วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2552

ประวัติและบทร้องนาฏศิลป์ไทยระดับมัธยมต้น.

รำวงมาตรฐาน
ประวัติความเป็นมา
รำวงมีกำเนิดมาจากรำโทน แต่เดิมรำโทนเป็นการละเล่นพื้นเมืองอย่างหนึ่ง ที่นิยมเล่นกันในฤดูเทศกาลของท้องถิ่นบางจังหวัด คำว่า “รำโทน” สันนิฐานว่า เรียกชื่อจากการเรียนเสียงตามเครื่องดนตรีประกอบจังหวะที่เป็นหลักคือ “โทน” ซึ่งตีเป็นลำนำเสียง “ป๊ะ โทน ป๊ะ โทน ป๊ะ โทน โทน”
เครื่องตรีที่ใช้ในการรำโทน ได้แก่ ฉิ่ง – กรับ และโทน ลักษณะการรำโทนนั้น เป็นการรำระหว่างชาย – หญิง ให้เข้ากับจังหวะโทน โดยไม่มีท่ารำกำหนดเป็นแบบแผนตายตัว
ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 รำโทนได้นิยมอย่างแพร่หลาย จึงมีผู้ประพันธ์ลำนำเพลงและบทร้องประกอบรำขึ้น นิยมนำไปเล่นกันอย่างแพร่หลาย ตามจังหวัดอื่นๆ บทร้องมีหลายลักษณะ เริ่มตั้งแต่ ชมโฉม บทเกี้ยวพาราสี บทสัพยอยอกเย้า และบทพรอดพร่ำร่ำลาจากกัน เป็นต้น
ต่อมา เมื่อ พ.ศ. 2487 กรมศิลปากร ได้แต่งร้องและทำนองเพลงขึ้นใหม่ 4 เพลง และต่อมาท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ได้แต่งเนื้อร้องให้ใหม่อีก 6 เพลง โดยให้กรมศิลปากร และกรมประชาสัมพันธ์แต่งทำนองให้ผู้แต่งบทร้อง เพลงงามแสงเดือน เพลงชาวไทย เพลงรำมาซิมารำ และเพลง คืนเดือนหงาย คือ นายเฉลิม เศวตนันท์ ผู้แต่งทำนองเพลง คือ อาจารย์มนตรี ตราโมท ผู้คิดประดิษฐ์ท่ารำ คือ หม่อนครูต่วน (ศุภลักษณ์) ภัทรนาวิก,อาจารย์ลมุล ยมะคุปต์ และคุณครูมัลลี คงประภัทร์
บทร้องรำวงมาตรฐาน
เพลงงามแสงเดือน
งามแสงเดือนมาเยือนส่องหล้า งามใบหน้ามาสู่วงรำ (2 เที่ยว)
เราเล่นกันเพื่อสนุก เปลื้องทุกข์วายระกำ
ขอให้เล่นฟ้อนรำ เพื่อสามัคคีเอย
เพลงชาวไทย
ชาวไทยเจ้าเอ๋ย ขออย่าละเลยในการทำหน้าที่
การที่เราได้เล่นสนุก เปลื้องทุกข์สบายอย่างนี้
เพราะชาติเราได้เสรี มีเอกราชสมบูรณ์
เราจึงควรช่วยชูชาติ ให้เก่งกาจเจิดจำรูญ
เพื่อความสุขเพิ่มพูน ขอชาวไทยเราเอย
เพลงรำมาซิมารำ
รำมาซิมารำ เริงระบำกันให้สนุก
ยามงานเราทำงานจริงๆ ไม่ละไม่ทิ้งจะเกิดเข็ญขุก
ถึงยามว่างเราจึงรำเล่น ตามเชิงเช่นเพื่อให้สร่างทุกข์
ตามเยี่ยงอย่างตามยุค เล่นสนุกอย่างวัฒนธรรม
เล่นอะไรให้มีระเบียบ ให้งามให้เรียบจึงจะคมขำ
มาซิมาเจ้าเอ๋ยมาฟ้อนรำ มาเล่นระบำของไทยเราเอย

เพลงช้า เพลงเร็ว
ประวัติความเป็นมา
เพลงช้าเพลงเร็วเป็นเพลงหน้าพาทย์ ที่ใช้เป็นหลักสูตรเบื้องต้นสำหรับนักเรียนศิลปินฝึกหัด นาฏศิลปไทย มีท่ารำที่ครูบาอาจารย์ตามนาฏศิลปของไทย บัญญัติขึ้นไว้เป็นแบบฉบับมาแต่โบราณ ท่ารำประจำเพลงช้า – เร็ว เหล่านี้ อย่างน้อยก็มีสืบทอดมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา กุลบุตร กุลธิดา ที่จะฝึกหัดนาฏศิลปไทย จะต้องหัดรำทำท่าตามเพลงช้า เพลงเร็วให้คล่องแคล่วแม่นยำเสียก่อน ซึ่งต้องใช้เวลาฝึกหัดกันแรมปี ท่ารำในเพลงช้าเพลงเร็ว ย่อมเสมอเป็นแม่ท่าหรือพื้นฐานภาษาของละครไทยทั่วไปมักนิยมกันว่าศิลปินที่ฝึกหัดท่ารำเพลงช้าเพลงเร็วมาดีแล้ว ย่อมเป็นผู้มีกิริยามารยาทแช่มช้อยงดงามในสังคมไทยอีกด้วย ท่ารำในแม่บทก็ดี ท่าที่ครูอาจารย์ทางนาฏศิลปเลือดคัดจัดทำให้รำ “ทำบท” ตามคำร้อง หรือทำท่าบทให้ตามท้องเรื่องของละครไทยก็ดีโดยมากก็เลือกคัดจัดท่ามาจาก ท่าที่ เป็นแบบฉบับในการรำ เพลงช้า เพลงเร็วเป็นหลักแม้บางคราวจะปรากฏว่าเคยมีผู้นำเอาแบบนาฏศิลปต่างชาติมาใช้ ในวงการนาฏศิลปไทยหลายอย่าง แต่ก็มักจะนำมาผสมกับท่ารำที่มีอยู่ในเพลงช้าเพลงเร็วเป็นส่วนมากเหมือนผู้เรียนรู้ภาษามาจากต่างประเทศ ซึ่งมักปรากฏว่าการแต่งตัวและการพูดจะติดสำนวนและภาษาเดิมของตน ด้วยเหตุนี้จึงมีความจริงอยู่ว่า ถ้านักเรียนศิลปินคนใด ฝึกหัดรำเพลงช้าเพลงเร็วได้ดีและสวยงามเป็นพื้นฐานมาแล้ว ก็ย่อมหมายความว่านักเรียนคนนั้นก็จะได้เป็นศิลปินทางการละครฟ้อนรำของไทยได้ดีในภายหน้าด้วย เพราะการรำเพลงช้าเพลงเร็วนี้ จัดได้ว่าเป็นพื้นฐานเบื้องต้นของการเรียนนาฏศิลปที่ถูกต้อง
เพลงช้าเป็นชื่อเพลงหน้าพาทย์ ที่บรรเลงประกอบกิริยาอย่างนวยนาจงดงามของละคร ส่วนเพลงเร็วประกอบกิริยาไปมาอย่างว่องไว โดยปกติเมื่อบรรเลงเพลงช้าแล้วต้องบรรเลงเพลงเร็วติดต่อกันไป แล้วบรรเลงเพลงลาในตอนจบ การบรรเลงเพลงช้าและเพลงเร็วปี่พาทย์จะเลือกการบรรเลงได้ตามพอใจเพราะมีเพลงประกอบประเภทเพลงช้าและเพลงเร็วอยู่มากมาย และเรียกชื่อไว้ต่าง ๆ กัน แต่ละเพลงอาจบรรเลงได้นาน ๆ เพลงจะมีลีลาของเพลงยาวโดยปกติและส่วนมากแล้ว เราจะใช้เพลงที่ใช้บรรเลงในการเริ่มฝึกเพลงช้า ประโยคของเพลงฟังง่ายกว่าเพลงช้าอื่น ๆ









เพลงปลุกใจ
ประวัติความเป็นมา
เพลงปลุกใจเราสู้คือเพลงที่มีทำนองหนักแน่น ก่อให้เกิดความสามัคคี ความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์เพลงปลุกใจเราสู้ เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสนมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดช (รัชกาลปัจจุบัน) ซึ่งทรงนิพนธ์ต่อจากเพลง “ความฝันอันสูงสุด” คำร้องของเพลงนี้คือพระราชดำรัสที่พระราชทานต่อสมาชิก สภานิติบัญญัติประกอบด้วยข้าราชการ พลเรือน ตำรวจ ทหาร ซึ่งได้เข้าไปถวายเงิน ณ พระตำหนักจิตรดา
ต่อมานายสมภพ จันประภาได้ข้อพระราชทานพระราชดำรัสนี้มาแต่งดนตรี ใช้วงดนตรีสากล ผู้ประดิษฐ์ท่ารำ คือ คุณครูละมุล ยมคุปต์ และ คุณครูเฉลย ศุขวนิช
บทร้องเพลงปลุกใจเราสู้ (สุดใจ ทศพร , 2521 : 36 )
(ทำนองเนื้อร้องบทพระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช)
บรรพบุรุษของไทยแต่โบราณ ปกบ้านป้องเมืองคุ้มเย้า
เสียเลือดเสียเนื้อมิใช่เบา หน้าที่เรารักษาสืบไป
ลูกหลานเหลนโหลนภายหน้า จะได้มีพระสุธาอาศัย
อนาคตจะต้องมีประเทศไทย มิยอมให้ผู้ใดมาทำลาย
ถึงถูกฆ่าล้างโคตรก็ไม่หวั่น จะสู้กันไม่หลบหนีหาย
สู้ตรงนี้สู้ที่นี่สู้จนตาย ถึงเป็นคนสุดท้ายก็ลองดู
บ้านเมืองเราเราต้องรักษา อย่าทำลายเชิญมาเราสู้
เกียรติศักดิ์ของเราเชิดชู เราสู้ไม่ถอยจนก้าวเดียว




















