณุกร และได้นางตาวดีเป็นชายามีธิดา 2 องค์ ทรงพระนามว่า พระเพื่อน พระแพง
ท้าวแม้นทรวงยกกองทัพมาตีเมืองสรอง ท้าวพิมพิสาครออกรบจนสิ้นพระชนม์บนคอช้างเมื่อเสด็จศึกสงครามท้าวแมนทรวงได้สร้างอภิเษกสมรสกับนางลักษณาวดี เมื่อท้าวแมนทรวงสวรรคตแล้วพระลอก็ครองราช ต่อมากิตติศัพท์ เรื่องความงามของพระลอไปถึงพระเพื่อน พระแพง นางใคร่จะได้พระลอเป็นสวามีและกลัดกลุ้มพระทัยจนพ่ายผอม ครั้นนางโรยทราบความก็ได้คิดช่วยเหลือ โดยส่งคนไปขับร้องพรรณนาความงามของพระเพื่อน พระแพง ต่อพระลอแต่พระองค์ก็ถูกสลายของปู่เจ้าทนฤทธิ์เสน่ห์ไม่ไหวจึงตัสถามพระมารดาและมเหสีว่าจะไปเมืองสรองกับนายแก้ว นายขวัญพี่เลี้ยง เมื่อพระลอเข้าเมืองปู่เจ้าสมิงพรายก็ได้ร่ายเวทมนต์ให้ผีลงสิงในตัวไก่แก้วและใช้ไปล่อพระลอมา
ผู้บรรจุทำนองขับร้องและเพลงดนตรี คือ เสด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์
การแต่งกาย : พระลอ แต่งยืนเครื่องพระสีแดงขริบสีเขียว
ไก่ แต่งยืนเครื่องสีขาวเป็นจูเร็ตของไก่หรือนุ่งกางเกงทั้งสองแบบมีปีกและหาง
โอกาสที่ใช้แสดงสลับฉาก ใช้แสดงประกอบละครเรื่องพระลอ
เนื้อร้อง
เพลง เชิดฉิ่ง
ไก่เอยไก่แก้ว กล้าแกล้วกายสิทธิ์ฤทธิ์ผีสิง
เลี้ยวล่อลอราชฉลาดจริง เพราะพริ้งงอนสร้อยสวยสอางค์
ทำทีแล่นถลาให้คว้าเหมาะ ย่างเยาะกรีดปีกไซร้หาง
ครั้นพระลอไล่กระชั้นคั้นกลาง ไก่ผันหันห่างรามา
ฉับเฉียวเลี้ยวลัดฉวัดเฉวียน วนเวียนหลบกข่างกลางพฤกษา
ขันเจื่อยเฉื่อยก้องท้องวนา ทำท่าเยาะเย้ยภูมี
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)