ระบำนกเขาสามหมู่
ประวัติความเป็นมา
ระบำนกเขาสามหมู่ อยู่ในฉากหนึ่งของการแสดงละครประวัติศาสตร์ เรื่อง “อนุภาพแห่งความ เสียสละ” บทประพันธ์ของหลวงวิจิตวาทการ ซึ่งบทประพันธ์ขึ้นจากเหตุการณ์ที่เป็นจริงในประวัติศาสตร์เพื่อต้องการปลุกใจให้อนุชนรุ่นหลัง ได้ระลึกถึงความเสียสละของบรรพบุรุษที่ต่อสู้กับศัตรูและช่วยกันกอบกู้เอกราชของชาติไทยจนเป็นปึกแผ่นถึงทุกวันนี้ท่านจึงนำเอาชีวิตนก 3 ชนิด อันมี นกกระจาบ นิพิราบ และนกแขกเต้ามาเป็นแบบอย่าง คติสอนใจให้ประชาชนคนไทยได้รู้จักความรัก ความเสียสละ ความสามัคคี และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
สำหรับระบำนกเขาสามหมู่อยู่ในละคร “อนุภาพแห่งความเสียสละ” กล่าวถึงขุนฟ้านั่งคุยกับจามรี ชายป่านอกเมืองหิ จามรีได้ถามขุนฟ้าว่า กำลังฝันถึงอะไรอยู่ ขุนฟ้าตอบว่า “ฝันถึงความสุขที่รอเราอยู่เบื้องหน้า ฝันถึงเวลาที่เราได้ร่วมรักกัน เริ่มสร้างชีวิตของเราเหมือนนกที่สร้างรัง” ขุนฟ้าจึงฝันถึงนกกระจาบที่รู้จักสร้างรัง จามรีเอ่ย ถึง นกพิราบที่ไม่ลืมถิ่นกำเนิดของตนแล้วนำมาสอนใจคนให้รู้จักรักถิ่นฐานประเทศของตนเอาอย่าง ขุนฟ้ากล่าวว่า “อาจจะนึกฝันเอาเองได้ ภายใต้ความเงียบสงัดของป่าในเวลาเย็นค่ำแล้ว “ ขุนฟ้าและจามรีกำลังนั่งมโนภาพ นกทั้ง 3 ชนิด ก็ออกมาแสดงในตอนนี้
การแต่งกายของผู้แสดงแต่งกายเลียนแบบนกทั้งสามชนิด โดยใช้ผ้าต่วนสีตามลักษณะสีของนกเช่น นกกระจาบใช้ผ้าต่วนสีเหลือง นกพิราบใช้ผ้าต่วนสีเทา นกแขกเต้าใช้ผ้าต่วนสีสีเขียว เสื้อแขนสั้นหรือแขนยาวกางเกงยาวรัดใต้เข่าหรือวาดเป็นขนนกแทนก็ได้
บทร้องระบำนกสามหมู่
เจ้านกกระจาบ เห็นใบพงร่อนลงคาบ คาบแล้วค่อยเพียนชน
เอามาจัดเรียงทำรัง เป็นเครื่องกำบังแดดฝน ต้องจำไว้สอนใจคน
ให้สร้างตนสร้างชาติเอย
เจ้านกพิราบ เจ้าเป็นนกสันติภาพ รักถิ่นถวินหวัง
แม้ถูกพรากไปไกลถิ่น เจ้าก็มุ่งหน้าบินกลับรัง ไม่ลืมเรือนลืมรัง
เป็นนกตัวอย่างที่ดีเอย
เจ้านกแขกเต้า ขยันอยู่กับเหย้า เฝ้าเลี้ยงลูกปลูกฝัง
ทนุถนอมลูกน้อย เฝ้าแต่คอยระวัง ให้อุ่นเครื่องอุ่นรัง
เป็นมิ่งขวัญครอบครัวเอย
โอ้นกทั้งสาม เจ้ามีความดีงาม กว่าพวกนกชนิดอื่น
ถ้ามนุษย์เอาอย่างเจ้า โลกเราจะร่มรื่น ชีวิตจะชุ่มชื่น
ทุกทิวาราตรีเอย
ผู้แต่งทำนองเพลงคือ นายมนตรี ตราโมท โดยท่านได้คิดค้นจากทำนองเพลงไทยหลายเพลงมาดัดแปลง เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเนื้อร้องที่พลตรีหลวงวิจิตรวาทการได้ประพันธ์ขึ้น ท่านจึงนำเอาเครื่องดนตรีสากลที่มีความหนักแน่นกว่ามาบรรเลงประกอบเข้ากับทำนองเนื้อร้องแทนดนตรีที่มีความนุ่มนวล แต่ไม่เกิดความเร้าใจ และดึงดูดความสนใจของผู้ชมเท่ากับดนตรีสากล ดนตรีที่ใช้บรรเลงในขณะนั้นเป็นวงดุริยางค์สากลของกรมศิลปการ
ผู้คิดประดิษฐ์ท่ารำชุดระบำนกเขาสามหมู่ คือ คุณครูละมุล ยมะคุปต์ คุณครูวัลลี พงษ์ประพันธ์
ซึ่งท่านได้คิดค้นและศึกษาจากอุปนิสัยของนก กริยาท่าทางทั้ง 3 ชนิด จากนั้นจึงนำมาเลียนแบบคิดสร้างสรรค์ให้เกิดท่ารำที่งดงาม น่ารักเหมาะสมกับทำนองเพลง และเนื้อร้องใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด

เพลงเชิด – เพลงเสมอ
เชิด เป็นเพลงที่ใช้ประกอบกิริยาไป – มา ที่มีระยะทางไกล ตลอดทั้งอาการเคลื่อนไหวที่รีบร้อน เพลงเชิดจะแบ่งตามสภาพของการแสดง
เสมอ ใช้สำหรับไปมาตามปกติไม่รีบร้อน และรวมถึงการไปมาในระยะใกล้ๆ เช่น การเดินทางจากห้องหนึ่งมาอีกห้องหนึ่ง หรือการออกว่าราชการตามกปกติ



เพลงสร้อยเพลง - ฝรั่งรำเท้า
ใครมาเป็นเจ้าเข้าครอง คงจะต้องบังคับขับไสย
เคี่ยวเข็ญเย็นค่ำกำไป ตามวิสัยเชิงเช่น ผู้เป็นนาย
เขาก็เห็นแก่หน้าฆ่าชื่อ จะนับถือพงษ์พันธ์นั้นอย่าหมาย
ไหนจะต้องเหนื่อยยากลำบากกาย ไหนจะเอาเท่าทั้งโลก
เพราะฉะนั้นชวนกันสวามิภักดิ์ จงรักร่วมชาติศาสนา
ยอมตายไม่เสียดายชีวี เพื่อรักษาอิสระชนะชัย
สมานสามัคคีให้ดีอยู่ จะสู้ศึกศัตรูทั้งหลายได้
ควรคิดจำนงให้จงใจ เป็นไทยจนสิ้นดินฟ้า


สีนวล
ประวัติความเป็นมา
เพลงสีนวลเป็นเพลงเก่าที่มีมาตั้งแต่โบราณ แต่เดิมเป็นเพลงเรื่องใช้ในงานมงคลต่อมาปรามจารทางนาฏศิลป ได้นำเพลงเรื่องสีนวลบางเพลงมาใช้ประกอบการแสดงนาฏศิลปไทย สำหรับตัวนางที่มีกริยาขดช้อย ทำนองเพลง ดนตรีท่ารำ แสดงความหมายในทางรื่นเริงบันเทิงใจ สำหรับบทร้องที่ใช้ในการเรียนนี้ เป็นเพลงเก่าไม่ทราบผู้แต่งที่บรรยายถึงธรรมชาติเช้าทำให้ชายหนุ่มรำพึงถึงหญิงคนรัก

บทร้องเพลงสีนวล
สีนวลชวนชื่นเมื่อยามเช้า รักเจ้าสาวสีนวลเมื่อหวนคิดถึง
แม้ไม่แลเห็นเจ้าเฝ้าคณึง อยากให้ถึงวันที่รำสีนวล
ปี่พาทย์ทำเพลงต้น วรเชษฐ์ เพลง เร็ว - ลา


ระบำไก่
ประวัติความเป็นมา
ระบำไก่เป็นการแสดงตอนหนึ่งในละครพันทาง เรื่องพระลอ บทพระราชนิพนธ์ในกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ บทประพันธ์ในวรรณคดีชั้นเอกของไทยซึ่งทรงครูชั้นสูงแต่งไว้แต่โบราณการแสดงในชุดนี้ เรียกชื่อชุดว่า ชุดพระลอตามไก่ โดยมีเรื่องย่อดังนี้
ปู่เจ้าสมิงพราย เทพเจ้าประจำภูเขาผู้มีเวทมนต์ชลังที่รับช่วยพระเพื่อน พระแพร เจ้าหญิงงามสององค์แห่งเมืองสรองใช้เวทมนต์นำพระกษัตริย์แห่งเมืองแมนสรวงมาหาปู่เจ้าจึงใช้เวทมนต์เรียกไก่ป่ามาเพื่อเลือกกาตัวงามไปล่อพระลอ ปู่เจ้าสมิงพรายเลือกได้ไก่แก้วตัวหนึ่ง จึงเวทมนต์ลงแก่ไก่และให้ไก่แก้วไปล่อพระลอมา
ผู้ชมจะได้ชมความงามของระบำไก่หมู่ และทีท่าโลดลำพองของไก่แก้ว เมื่อมีปู่เจ้าสมิงพรายเข้าสิง ตามคำร้องในวรรณคดีเรื่องพระลอ ซึ่งตรงพระนราทิป ประพันธ์พงศ์ได้ทรงบรรจุทำนองเพลงขับร้องและเพลงดนตรีไว้อย่างไพเราะเหมาะสม เป็นที่นิยมของบรรดาผู้ใฝ่ใจในนาฏศิลปไทยตลอดมา
บทขับร้องของระบำไก่
- ปี่พาทย์ทำเพลงลาวจ้อย -
สร้อยแสงแดงพระพราย ขนเขียวลายระยับ
ปีกสลับเบญจรงค์ เลื่อมลายหงยงสมาท (ดนตรีรับ)
ขอบตาชาติพระพริ้ง สิงคลิ้งหงอนพรายพรรณ
ขานขันเสียงเอาใจ เดือยหงอนใสสีลำยอง (ดนตรีรับ)
สองเท้าเทียมนพมาศ ปานฉลุชาดทารง
ปู่ก็ใช้ให้ผีลง ผีก็ลงแก่ไก่ (ดนตรีรับ)
ไก่แก้วไซร้บ่มิกลัว บุกผกหัวองอาจ
ขานขันตีปีกป้อง ร้องเรื่อยเฉื่อยฉาดฉาน (ดนตรีรับ)








ระบำเริงอรุณ
ประวัติความเป็นมา
ระบำเริงอรุณ เป็นระบำฉากนำในการแสดงโขนเรื่องรามเกรียติ์ตอนศึกวิรุณจำบัง ซึ่งกรมศิลปกรนำออกแสดงให้ประชาชนชมเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2499 อาจารย์มนตรี ตราโมท เป็นผู้แต่งทำนองเพลง สำหรับบทร้อง อาจารย์มนตรี ตราโมทเป็นผู้แต่งร่วมกับ นายฉัตท์ ขำวิไล ซึ่งแต่งชื่อเพลงว่า “เริงอรุณ”
ความหมายของเพลงเริงอรุณ เป็นการพรรณาถึงความงามของธรรมชาติในยามเช้า มีสระน้ำเย็นใสดาษดาไปด้วยดอกบัวนานาชนิดซึ่งผลิบานชูช่อไสว บรรดาผึ้งภู่ภุมรินต่างโบยบินมาเคลียคลอลิ้มชิมรสเกสรดอกบัวซึ่งบางตระกาลสะพรั่งรับแสงอรุณ
บทร้องเพลงเริงอรุณ
กระแสสินธุ์เย็นใสระพายพริ้ว ดูละลิ้วกลอกกระฉอกกระฉ่อน
ดอกประทุมตูมตั้งอรชร ขยายกลีบกลิ่นเกสรขจรขจาย
ฝูงผีเสื้อต่างสีสลับสลอน กลางล่อนเรียงมาไม่ขาดสาย
เขาเชยชมมาลีที่คลี่คลาย และรำร่ายเริงรื่นชื่นมานเอย

กฤดาภินิหาร
ประวิติความเป็นมา
ประดิษฐ์ขึ้นเมื่อ ร. 8 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ใช้แสดงประกอบละครในเรื่องรามเกียรติ์ศักดิ์ไทย กรมศิลปกรจัดให้ชม ณ. โรงละครกรมศิลปกร เมื่อ พ.ศ. 2486 ต่อมาได้ปรับปรุงแบบการแสดงใหม่ บทร้องบทประพันธ์โดย นางสุดา บุษปฤกษ์ ผู้ประดิษฐ์ท่ารำ หม่อมครูต่วน (ศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก ) และอาจารย์ละมุล ยมะคุป ดนตรีที่ใช้ประกอบ ใช้ได้ทั้งวงปี่พาทย์และดนตรีสากล

บทร้องเพลงกฤดาภินิหาร
ปราโมทย์แสน องค์อัปสรอมรแม้นแดนสวรรค์
ยิ่งกฤดาภินิหารมหัศจรรย์ เกียรติไทยลั่นลือเรื่องเรื่องรูจี
ต่างเต็มตื้นชื่นชม โสมนัส โอษฐ์เอื้อนอรรถอวยพรสุนทรศรี
แล้วจำเรียงเสียงเพลงสดุดี ดนตรีเรื่อยประโคมโสมนัส
แล้วลีลาศเริงรำระบำร่าย กรกรีดกรายโปรยมาลีศรีประสาน
พรมน้ำทิพย์ปรุงปนสุคนธ์ธาร จักรวาลฉ่ำชื่นเรื่อนรมย์ครัน






แม่บทใหญ่
ประวัติความเป็นมา
การรำแม่บทคือ การฝึกหัดรำตามบทร้อง การรำแม่บทนี้เป็นการจัดฝึกหัดท่ารำพื้นฐานของนาฏศิลปไทยเบื้องต้น ซึ่งจะนำไปสู่การฝึกหัดนาฏศิลปไทยในชุดต่อไปซึ่งเท่ากับเป็นพื้นฐานของนาฏศิลปไทย ครูนาฏศิลปแต่โบราณได้ประดิษฐ์ท่ารำ เอาไว้เป็นท่าแรกเป็นท่านั่ง ต่อมา พ.ศ. 2487 คุณครูละมุล ยมคุปต์ และคุณครูมัลลี (หมัน) คงประภัทร์ ได้ขออนุญาต พระยานัฏภานุรักษ์ จัดทำเป็นหลักสูตรให้สอนในโรงเรียนนาฏศิลปจากเดิมที่เป็นท่านั่งได้ประดิษฐ์เป็นท่าเชื่อม “ลีลา” เป็นกระบวนรำขึ้นปัจจุบันยังคงเน้นหลักสูตรใช้สอนนาฏศิลปไทยไว้ในวิทยาลัยนาฏศิลปทั่วทุกแห่ง
ชุดแม่บทชุดใหญ่นี้ นิยมใช้รำเป็นแบบฝึกหัดเบื้องต้นไม่นิยมนำแสดงตามงาน เพราะมีบทร้องยาวมาก ถ้าจะให้อวดฝีมือกันมักใช้แม่บทเล็กเพราะเนื้อร้องน้อยกว่าเพลงแม่บทต่อท้ายด้วยเพลงวรเชษฐ์ แล้วเพลงเร็ว – ลา
ร้องเพลง ชมตลาด
เทพพนมปฐมพรหมสี่หน้า สอดสร้อยมาลาช้านางนอน
พาลาเพียงไหล่พิสมัยเรียงหมอน กังหันร่อนแขกเต้าเข้ารัง (รับ)
กระต่ายทรงจันทร์จันทร์ทรงกลด พระเสตโยนสารมารกลับหลัง
เยื้องกายฉุยฉายเข้าวัง มังกรเรียกแก้วมุจรินท์ (รับ)
กินนอนรำช้ำช้างประสานงา ท่าพระมาราโก่งศิลป์
ภมรเค้ามัจฉาชมวาริน หลงใหลได้สิ้นหงษ์ลินลา (รับ)
ท่าโตเล่นหางนางกล่อมตัว รำยั่วชักแป้งผัดหน้า
ลมพัดยอดตองบังพระสุระยา เหราเล่นน้ำบัวชูฝัก (รับ)
นาคาม้วนหางกวางเดินดง พระนารายณ์ฤทธิ์รงค์ขว้างจักร
ช้างหว่านหญ้าหนุมานผลาญยักษ์ พระลักษณ์แผลงอิทธิฤทธี (รับ)
กินนอนฟ้อนฝูงยุงฟ้อนหาง จัดจางนางท่านายสาถี
ตะเวนเวหาขี่ม้าตีคลี ตีโทนโยนทัพงูขว้างค้อน (รับ)
รำกระบี่สี่ท่าจีนสาวไส้ ทำชะนีร่ายไม้ทิ้งขอน
เมขลาล่อแก้วกลางอัมพร กินนอนเลียบถ้ำหนังหน้าไฟ (รับ)
ท่าเสือทำลายห้างช้างทำลายโรง โจงกระเบนตีเหล็กแทงวิไสย
กรดสุเมรุเครือวัลย์พันธ์ไม้ ประไลยวาทคิดประดิษฐ์ทำ (รับ)
ประวัติเกล้าขี่ม้าเลียบค่าย กระต่ายต้องแล้วแคล้วถ้ำ
ชักซอสามสายลำนำ เป็นแบบรำแต่ก่อนที่มีมา (รับ)
-เพลงเร็วลา-

ฟ้อนเงี้ยว
ประวัติความเป็นมา
ฟ้อนเงี้ยว เป็นการฟ้อนรำของชาวไทยใหญ่ ซึ่งเป็นคนไทยเผ่าหนึ่งในรัฐบาลประเทศพม่า เนื่องจากชาวไทยใหญ่ และชาวไทยภาคเหนือมีวัฒนธรรมและภาษาคล้ายคลึงกันจึงต่างเอาวัฒนธรรมของแต่ละฝ่ายมาผสมผสานกันโดยเฉพาะด้านนาฏศิลป นักฟ้อนชาวเชียงใหม่ได้ถ่ายทอดมาแสดงก่อนต่อมาคุณครูลมุล ยมะคุปต์ ได้ไปสอนนาฏศิลปในคุ้มเจ้าแก้ว นวรัตน์ที่เชียงใหม่ได้จัดทำและนำมาสอนในโรงเรียนนาฏศิลป เมื่อท่านได้นำมาสอนท่านได้แก้ไขปรับปรุงเปลี่ยนแปลงท่ารำให้เหมาะสมสวยงามรวมทั้งเปลี่ยนบทร้องบางคำที่เป็นภาษาคำเมืองมาเป็นภาษาภาคกลางล้วน ๆตามบทร้องจะมีทั้งภาษาคำเมือง และภาษาภาคกลางปนกัน เรียกว่า “เงี้ยวปนเมือง”
อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการรำ คือ กิ่งไม้โดยผู้แสดงถือกิ่งไม้ 2 กิ่ง ดั้งเดิมใช้กิ่งไม้ไผ่หรือกิ่งสน ซึ่งมีความหมายถึงความร่มเย็นมีอายุยืนยาวนาน

บทร้องฟ้อนเงี้ยว
ขออวยชัยพุทธิไกรช่วยค้ำ ทรงคุณเลิศล้ำไปทุกทั่วตัวตน
จงได้รับสรรพมิ่งมงคล นาท่านาขอเทวาช่วยรักษาเกิด
ขอให้อยู่สุขาโดยธรรมมานุภาพเจ้า เทพดาช่วยเฮาถือเป็นมิ่งมงคล
สังฆานุภาพเจ้าช่วยแนะนำผล สรรพมิ่งทั่วไปเทิน
มงคลเทพดาทุกแห่งหน ขอบันดาลช่วยค้ำจุน

ระบำนกเขา
ประวัติความเป็นมา
เป็นรำระบำชุดหนึ่งในละครเรื่อง “อิเหนา” ประสันตาต่อนก ออกแสดงให้ประชาชนชม ณ. โรงละครศิลปากร ในการปรับปรุงแก้ไขบทและการแสดงในคราวนั้นที่ประชุมมีความคิดเห็นว่าควรจะแทรกระบำนกเขาเข้าไปด้วย จึงมอบให้อาจารย์มนตรีตราโมทเป็นผู้แต่งบทร้อง และคิดหาทำนองเพลงขึ้นมาใหม่ด้วย อาจารย์มนตรี ตราโมท เห็นว่าเพื่อความเหมาะสมกับท้องเรื่องท่าจึงได้แต่งเพลงเป็นสำเนียงกบก กล่าวถึงหมู่นกเขามะราปี เพลงนี้แต่งเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2493 และได้นำออกเป็นการกระจายเสียงโฆษณา ณ. สถานีทดลอง )ณ. เป็นครั้งแรก ส่วนท่ารำนั้นคุณหญิงแพ้ว สนิทวงศ์เสนี เป็นผู้ประดิษฐ์ขึ้น และนำออกแสดงแทรกในละครเรื่องอิเหนาเพื่อให้ประชาชนชมในปีนั้น
ระบำชุดนี้ เป็นชุกที่สวยงามชุดหนึ่งโดยเฉพาะทำนองเพลงนั้นจัดได้ว่าเป็นเพลงที่มีความไพเราะอ่อนหวาน นิยมนำไปบรรเลงและร้องกันมากในวงดนตรีไทย ท้ายของเพลงมะราปีจะมีเพลงกบกเงาและท้ายเพลงฉิ่งตรังเพื่อให้หมู่นกนั้นจับระบำและขันดูเข้ากับทำนองเพลงอีกด้วย
การแต่งกาย แต่งเป็นนกเขา ศรีษะทำเป็นรูปนกเขานิยมให้เด็ก ๆ รำ

ร้องเพลงนกเขามะราปี
แสงอรุณแอร่มรางยามอุทัย รังสีไขประไพผ่องส่องเวหา
ผึ้งภมรว่อนเคล้าคลึงผกา หมู่ปักษาตื่นออกจากรังเรียง
ที่วุ้งเวิ้งเชิงผามะราปี สกุณีมี่ก้องร้องแซ่เสียง
บ้างขันคึกนึกกล้าท้าคารม ทั้งเรียกคู่ข่มคู่ต่อสู้
ฝีปากดีตีประชันต่างขันดู แล้วจับคู่ผู้เมียเข้าเคลียคลอ
ปี่พาทย์ทำเพลงแขกเงาะ
เพลงฉิ่งตรัง

กรุงศรีอยุธยา
ประวัติความเป็นมา
เพลงปลุกใจกรุงศรีอยุธยา เป็นเพลงประกอบการแสดงละครประวัตศาสตร์ เรื่องพระเจ้ากรุงธน ซึ่งเป็นบทประพันธ์ของพลตรีหลวงวิจิตร วาทการ กรมศิลปกรจัดให้ประชาชนชม ณ. โรงละครศิลปากรเมื่อ พ.ศ. 2480 ผู้ประดิษฐ์ท่ารำคือ คุณครูละมุล ยมะคุปต์ และคุณครูมัลลี คงประภัทร และต่อมา พ.ศ. 2526 ได้รับปรับปรุงแบบการแสดงเป็นการรำหมู่ ชาย – หญิง ผู้ปรับปรุงท่ารำคือ คุณครูเฉลย ศุภวณิต และคุณครูละมุล ยมะคุปต์ โอกาสที่แสดง ใช้ประกอบการแสดงละครเรื่องพระเจ้ากรุงธนและแสดงเป็นชุดวิพิทัศนา
บทร้องเพลงปลุกใจกรุงศรีอยุธยา
(สร้อย) กรุงศรีอยุธยาราชธานีไทย ถึงเคยแตกแหลกไปก็ไม่สิ้นคนดี
เราจะรบศัตรูต่อสู้ไพรรี เราจะกู้เกียรติศรีอยุธยาไว้เอย
อยุธยาธานีศรีสยาม เป็นเมืองงามธรรมชาติสนอง
บริบูรณ์ลุ่มน้ำและลำคลอง ท้าวอู่ทองทรงสร้างให้ชาวไทย
(สร้อย)
ครั้งโบราณแพ้พม่าเป็นข้าเขา พระนเรศวรเจ้าทรงกู้ได้
ไล่ศัตรูไปให้พ้นแผ่นดินไทย ศรีอยุธยาไม่สิ้นคนดี
(สร้อย)
ชาวศรีอยุธยามาด้วยกัน เลือดไทยใจมั่นไม่พรั่นหนี
ชีวิตเราขอน้อมและยอมพลี ไว้เกียรติศรีอยุธยาคู่ฟ้าดิน
(สร้อย)






เพลงเดิน
ประวัติความเป็นมา
เพลงเดินเป็นเพลงประกอบประวัติศาสตร์ เรื่องน่านเจ้า เป็นบทประพันธ์ของ พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ กรมศิลปากร จัดให้ประชาชนชม ณ. โรงละครกรมศิลปากรเมื่อ พ.ศ. 2482

บทร้องเพลงเดิน
เดิน เดิน เดิน ไม่ยอมแพ้ใครชาติไทยต้องเดิน
เดิน เดิน เดิน ถ้าหวังก้าวหน้า เราต้องพากันเดิน
เดิน เดิน เดิน ไม่ท้อทางไกลขอให้ไทยเจริญ
ไชโย ไชยะ ให้ไทยชนะตลอดปลอดภัยไชโย (ซ้ำ)
มาเพื่อนไทย มารวมน้ำใจสมานกับฉัน
ไปตายดาบหน้า เพื่อนไทยจงมาให้พร้อมเพรียงกัน
พบหนามเราจะฝ่า พบป่าเราจะฟัน
พบแม่น้ำขวางกั้น เราจะว่ายข้ามไป
(สร้อย)
ใครขวางทางเดิน พวกเราเชิญเขาหลีกทางไป พบเสือ เราจะสู้
พบศัตรู เราจะฆ่า
พบอะไรขวางหน้า เราจะฝ่าฟันไป
(สร้อย)

เพลงชุบ
ประวัติความเป็นมา
ใช้สำหรับสลับกริยาไป – มา ใช้สำหรับผู้ที่มีค่าต่ำศักดิ์ เช่น นางกำนัล หรือสาวใช้ เป็นต้น

ศึกบางระจัน
ประวัติความเป็นมา
เพลงศึกบางระจัน เป็นเพลงที่แต่งขึ้นมาในความหมายปลุกใจให้รักชาติ แต่เดิมเป็นเพลงร้องปลุกใจธรรมดา ต่อมารัฐบาลได้นำเอามาจัดทำเป็นชุดรวมเพลงปลุกใจประกอบท่ารำผู้แต่งคำร้องและทำนอง คือ นายสุรินทร์ ยะนันท์ ผู้คิดประดิษฐ์ท่ารำ คือ ครูละมุล ยมะคุปต์ ครูเฉลย ศุขะวิณิช และครูกรี วรศะริน
บทร้องเพลงศึกบางระจัน
ศึกบางระจันจำไว้ให้มั่นพี่น้องชาติไทย เกียรติประวัติสร้างไว้แด่ชนชาติไทยรุ่นหลัง
แม้ชีวิตยอมอุทิศคราชาติอับปาง เลือดไทยต้องมาไหลหลั่งทาทั่วพื้นแผ่นดินทอง
ไทยคงเป็นไทยมิใช่ชาติเป็นเชลย ไทยมิเคยถอยร่นชนชาติศัตรู
บางระจันแม้สิ้นอาวุธจะสู้ สองดาบฟาดฟันศัตรูสู้จนชีพตนมลาย
ตัวตายดีกว่าชาติตาย เพียงเลือดหยาดสุดท้ายขอให้ไทยได้คงอยู่
แดนทองของไทยมิใช่ศัตรู แม้ใครรุกรานเราสู้เพื่อกู้แหลมถิ่นไทยงาม

จีนรำพัด
ประวัติความเป็นมา
การแสดงชุดนี้เดิมทีเดียวเพลงที่บรรเลงเวลารำนั้นเป็นเพลงสำเนียงจีนชื่อว่า “จีนดาวดวงเดือน” แต่เนื่องจากได้นำเพลงมาใช้ประกอบการรำพัดจนฝังตัวจึงเรียกเพลงนี้ว่า “จีนรำพัด” และเมื่อรำพัดก็มักจะใช้บทที่ขึ้นต้นว่า “ชื่นใจ ที่เอาไม้ราบร่มมาพัดฉิว” ซึ่งตัดมาจากบทละครเรื่อง “เงาะป่า” ครั้นต่อมากรมศิลปากรจะนำออกแสดงให้ประชาชนชมและต้องการจะให้มีบทเฉพาะการแสดงรำพัด จึงมอบให้อาจารย์มนตรี ตราโมท เป็นผู้แต่งขึ้นใหม่แต่คงใช้เพลงจีนดาวดวงเดือนหรือจีนรำพัดอย่างเดิม และต่อท้ายด้วยเพลงจีนรัว ต่อมาในสมัยหลังเพื่อมิให้ชื่อซ้ำกับของเก่า จึงนำบทที่อาจารย์มนตรี ตราโมท มาขับร้องในเพลงพญาสี่เสา พร้อมทั้งตั้งชื่อการรำชุดนี้ใหม่ว่า “รำวิชนี” นับว่าเป็นชุดเกิดใหม่อีกชุดหนึ่ง ซึ่งนิยมแสดงในหมู่นักแสดงทั่วไป
สำหรับผู้คิดประดิษฐ์ท่ารำเพลง “จีนรำพัด” คือ คุณหญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลปไทยของกรมศิลปากร
การแต่งกาย แต่งเป็นหญิงชาวจีน ในมือถือพัดทั้งสองข้าง
เพลงจีนดาวดวงเดือน
ชื่นใจ ที่เอาไม้ราบร่มลมพัดฉิว
หอมกระถินกลิ่นไกลใจริ้วริ้ว หรือใครลิ่วลมแฉลบมาแนบมอง (รับ)
โลกนี้มีอะไรมิใช่คู่ ได้เห็นอยู่ทั่วถ้วนล้วนเป็นสอง
ดวงจันทร์ทั้งยังมีอาทิตย์ปอง เดินพบพ้องบางคราวเมื่อเช้าเย็น
- ดนตรีทำนองเพลงจีนรัว -
ระบำมยุราภิรมย์
ประวัติความเป็นมา
ระบำชุดนี้กรมศิลปากรได้รับมอบหมายให้อาจารย์มนตรี ตราโมท เป็นผู้แต่งทำนองเพลงเพื่อประกอบท่าร่ายรำหมู่นกยูงในละครเรื่อง “อิเหนา” ตอน “หย้าหรันได้นางเกนหลง” และตั้งชื่อเพลงนี้ว่า “เพลงมยุราภิรมย์” ได้จัดแสดงถวายพระบาทสมเด็จพระภูมิพลมหาราชและพระบาทสมเด็จพระบรมมราชินีนาถ ทอดพระเนตร เนื่องในโอกาสรับรองราชอาคันตุกะ ประธารนาธิปบดีซูการ์โน แห่งอินโดนิเซีย เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2504
หน้าพาทย์สีนวล
ประวัติความเป็นมา
เพลงหน้าพาทย์สีนวล เป็นเพลงที่ไม่มีเนื้อร้อง ใช้ตะโพนเป็นจังหวะหน้าทับ เป็นเพลงหน้าพาทย์ที่แสดงอารมณ์สนุกสนาน รื่นเริง ใช้กับตัวนาง ท่ารำมีมาแต่โบราณ เช่นเดียวกับหน้าพาทย์ชั้นสูงอื่นๆ
ฟ้อนเทียน
ประวัติความเป็นมา
ฟ้อนเทียนก็คือฟ้อนเล็บนั่นเอง แต่การฟ้อนเทียนนั้นมักฟ้อนในเวลากลางคืน และแทนที่จะใส่
เล็บก็เปลี่ยนเป็นถือเทียนแทน ทั้งนี้เพราะเวลากลางคืน ผู้ชมจะมองไม่เห็นช่างฟ้อนและลีลาการฟ้อน ความงดงามของการฟ้อนเทียนอยู่ที่เทียนทั้งหมดจะส่องแสงเรืองรอง ส่ายไปส่ายมาอย่างมีระเบียบและพร้อมเพรียงกัน แสงเทียนยังได้ส่องดวงหน้าของช่างฟ้อน ตลอดจนเครื่องแต่งกาย มองดูสง่างดงามมาก ส่วนการแต่งกายของช่างฟ้อน เครื่องดนตรีและท่ารำเหมือนกันกับฟ้อนเล็บทุกประการ การฟ้อนเทียนนี้จะฟ้อนในงานสมโภช ฟ้อนในงานรื่นเริง เช่น งานขันโตก งานปอย แห่ครัวทานตอนกลางคืน เป็นต้น
การฟ้อนเทียนครั้งสำคัญคือ การฟ้อนเทียนสมโภชช้างเผือก ซึ่งบริษัทป่าไม้บอเนียว น้อมเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว คราวเสด็จประภาสมณฑลฝ่ายเหนือ เมื่อ พ.ศ. 2469 ช้างเผือกนั้นได้รับพระราชทานนามว่า “พระเศวตคชเดชดิลก” พระราชทานชายาเจ้าดารารัชมี ทรงฝึกหัดการละเล่นหลายอย่าง เช่น ฟ้อนเทียน ฟ้อนเล็บ ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา ฟ้อนมอญหรือผีมด จากการสมโภชช้างเผือกนี้ ทำให้ศิลปะการฟ้อนรำทางภาคเหนือแพร่ไปสู่ภาคกลาง และกรมศิลปากรได้ฝึกหัดถ่ายทอดกันมาจนบัดนี้ เนื้อร้องฟ้อนเทียน
ปวงข้าเจ้า ยินดีที่เนาในถิ่นไทยสถาน
ระเริงระรื่นชุมชื่นใจบาน ทุกสิ่งศาลติสุขนานา
เบิ่งดอกไม้ ก็งามวิลัยลออพอตา
หลายสีเลอสันหลากพันผกา ชุ่มชื่นนาสาพาใจใฝ่ชม
ปวงประชา ยลพักตร์ลักขณาทรงงามคำคม
หน้าตาชื่นบานสำราญอารมณ์ จิตน้อมนิยมโอบอ้อมอารี
มั่นรักษา พุทธศาสนาแนบดวงฤดี
ส่งเสริมศิลปะมาละประเพณี ผูกมิตรไมตรีตรึงชาติชนปวง

ระบำเทพบันเทิง
ประวัติความเป็นมา
ระบำเทพบันเทิง เป็นชุดการแสดงของกรมศิลปากรปรับปรุงขึ้น ใช้เป็นระบำของเทพบุตรและนางฟ้ามาฟ้อนรำบำเรอองค์ปะตาระกาหรา ในละครเรื่อง อิเหนา ตอน ลมหอบ ซึ่งนำออกแสดงให้ประชาชนชม ณ โรงละครศิลปากร เมื่อ พ.ศ.2499
โดยมีนาย มนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีไทยของกรมศิลปากร เป็นผู้แต่งบทร้องและปรับปรุงทำนองเพลงแขกเชิญเล้ากับเพลงยะวาเร็วมารวมกันเป็นชุดเรียกชุดนี้ว่า “ระบำเทพบันเทิง” ส่วนท่ารำนั้นครู ลมุล ยมะคุปต์ร่มกันคิดท่ารำกับหม่อม ต่วน ภัทรนาวิก (นางศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก) การแสดงชุดนี้เป็นชุดหนึ่งที่มีท่ารำสวยงาม เพลงร้องและเพลงบรรเลงไพเราะประสานกลมกลืนกัน นิยมนำมาแสดงกันอย่างแพร่หลาย
ร้องเพลงแขกเชิญเจ้า
เหล่าข้าพระบาทขอวโรกาสเทวฤทธิอดิศร ขอฟ้อนกรายรำร่ายถวายกร
บำเรอปิ่นอมรปะตาระกาหรา ผู้ทรงพระคุณยิ่งบุญบารมี
เพื่อเทวบดีสุขสมรมยา เถลิงเทพพระสิมา พิมานสำราญฤทัย (สร้อย)สุรศักดิ์ประสิทธิ์ สุรฤทธิ์กำจาย ทรงสราญพระกาย ทรงสบายพระทัย ถวายอินทรีย์ ต่างมาลีบูชา ถวายดวงตา ต่างประทีปจำรัสไข
ถ้อยคำอำไพ ต่างรูปหอมจุณจันทร์ ถวายดวงจิต อัญชลิตวรคุณ
ที่ทรงการุณย์ ผองข้ามาแต่บรรพ์ ถวายชีวัน รองบาทจนบรรลัย (สร้อย)
ร้องเพลงยะวาเร็ว
ร่วมกันร้องทำนองลำนำ มาฟ้อนมารำให้รื่นเริงใจ (ซ้ำ)
ให้พร้อมให้เพรียงเรียงระดับ เปลี่ยนสับท่วงทีหนีไล่ เวียนไปได้จังหวะกัน
อัปสรฟ้อนส่าย กรีดกรายออกมา ฝ่ายฝูงเทวา ทำท่ากางกั้น (ซ้ำ)
เข้าทอดสนิท ไม่บิดไม่ผัน (ซ้ำ) ผูกพันธ์ผูกพันธ์สุดเกษม ปลื้มเปรม ปลื้มเปรม ปรีดา
- ดนตรีทำเพลงยะวาเร็วต่อ -







รำโคมญวน
ประวัติความเป็นมา
รำโคมญวนเป็นนาฏศิลปที่ดัดแปลงมาจากญวนรำกระถาง ซึ่งเป็นการละเล่นอย่างหนึ่งในงานพระราชพิธีของหลวงที่สืบต่อกันมาช้านาน ตามประวัติการรำโคมสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ได้กล่าวถึงรำโคมญวนไว้ว่า เมื่อปี พ.ศ. 2326 องเชียงสือหลานเจ้าเมืองเว้ ได้อพยพครอบครัวญวนหนีพวกกบฏไกเชินเข้ามาขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาบสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์องเชียงสือได้ฝึกหัดพวกญวนอพยพเล่นญวนรำกระถางและมังกรดาบแก้วถวายให้ทอดพระเนตรหน้าพลับพลาเวลากลางคืนเป็นการสนองพระเดชพระคุณ และได้เล่นในงานฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งสร้างแล้วเสร็จเมื่อปีมะโรง พ.ศ. 2327 นอกจากนี้ได้เล่นในงานพระราชพิธีหลวงต่าง ๆ เป็นประเพณีสืบต่อมาจนถึงรัชกาลหลัง ๆ
รูปแบบการแสดงแต่เดิมนั้นผู้เล่นรำโคมจะขับร้องพร้อมกับออกท่ารำ เต้นตามจังหวะเข้ากับเพลงล่อโก๊ะและแปรแถวเป็นรูปต่างๆ เช่น ต่อตัวเป็นรูปเรือสำเภา รูปป้อม รูปมังกร รูปซุ้ม ในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงใช้ปี่พาทย์บรรเลงประกอบแทนล่อโก๊ะ
การแต่งกาย แต่งแบบญวนโบราณนุ่งกางเกงแพรขายาวเสื้อคอตั้งสาบป้ายข้างแขนยาวปักไหมและดิ้นเป็นลวดลายตามขอบปลายขากางเกงปลายแขนเสื้อ ชายเสื้อและสาบ ตลอดถึงคอที่เอวมีแพรคาดเอว ผูกทิ้งชายด้านหน้า และผ้าแพรโพกศีรษะผูกทิ้งชายไปด้านหลัง
ลักษณะของโคมเป็นรูปกระถางต้นไม้สี่เหลี่ยมก้นสอบมีด้ามถือโครงทำด้วยไม้ปิดกระดาษบางใส ติดเทียนไขจุดไฟไว้ในกระถาง
บทร้องและบทรำปัจจุบันที่นำมาใช้เป็นบทเรียน สำหรับฝึกหัดนักเรียนของวิทยาลัยนาฏศิลปนั้นเป็นบทที่สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมแก่การแสดงละครดกดำบรรพ์เรื่อง สังข์ศิลป์ไชย หม่อมครูต่วน (ศุภลักษณ์) ภัทรานาวิก ได้นำมาฝึกซ้อมนักเรียนของวิทยาลัยนาฎศิลป เพื่อแสดงให้ประชาชนชม ณ โรงละครศิลปากร เมื่อ พ.ศ. 2490 และต่อมาได้นำมาบรรจุในหลักสูตรวิชานาฎศิลป์ภาคปฎิบัติในในวิทยาลัยนาฏศิลป ดังบทร้องต่อไปนี้
บทร้องเพลงร้องญวนรำกระถาง
ทีโห้เหินเจือง ทีโห้เหินเจือน
กิ๊กกรุงเมืองฮือ โกร๊กกร๊างโก๊ผ่องเกรือง
อันหยาอันหนูโฮ หนูโหต๋าวบางเตือน
วิกาวมางกื๋อผัดผัง เกียมกิ๊ดกิมเชือง
กิ๋นเหมียงเกียงกี กาวฮือเจืองกวางก๊ง
ด่าวเฮ้ยด่าวชั้นหลวง จี๊หานตื๋นเหมียงหยางหยู่ฉางจี
กรุงเตรียมทียามทานกวี โนสันบีกินโฮยกรำเหลโฮกวี
เตรียมบินโรยหากวี สวางกงกวีฮือ
เดืองกูกำดาวกวาหาหะ ยายทู้เทียนฮือย้อจูบ่างล้า
เตรียมสันยาฮา เจียมดำรั้งร้ากวาหาหะ
ดำรั้งกุนฮือเตียว พวะพูมินเทียนสือสือทีสะ
ตวัดเตียวตัดเมามา เจียวต่ายบางเรือขลาบพะยาหาฮาหะ
หันหอเตียวเต้าเชือง กร๊าบได่กราบเตียวเยือง
ตะวาหะฉันกรุงฮึง ทีเมื้องเมียง
หันหอเตียวเต้าเชือง กร๊าบได่กราบเตียวเยือง
ตะวาหะฉันกรุงฮึง ทีเมื้องเมียง
บทถวายดอกไม้ประทีป
หาวยือตันยู่นังนงฮือ หาวยือเตไงอันกุนฮือ
กุ๋นทั่นนงทัน กาวรูเลินรำร่ายรายตุยหงาหะ
กานทุกุมเตียว กุ๋นทั่นยายก๋ง
ก๋งลาหาลัก อระฉุดกงสีฮือ
ทุ๋นทั่นยายก๋ง ก๋งลาหาลักอระฉุดกงสีฮือ
กื๋อบ๋างกวางเตรียม ตีอ๋องกานอ๋อง
กื๋อบ๋างกวางเตรียม ตีอ๋องกานอ๋อง
ฮั่นฮั่นเฮยเฮยนั่นยวง ฮั่นฮั่นเฮยเฮยนั่นยวง
ตีลียุคหยุด ลายอ่องก้านออง
ตีลียุคหยุด ลายอ่องก้านออง
โก้เกี้ยวสื่อหลายโล่กุง บินโฮยลือหลายหางเหืองเนืองเชืองด้ามุง
โลกำลุงสีโลกุง สะวายเตรียมฟุงเอยน่งนง
สะวายเตรียมฟุงเอยน่งโน่ง
เพลงบรรเลงและขับร้อง
ปี่พาทย์ทำเพลงญวนทอดแห นำหนึ่งเที่ยวแล้วร้องเพลงญวนรำกระถางและถวายดอกไม้ประทีป จบแล้วปี่พาทย์ทำเพลงพระยาเดินและรัวทำนองญวน (บทร้องจาก “ชุมชนและบทละครและบทคอนเสริท์” พระนิพนธ์ของสมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ กรมศิลปากรจัดพิมพ์ในงานฉลองครบรอบร้อยปีแห่งวันประสูติ 28 เม.ย. 2506)
รายละเอียดเกี่ยวกับรำโคมญวนในสมัยรัชกาลที่ 1 – 4 ซึ่งแสดงในงานพระราชพิธีควรศึกษาจากหนังสือ ประชุมบทรำโคม ฉับหอสมุดฯ


พญาเดิน
ประวัติความเป็นมา
เพลงพญาเดินเป็นเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูง เพลงหน้าพาทย์คือเพลงที่มีทำนองและจังหวะหน้าทับกำหนดเป็นแบบแผน รวมทั้งกำหนดโอกาสที่ใช้ไว้อย่างแน่นอน โดยทั่วไปเพลงหน้าพาทย์จะไม่มีบทร้อง ใช้บรรเลงแต่ทำนองเพียงอย่างเดียว เพลงหน้าพาทย์ส่วนมากจะมีท่ารำกำหนดไว้เฉพาะในแต่ละเพลงและเพลงหน้าพาทย์อย่างเดียวกัน การใช้ท่ารำของตัวละครคือ พระ นาง ยักษ์ ลิ ก็ย่อมจะแตกต่างกันไปด้วย
เพลงหน้าพาทย์แบ่งออกเป็นเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงและเพลงหน้าพาทย์ธรรมดา เพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “เพลงครู” ซึ่งถือว่าเป็นเพลงที่ศักดิ์สิทธิ์ ผู้ที่ผ่านพิธีครอบและไหว้ครูทางดุริยางค์ไทยและนาฏศิลปแล้ว เมื่อได้ยินเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงจะยกขึ้นไหว้ระลึกถึงครูอาจารย์ที่ได้ประสิทธิ์ประสานวิชาให้เพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงมีความหมายและยิ่งใหญ่ฉพาะเพลง เช่น เพลงสาธุการ ตระนิมิต บาทสกุณี ชำนาญ คุกพาทย์ ฯลฯ เป็นต้น
เพลงหน้าพาทย์ธรรมดาหมายถึงเพลงหน้าพาทย์ที่ใช้ประกอบกิริยาอารมณ์โดยปกติทั่วไปของตัวละคร เช่น เพลงช้า เพลงเร็ว เชิด เสมอ รัว โอด เป็นต้น
เพลงพญาเดินเป็นเพลงหน้าพาทย์ที่วัดอยู่ในเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูง ใช้บรรเลง ประกอบกิริยาอาการไปมาที่ไม่ซับซ้อนของตัวละครผู้สูงศักดิ์ การแต่งกายแบบ ยืนเครื่อง

ระบำพรหมาสตร์
ประวัติความเป็นมา
เป็นระบำในโขนเรื่องรามเกียรติ์ชุด “ศึกพรหมาสตร์” ซึ่งเป็นบทพระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ทรงแต่งเป็นบทคอนเสริตสำหรับบรรเลงและขับร้องในงานต้อนรับแขกเมือง ในสมัยรัชกาลที่ 5 เดิมใช้ชื่อว่า “อินทรชิตแผลงศรพรหมาสตร์” หรือ “ระบำหน้าช้าง” เพราะตามเนื้อเรื่องในคอนเสริตนั้น กล่าวว่า อินทรชิตโอรสของทศกัณฐ์ใช้กลยุทธลวงพระลักษณ์และกองทัพวานร โดยอินทรชิตแปลงเป็นพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ แล้วให้บรรดาพลยักษ์แปลงเป็นเทพบุตรนางฟ้า ฟ้อนรำนำขบวนไปหน้าช้างเอราวัณ
ผู้ประดิษฐ์ท่าระบำชุดนี้ คือ หม่อมเข็ม กุญชร (หม่อมของเจ้าพระยาเทเวศน์วงวิวัตน์) การแต่งกาย แต่งแบบยืนเครื่องพระ – นาง
บทร้องตับพรหมาสตร์
ปี่พาทย์ทำเพลงกราวนอก
เพลงกราวนอก
ขึ้นทรงคอคะชาเอราวัณ อาหารแห่โห่สนั่นหวั่นไหว
ขยายยกโยธาคลาไคล ลอยฟ้ามาในโพยมมาร
เพลงกลองโยน
ช้างเอ่ยช้างนิมิต เหมือนไม่ผิดช้างมคะวัน
นักเริงแรงกำแหงหาญ ชาญศึกสู้รู้ท้วงที่
ผูกเครื่องเรื่องทองทอ กระรินทองหล่อทอแสงสี
ห้อยหูคู่จามรี ปกกระพองทองพันราย
เครื่องเรียงสามแถว ลายกาบแก้วแสงแพร
อภิรุมสินชุมสาย บังแทรกอยู่เป็นคู่เคียง
กลองชนะประโลมศึก มโหระทึกกึกก้องเสียง
แตรสังข์ส่งสำเนียง นางจำเรียงเดียงช้างทรง
สาวสุรางค์นางรำฟ้อน ดังกินนรแน่งนวลระหงษ์
สิทธิฤทธิ์รงค์ ถือธงนองลิ่วลอยมา
เพลงกระบอก
ครั้นถึงที่ประจัญ บานประจัญบานราญรอน เห็นวานรนับแสนแน่นหนา
กับทั้งองค์พระลักษณ์ พระลักษณ์ทรงศักดิ์ดา ยืนรถรัตนาอยู่กลางพล
จึงให้หยุดช้าง ทรงช้างทรงองอาจ ลอยเลื่อนเกลื่อนกลาดกลางเวหา
ให้กุมภัณฑ์บันดาล บันดาลจำแลงตน ใส่กลจับขรรค์ระบำบรรพ์เอย

เพลงแขกอาหวัง
บัดนั้น รูปนิมิตฤทธิ์แรงแข็งขัน
สาวสุรางค์นางฟ้าเทวัญ บังคมคันคำนับรับบันชา
เพลงสร้อยสน
ต่างจับระบำรำฟ้อน ทอดกรีดกรายซ้ายขวา
รายเรียงเคียงคมประสมตา เลี้ยวไล้ไขว่คว้าเป็นท่าทาง
ซ้อนจังหวะประเท้าก้าวกล่อง เลี้ยวลอดสอดคล้องไปตามว่าง
วนเวียนเทียนหันกั้นกลาง เป็นคู่ๆอยู่กลางอำพร
ปี่พาทย์ทำเพลงเร็ว-ช้า
เมื่อนั้น พระลักษณ์ผู้ทรงศักดิ์และทรงศร
ทั้งพวกพลากร ดูรำฟ้อนบนเมฆา
หมายว่าพระอินทร์ สรอับสร เธอหรรษา
พิศเพลินเจริญตา ทั้งพลวานรไพร
เพลงแมลงวันทอง
เมื่อนั้น อินทรชิตยินดีจะมีไหน
เห็นค่าศึกเสียเชิงระเริงใจ จึงจับธงชัยขึ้นบูชา
เพลงแห่เฉิดฉิ่ง
พาดสายหมายเขมันเข่นเคี้ยว หนาวเหนี่ยวด้วยกำลัง
สังเกตตรงองค์พระลักษณ์อนุชา อสุราก็สั่นไปทันใด
ปี่พาทย์ทำนองเพลงเชิดกลอง
เพลงร่ายรุด
ลูกศรกระจายดั่งสายฝน ต้องพวกวานรหลบไม่ทันได้
ต้องพระอนุชาเสนาไหน สลบไปไม่เป็นสมประดี
เพลงกราวนำ
ดีใจไพรีพินาถสิ้น อสุรินสวนสันหรรษา
โยธีสมคะเนเฮฮา คืนเข้าลงถาพารี

ฟ้อนเล็บ
ประวัติความเป็นมา
สมเด็จกรมพระยาดำรง เดชานุภาพ ทรงเล่าเรื่องเกี่ยวกับการฟ้อนรำของชาวภาคเหนือ ในคราวที่ท่านตามเสด็จตรวจมณฑลพายัพ ตอนเสด็จเยือนเมืองลำปาง ลำพูน เจ้าเมืองและราษฎรจัดพิธีต้อนรับดังนี้ ถึงวันจะเข้าเมือง(ลำปาง)ในเวลาเช้าเจ้านายชั้นผู้ใหญ่และผู้น้อย ต่างก็แต่งกายเต็มยศขี่ช้างออกจากเมืองกับขบวนแห่มาถึงใกล้ที่พลับพลา พวกเจ้านายลงจากคอช้างแยกออกเป็น 2 แถว มีกฎกันยาวกั้นทุกคนพากันเดินตามคนเชิญพานดอกไม้ ธูปเทียน เครื่องสักการะนำหน้ามาพาเจ้ากั้นบริเวณพลับพลาเจ้านายทั้งผู้ใหญ่และผู้น้อยพากันฟ้อนรำ เป็นคู่ๆ เข้ามาหาข้าพเจ้า
การฟ้อนรำมีอยู่ 2 แบบ
คือ แบบแรกฟ้อนด้วยมือเปล่าไม่ใส่เล็บยาวเรียกว่า “ฟ้อนเจิง” แบบที่สองใส่เล็บยาวเรียกว่า “ฟ้อนเล็บ”
การฟ้อนเจิงและการฟ้อนเล็บของชาวเหนือ เป็นประเพณีสืบต่อกันมานานแล้ว ฟ้อนเจิงในปัจจุบันนี้หาได้ยากแม้ในสมัยก่อนก็เช่นเดียวกัน การฟ้อนเจิงจะจัดขึ้นในพิธีสำคัญๆ เช่น พิธีสู่ขวัญ พิธีรับแขกเมืองหรือแสดงความจงรักภักดี ส่วนการฟ้อนรำนั้น ชาวเหนือยังรักษาฝึกซ้อมและถ่ายทอดกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ ผู้ที่ฟ้อนเล็บส่วนมากเป็นหญิงสาวเรียกว่า “ช่างฟ้อน” การฟ้อนเล็บนี้จะฟ้อนในงานต่างๆ เช่น การต้อนรับแขกเมือง การรดน้ำดำหัว เป็นต้น
การแต่งตัวเป็นแบบเมืองเหนือ คือ นุ่งผ้าซิ่น สวมเสื้อแขนกระบอกมีผ้าสไบคาดเหนี่ยวบ่า ผมเกล้าสูงหรือเลยไปข้างหลังนิดหน่อยที่ผมประดับออกเอื้อง ส่วนเล็บที่สวมนั้นทำด้วยโลหะทองเหลือง มีขนาดยาวประมาณ 3 นิ้ว ปลายเลียวงอน
ท่ารำฟ้อนเล็บนั้น ช่างฟ้อนมักจะจำต่อๆ กันมาที่เข้าใจว่าเป็นท่าของชาวเหนือ เท่าที่สังเกตเห็นเป็นท่าเดิมจริงๆ มีดังนี้
1. ท่าพายเรือ
2. ท่าเชิดบัวบาน
3. ท่าตากปีก
4. ท่าหย่อน (เป็นท่าสับฝึก)
ต่อมาการฟ้อนเล็บก็มีการปรับวิธีฟ้อนที่มีน้อยท่าให้เข้ากับท่ารำแม่บท และเพิ่มท่ารำให้มากขึ้นดังนี้
ชุดที่ 1
1. จีบหลัง (หงษ์บิน)
2. วงบน (จันทร์ทรงกลด)
3. ม้วนมือไหว้หว่างคิ้ว
4. ปิดบัวบาน
5. กังหันร่อนแล้วม้วนมือลงจีบหลัง
ชุดที่ 2
1. ตระเวรเวหา
2. ลมพัดยอดตอง
3. พระรถโยนสาร
4. ผาลา
5. บัวชูฝักแปลงต่อกังหันร่อน
ชุดที่ 3
1. พายเรือ
2. พระลักษณ์แผลงฤทธิ์
3. ชักกระบี่ 4 ท่า
ชุดที่ 4
1. พรหมสี่หน้า
2. กระต่ายต้องแร้ว
3. จับแก้วคู่
ชุดที่ 5
1. กระหวัดเกล้า
2. พิศมัยเรียงหมอน
3. ตามปีก
จบด้วยการยกมือไหว้ลา
การฟ้อนเล็บของชาวเหนือเป็นศิลปะอันประณีตงดงามมาก นอกจากนั้นพวกท่าที่ร่ายรำยังแสดงถึงอุปนิสัยอันดี การฟ้อนเล็บจึงเป็นศิลปะที่มีคุณค่าจึงแก่การรักษาไว้ไม่ให้สูญหาย
เนื้อร้องทำนองเพลง ตี๋ปลา โม่ปลา ซางไซยา โอมองโละ โลเปรี้ยว มะลันโซ มโหรา รำมะแจ้ตี๋ปาตะเนปานปานโตเง เห แต่เต่โล่ท่า (ฮัม) เต้โล่ทา ฮิตแต่โซ โลลัน เปียว เนโฮ เนต่าง ไม่ว่า
เพลงแม่บทนางนารายณ์ (แม่บทเล็ก)
ประวัติความเป็นมา
การร่ายรำแม่บทเล็กนี้ได้ปรากฎในตำราการฟ้อนรำของอินเดีย ซึ่งกล่าวถึงพระอิศวรได้ฟ้อนรำให้มนุษย์โลกได้ชม ชาวอินเดียเชื่อว่าที่ตำบลจิทัมพรัม ในอินเดียทางฝ่ายไต้(ในแคว้นมัทราส) เป็นที่ซึ่งพระอิศวรทรงแสดงการร่ายรำและต่อมาได้สร้างรูปปั้นพพระอิศวรปางนี้ การฟ้อนรำนี้เรียนกว่า นาฏราช พวกพราหมณ์ได้ถ่ายแบบนำไปเผยแพรี ปัจจุบันยังมีสถานที่แห่งนี้อยู่สร้างขึ้นเมื่อราว พ.ศ. 1800 เป็นรูปพระอิศวรทรงแสดงการฟ้อนรำทั้งหมด 108 ท่า มีปรากฏในตำรานาฏยศาสตร์มีท่ารำทั้งหมด 32 ท่า และต่อมานำมาดัดแปลงเป็นท่ารำต่าว ๆ 10 ท่า และบัญญัติ เรียกชื่อว่า พฤศจิเรจิตน์ (ท่าแมลงปองยกหาง) ท่ารำต่างๆ ที่ไทยนำมาประดิษฐ์เป็นท่ารำแม่บทเล็ก เช่น ท่าสอดสร้อยมาลา ท่าร้อยดอกไม้เป็นลักษณะของมือที่จีบที่ชายพกข้างหนึ่ง มืออีกข้างหนึ่งตั้งวง เมื่อสอดจีบขึ้นก็เหมือนลักษณะการร้อยดอกไม้ ท่ากวางเดินดงก็ประดิษฐ์ขึ้นจากท่าเดินของกวาง เมื่อนำมาประดิษฐ์ท่ารำผู้รำต้องแบมือทั้งสองข้าง หันฝ่ามือไปข้างหน้า ปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นเก็บนิ้วหัวแม่มือ นิ้วนางและนิ้วก้อยแล้ว เหยียดนิ้วชี้และนิ้วกลางออกไป งอแขนเล็กน้อยระดับสะโพก การรำแม่บทตามบทนารายณ์ปราบนนทุก ในหนังสือตำราฟ้อนรำ เป็นแบบนาฏศิลป์ของไทย ที่เรารักษาสืบต่อกันมาแต่โบราณ ในสมัยอยุธยา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทกลอนไว้ว่า
“ เรื่องนารายณ์กำราบปราบนนทุก ในต้นไตรดายุคโบราณ
เป็นเรื่องดึกดำบรรพ์สืบกันมา ครั้งศรีอยุธยาเอามาใช้”
แม่บทนางนารายณ์เป็นการแสดงโขนตอนหนึ่ง ในเรื่องรามเกียรติ์ปราบนนทุก ทุกปรากฎในพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 ว่า “ นนทุกเป็นยักษ์ตนหนึ่งมีหน้าที่ล้างเท้าเทวดานางฟ้า เวลาจะขึ้นเฝ้าพระอิศวร เมื่อนนทุกล้างเท้าให้แล้ว เทวดาจะแกล้งนนทุกโดยการดึงผมของนนทุก จนศรีษะล้าน นนทุกมีความโกรธแค้นมากจึงนำเรื่องนี้ทูลพระอิศวร และขอพรพระอิศวรโดยการให้มีนิ้วเพชร ซึ่งชี้ใครก็จะตาย เมื่อเทวดานางฟ้ามาขึ้นเฝ้าพระอิศวรและให้นนทุกล้างเท้า เหล่าเทวดาได้แกล้งนนทุกเช่นเคย นนทุกโกรธจึงใช้นิ้วเพชรชี้เทวดานางฟ้าได้รับความเดือดร้อน เทวดานางฟ้าเฝ้าพระนารายณ์ ได้ทูลขอให้พระนารายณ์ไปช่วยปราบ พระนารายณ์ได้แปลงเป็นหญิงงาม รำล่อให้นนทุกหลงใหลโดยการให้นนทุกรำตาม ถ้านนทุกรำตามได้ถูกต้อง ก็จะยอมเป็นภรรยาของนนทุก นนทุกยอมทำตามเมื่อถึงเนื้อร้องที่ว่า” ฝ่ายว่านนทุกก็รำตาม ด้วยความพิศมัยใหลหลง ถึงท่านาคาม้วนหางลง ก็ชี้ลงที่เพลาพลันทันใด “ นนทุกก็ชี้ลงที่ขาของตัวเองจนถึงแก่ความตาย แต่ก่อนที่จะถึงแก่ความ นนทุกได้เห็นพระนารายณ์มี 4 กร และได้ตัดพ้อต่อว่าพระนารายณ์ว่าเอาเปรียบตน ที่มาแปลงตัวเป็นหญิงงาม รำล่อให้ตนหลงใหล พระนารายณ์ได้บอกนนทุกว่าเมื่อตนลงไปเกิดในโลกมนุษย์ให้นนทุกมี 10 เศียร 20 กร และพระองค์มี 2 กร ก็จะสู้รบนนทุกได้ เรื่องราวข้างต้นนี้จึงเป็นต้นกำเนิดของรามเกียรติ์ การร่ายรำของพระนารายณ์แปลง ก็คือการรำแม่บทเล็ก ซึ่งใช้ทำนองเพลงชมตลาด ต่อมาเรียกการรำชุดนี้ว่า แม่บทเล็กหรือแม่บทนางนารายณ์
ซึ่งมีบทเพลงว่า
ปี่พาทย์ทำเพลงรัว
ร้องเพลงชมตลาด

เทพพนมปฐม พรหมสี่หน้า สอดสร้อยมาลาเฉิดฉิน
ทั้งกวางเดินดงหงศ์บิน กินรินเลียบถ้ำอำไพ
อีกช้านางนอนภมรเคล้า แขกเต้าผาลาเพียงไหล่
เมขลาโยนแก้วแววไว มยุเรศฟ้อนในอัมพร
ลมพัดยอดตองพรหมนิมิตร ทั้งพิศมัยเรียงหมอน
ย้ายท่ามัจฉาชมสาคร พระสี่กรขว้างจักรฤทธิรงค์
ปี่พาทย์ทำเพลงวรเชษฐ์ เพลงเร็ว ลา


เพลงดาวดึงส์
ประวัติที่มา
ระบำดาวดึงส์ เป็นระบำมาตรฐานที่ได้รับการปรับปรุงมาหลายครั้ง การแสดงเริ่มด้วยท่ารำในจังหวะเพลงช้า แล้วค่อยมีจังหวะเร็วขึ้นโดยลำดับ ท่ารำที่ยกมือขึ้นประสานไขว้กันไว้ที่ทรวงอก และขยับฝ่ามือตีลงที่อกเบา ๆ เป็นจังหวะพร้อมกับขยับเท้าไปด้วย เป็นท่ารำที่เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี พระอนุชาของพระศรีสุริเยนทรามาตย์พระบรมราชินี ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงประดิษฐ์ขึ้นพร้อมๆ กับรำพัด เมื่อประมาณ 150 กว่าปี มาแล้ว โดยทรงเลียนแบบมาจากการเต้นทุบอก ในพิธีของพวกอิสลามลัทธิเจ้าเซ็น หรือที่เรียกว่า ลัทธิชีอะห์ แต่ได้ทรงประดิษฐ์ท่ารำให้นุ่มนวล อ่อนช้อยตามหลักนาฏศิลป์ไทย ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้ทรงนิพนธ์บทร้องประกอบการแสดงในบทละครดึกดำบรรพ์ เรื่องสังข์ทอง ตอนตีคลี ระบำดาวดึงส์ จึงเป็นระบำเบิกโรงในการแสดงดังกล่าว บทร้องบรรยายถึงความงดงามของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งเป็นที่ประทับของพระอินทร์ มีปราสาท ราชวังและราชรถ เป็นต้น ระบำชุดนี้มีลักษณะและรูปแบบแตกต่างจากระบำไทยมาตรฐานของเก่า ที่ตีบทตามความหมายของคำร้อง แต่ระบำดาวดึงส์ ที่เป็นบทเรียนนี้ หม่อมเข็ม กุญชรฯ หม่อมของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ ได้ประดิษฐ์ท่ารำสวยงาม บางท่าไม่เน้นการตีบทตามคำร้อง
ความหมายของบทเพลงระบำดาวดึงส์
คำว่า” ดาวดึงส์ ( ไตรตรึงส์ )” ในปทานุกรมฉบับหลวงกล่าวไว้ว่า ” ดาวดึงส์ ( ไตรตรึงส์ )” ตั้งอยู่เหนือจอมเขาพระสุเมรุเนรุราชบรรพต หรือเรียกอย่างง่าย ๆ ว่าเขาพระสุเมรุ สวรรค์ชั้นนี้เป็นเมืองของพระอินทร์กว้าง 3 ล้านวา มีปรางค์ปราสาทแก้วและกำแพงแก้ว ประตู เป็นทองประดับไปด้วยแก้ว 7 ประการ เมื่อเปิดประตู จะได้ยินเสียงดนตรีอย่างไพเราะ ตรงกลางของสวรรค์ชั้นนี้มีวิมานหรือปราสาทชื่อไพชยนต์ เป็นที่ประทับของพระอินทร์สูง 25 ล้าน 6 แสนวา ประกอบด้วยแก้ว 7 ประการ มีชั้นเชิงชาลา แต่ละชาลามีวิมานได้ 700วิมาน วิมานหนึ่งมีนางอัปสร 7 คน รวมนางอัปสรอยู่ในไพชยนต์ปราสาท 25 ล้านคน
ส่วนเนื้อร้องของเพลงรหะบำดาวดึงส์นี้ พรรณนาถคงความงามบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ชมเครื่องทรงอาภรณ์ของเหล่าเทวดา นางฟ้า ซึ่งเต็มไปด้วยเพชรนิล จินดา และชมพระอินทร์ซึ่งมีวชิรสายฟ้าและธนูเป็นอาวุธประจำพระองค์ เป็นที่เกรงขามของยักษ์ทั้งหลาย พรรณาถึงความมโหฬารตระการตาเกี่ยวกับสมบัติของพระอินทร์ มีปราสาทราชวังซึ่งมีช่อฟ้าใบระกา บราลี มุขเด็ดและบุษบก ตลอดจนราชรถที่ ทำด้วยแก้ว ซี่ล้อ และกงล้อรถประดับอย่างสวยงาม บรรลังก์สลักเป็นรูปสิงห์และรูปครุฑจับนาค รถนั้นเทียมด้วยม้าที่วิ่งเร็วปานลมพัด ซึ้งบทร้องเพลงระบำดาวดึงส์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงนิพนธ์ได้ไพเราะจับใจมาก
บทร้องและทำนองเพลง
บทร้อง เป็นบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ พรรณเกี่ยวกับความงามตระการตาของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพลงที่ใช้ประกอบด้วยเพลงเหาะ เพลงรัว เพลงตะเขิ่ง เพลงเจ้าเซ็น
ทำนอง
เพลงระบำดาวดึงส์ มีทำนองเพลงเป็นสำเนียงแขกปนอยู่ด้วย ซึ่งเรียกว่า “ เพลงแขก เจ้าเซ็น “
บทร้องระบำดาวดึงส์
พระนิพนธ์สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
ปี่พาทย์ทำเพลงเหาะ
ร้องเพลงตะเขิ่ง
ดาวดึงส์เทวโลกมโหฬาร เป็นที่อยู่สำราญฤทัยหรรษ์
สารพัดงามจริงทุกสิ่งอัน สารพันอุดมสมใจปอง
เทพบุตรผุดพรรณโฉมยง งามทรงอาภรณ์ไม่มีหมอง
นางอัปสรงอนสงวนนวลละออง งามทรงเครื่องทองและเพชรนิล
ร้องเพลงเจ้าเซ็น
สมเด็จพระอมรินทร์ปิ่นมงกุฎ ทรงวชิราวุธธนูศิลป์
รักษาเทวสีมาเป็นอาจิณ อสุรินทร์อรีไม่บีฑา ( ซ้ำ )
อันอินทรปราสาททั้งสาม ( ซ้ำ ) ทรงงามสูงเงื้อมกลางเวหา
สี่มุขหุ้มมาศสะอาดตา ใบระกาแกมแก้วประกอบกัน
ช่อฟ้าช้อยเฟื้อยเฉื่อยชด ( ซ้ำ ) บราลีทีลดมุขกระสัน ( ซ้ำ )
มุขเด็ดทองดาดกนกะน บุษบกสุวรรณชามพูนท ( ซ้ำ )
ราชยานเวชยันต์รถแก้ว ( ซ้ำ ) เพริศแพร้วกำกงอลงกต ( ซ้ำ )
แอกงอนอ่อนสลวยชวยชด ( ซ้ำ ) เตือขดช่อตั้งบรรลังก์ลอย
รายรูปสิงห์อัดหยัดยัน สุบรรณจับนาคหิ้วเศียรห้อย ( ซ้ำ )
ดุมพราววาววับประดับพลอย แปรกแก้วกาบช้อยสะบัดบัง
เทียมด้วยสินธพเทพบุตร ทั้งสี่บริสุทธิ์ดังสีสังข์
มาตลีอาจขี่ขับประดัง ( ซ้ำ ) ให้รีบรุดสุดกำลังดังลมพา
ปี่พาทย์ทำเพลงเชิด
การแต่งกาย
เนื่องจากผู้แสดงสมมุติเป็นเทวดา นางฟ้า ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์จึงแต่งกายยืนเครื่อง
พระนาง
ดนตรี
1. วงปี่พาทย์เครื่องห้า
2. วงปี่พาทย์เครื่องคู่
3. วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่
4. วงปี่พาทย์เครื่องดึกดำบรรพ์
โอกาสที่ใช้ในการแสดง
การแสดงชุดระบำดาวดึงส์นี้เป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ละครดึกดำบรรพ์ เรื่อง” สังข์ทอง “ ตอนตีคลี ฉนั้นโอกาสที่ใช้ในการแสดงนั้นนิยมใช้ดังนี้
1. ประกอบการแสดงละครดึกดำบรรพ์ เรื่อง” สังข์ทอง “ ตอนตีคลี
2. ใช้ในการรำเบิกโรง
3. ใช้ในการแสดงเบ็ดเตล็ด รีวิว หรือสลับฉาก
4. ใช้ในโอกาสที่มีงานรื่นเริงต่างๆ หรืองานมงคล














เพลงมฤคระเริง ( ระบำกวาง )
ประวัติที่มา
มฤคระเริง หรือ ( ระบำกวาง ) เป็นชุดที่ประดิษฐ์ขึ้นแสดงเนื่องในงานแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ณ ประเทศสหภาพพม่า เมื่อปีพุทธศักราช 2498 โดยจัดให้มีการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ตอนลักนางสีดา มีหมู่ระบำกวางจะออกมาร่ายรำเพรื่อความสวยงามก่อนที่กวางทอง( มารีศ ) จะออกมาล่อให้นางสีดาเห็น และเกิดความใหลหลง ขอร้องให้พระรามไปจับมาให้ เมื่อพระรามตามไปทศกัณฐ์ได้แปลงตนเป็นฤษี ลักนางสีดาไปกรุงลงกา ผู้ประดิษฐ์ท่ารำระบำกวางคือ คุณครูลมุล ยมะคุปต์
ในปัจจุบันการแสดงโขนตอนลักสีดา จะไม่มีหาระบำกวางออกมา จะมีแต่กวางทองออกมา
รำล่อนางสีดาเพียงตัวเดียวเท่านั้น สำหรับระบำมฤคระเริงต่อมาได้นำไปใช้ประกอบการแสดงละครรำ เรื่องศกุนตลา ตอนท้าวทุษยันต์ตามกวาง และละครรำ เรื่องสุวรรณสามจากนิทานเรื่องสุวรรณชาดก
โอสาสที่ใช้ในการแสดง
ระบำมฤคระเริง หรือ ( ระบำกวาง ) ใช้ประกอบการแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ตอนลักสีดา ใช้ประกอบการแสดงละครรำเรื่องศกุนตลา และละครรำเรื่องพระสุวรรณสาม หรือใช้แสดงเป็นระบำเบ็ดเตล็ดในงานรื่นเริงต่างๆ การแต่งกายเลียนแบบกวาง
เครื่องดนตรี
ใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้า เครื่องคู่ หรือเครื่องใหญ่

1 ความคิดเห็น:

  1. อยากให้ทำหัวข้อต่างๆให้เป็นระเบียบและชัดเจนมากกว่านี้
    ขอขอบคุณล่วงหน้า

    ตอบลบ